แนะนำคลินิก

ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง เป็นส่วนหนึ่งของคลินิกบ้านรักสัตว์ ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการบำบัดรักษาโรคผิวหนังสัตว์ ตั้งแต่ระดับเบื้องต้น จนถึงระดับการตรวจรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน รวมทั้ง ยังให้บริการรับส่งต่อเพื่อการตรวจรักษาต่อเนื่องในรายที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังที่มีความยุ่งยากซับซ้อนจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่นอีกด้วย

ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง ดำเนินการตรวจ และรักษาโดย “น.สพ. รังสรรค์ สกุลพลอย สพ.บ. Cert Vet Dermatology”

การ บริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะให้บริการด้านโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง แบบครบวงจร ตั้งแต่โรคผิวหนังเบื้องต้น เช่นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือปรสิต จนถึงโรคที่ต้องการ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งหรือเนื้องอกของผิวหนัง โรคผิวหนังที่เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนหรือระบบภูมิค้มกัน รวมถึงโรคติดเชื้อของผิวหนัง หูอักเสบ โรคของเท้าที่เป็นๆหายๆ หรือไม่ยอมหายขาด

ขั้นตอนการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะกระทำในแนวทางเดียวกับที่กระทำกันในประเทศออสเตรเลีย โดยจะเน้นไปที่การเจาะลึกไปถึงสาเหตุของโรคทั้ง สาเหตุหลัก และสาเหตุที่ซ่อนอยู่ควบคู่ไปกับการรักษา เพื่อให้เกิดประสิทธิการรักษาที่สูงที่สุด มีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด รวมทั้งประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด




การบริการของเรา

การบริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยงประกอบด้วย

· การตรวจทางเซลล์วิทยา (Cytology)
· การตรวจเชื้อรา โดยวิธี KOH preparation, Wood’s lamp examination, และ Fungal Culture
· การทดสอบการแพ้น้ำลายหมัด (Flea bite hypersensitivity testing)
· การทดสอบการเกิดโรคผิวหนังเนื่อง จากอาหาร (Adverse food reaction testing)
· การทดสอบการเกิดปฏิกิริยากับสาร ภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergen Testing)
· การตัดชิ้นเนื้อของผิวหนังที่มี ปัญหา เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา (Skin Biopsy for Dermatohistopathology)
· การทดสอบระดับฮอร์โมน เพื่อการวินิจฉัยโรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน (Hormonal Assay for Skin disease due to Endocrinopathy)
· การรักษาโรคภูมิแพ้ โดยการ Immunotherapy
· การตรวจโรคหู โดยการทำ Otoscopic examination
· การรักษาโรคหูอักเสบ โดยการทำ Ear Flushing technique



ที่ตั้งคลินิก

66/36 หมู่บ้านนิศาชล ซ. บางแวก79 ถ. บางแวก (จรัลฯ13)
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160

โทร. 064-253-5695

มือถือ 064-253-5695 (เปิดเครื่องรับสาย 8.00 น. - 20.00น.)

E-mail: allergyvet@yahoo.com

LINE : allergyskinvet

Facebook: facebook.com/allergyskinvet และ http://www.facebook.com/allergydermvet

พิกัด GPS : 13.741167,100.422598 (บนแผนที่ของ Google)

แผนที่ของคลิินิก: ให้ ก็อปปี้ "13.741167,100.422598" แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก

จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่

สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'

การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ

ติดต่อกับผมได้ที่โทร 064-253-5695

LINE : allergyskinvet และที่

Facebook: http://www.facebook.com/allergyskinvet

และ http://www.facebook.com/allergydermvet ครับ

เวลาทำการ

อาทิตย์ 13.00-20.30น.

จันทร์-ศุกร์ 11.00-14.00น. และ 17.00-20.30 น. (ช่วงโรงเรียนเปิดเทอม หมอต้องออกไปรับลูก)


เสาร์ เฉพาะนัดล่วงหน้าเท่านั้น (ถ้าไม่มีใครนัด หมอขอปิดทำการ เพื่อพาลูกไปเที่ยว)


เนื่องจาก ปัจจุบันเจ้าของสัตว์หลายๆรายจะอยู่ไกลจากคลินิกมาก ประกอบกับช่วงนี้ตัวหมอเองมีความจำเป็นบางอย่าง ที่อาจจำเป็นต้องปิดทำการเพื่อออกไปทำธุระ

จึงใคร่ขอรบกวนให้ช่วยโทรนัดล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่มาแล้วเสียเที่ยว

ทางคลินิกต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้




ติดต่อกับผมได้ที่โทร 064-253-5695

LINE : allergyskinvet และที่

Facebook: http://www.facebook.com/allergyskinvet

และ http://www.facebook.com/allergydermvet ครับ

ราคาค่าบริการสำหรับการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง

ราคาค่าบริการสำหรับโรคผิวหนังทั่วไป และโรคภูมิแพ้
+ค่าตรวจ + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่าตรวจเพิ่มเติมที่อาจจำเป็น จะแจ้งราคาให้ทราบเมื่อจำเป็นต้องทำการตรวจ
+ค่ายารักษา ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว


ค่าใช้จ่ายสำหรับโรคขี้เรื้อนรูขุมขน (สุนัขน้ำหนักตัวไม่เกิน 16 กิโลกรัม)

+ค่าตรวจทั่วไป + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่ายาที่ใช้รักษา 1,200 บาทต่อ 1 เดือน
+ค่ายาอื่นๆที่อาจต้องใช้ ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว

สำหรับท่านที่ไม่ชอบพกเงินสด 😀😀 ตอนนี้ทางคลินิกได้เพิ่มช่องทางการชำระเงินโดยใช้ การโอนเงินผ่าน Promtpay, การใช้ QR Code (ไม่ค่าโอนถ้าใช้บัญชี Promptpay) และรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต(คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตร 3%) ได้แล้วครับ 😁😁

เส้นทางมาที่คลินิก



คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 66/36 หมู่บ้านนิศาชล ซ. บางแวก79 ถ. บางแวก (จรัลฯ13)
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160

การเดินทางมาที่คลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะสามารถมาได้หลายทาง โดยถ้ามาจาก ถ.กาญจนาภิเษก ให้เลี้ยวเข้า ถ.จรัลฯ 13(บางแวก) มุ่งหน้าไปทาง ถ.จรัลสนิทวงศ์ วิ่งตามทางมาเรื่อยๆ จะเห็นซุ้มประตูวัดมะพร้าวเตี้ยอยู่ด้านซ้าย ให้วิ่งตามทางมาเรื่อยๆจะเห็นหมู่บ้านศุภาลัยอยู่ด้านขวา จะเห็นตึกแถวของหมู่บ้านนิศาชลอยู่ติดกับหมู่บ้านศุภาลัย ให้เลี้ยวขวาเข้าซอยบางแวก79 (ซอยหมู่บ้านนิศาชล) จะเห็นเซเว่นฯ อยู่ปากปากซอย (ทางเข้าหมู่บ้าน) แล้วเตรียมชิดซ้ายหาที่จอดรถ จะเห็นป้าย “คลินิกบ้านรักสัตว์” อยู่ด้านซ้าย สามารถจอดรถได้ที่หน้าคลินิก



ถ้ามาจาก ถ.ราชพฤกษ์ ถ.พุทธมณฑลสาย1 ถ.จรัลสนิทวงศ์ หรือ ถ.เพชรเกษม48 ให้เลี้ยวเข้า ถ.จรัลฯ 13 (บางแวก) มุ่งหน้าไปทาง ถ.กาญจนาภิเษก วิ่งตามทางมาเรื่อยๆจนข้ามสะพานข้ามคลองราชมนตรี ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยบางแวก79 (ซอยหมู่บ้านนิศาชล) จะเห็นเซเว่นฯ อยู่ปากปากซอย (ทางเข้าหมู่บ้าน) แล้วเตรียมชิดซ้ายหาที่จอดรถ จะเห็นป้าย “คลินิกบ้านรักสัตว์” อยู่ด้านซ้าย สามารถจอดรถได้ที่หน้าคลินิก


พิกัด GPS : 13.741167,100.422598 (บนแผนที่ของ Google)

แผนที่ของคลินิก: ให้ ก็อปปี้ 13.741167,100.422598 แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก

จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่

สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'



การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ

การเตรียมตัวพาสัตว์เลี้ยงเพื่อรับการตรวจโรคผิวหนังกับทางคลินิกบ้านรักสัตว์

เพื่อที่จะเป็นการประหยัดเวลา และลดการใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องมีแก่เจ้าของสัตว์ป่วย

* คนที่พาสุนัขมารับการตรวจ และรักษา ควรเป็นเจ้าของสัตว์ป่วย หรือผู้ที่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการการยอมรับการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เนื่องจากโรคผิวหนังมัก ใช้ระยะเวลาในการรักษาที่นาน มักต้องการการตรวจหลายครั้ง และต้องการการสื่อสารที่ดี เพื่อการอธิบายถึงปัญหาต่างๆของตัวโรค และแผนการรักษาที่ชัดเจน และไม่คลุมเคลือ

* กรุณาอย่าให้คนอื่น หรือคนรับใช้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เป็นคนพามาตรวจ และรับการรักษาแทน เพื่อป้องกันความผิดพลาดเนื่องจาก การสื่อสาร

* งดอาบน้ำสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย

* งดทำความสะอาดหูสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย

*กรุณาอย่าใช้ยาทาที่เป็นสีต่างๆ ซึ่งล้างออกยาก เช่น ยาม่วง ยาเหลือง ยาแดง เนื่องยากลุ่มนี้จะบังแผล แผลรอยโรคต่างๆ และรบกวนการย้อมสีตัวอย่าง

* ถ้ามียาที่ต้องให้กิน หรือฉีดที่ต้องใช้อยู่ ณ เวลาที่ต้องการพามาตรวจ (ซึ่งได้รับมาจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่น) กรุณาอย่างดยา และแจ้งให้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ทราบทุกครั้ง

*สำหรับในกรณีที่พาแมวมา กรุณาใส่กรง หรือตระกร้าที่ปิดล๊อคได้มา เพื่อความปลอดภัยของแมว และตัวเจ้าของแมวเอง

* ควรโทรนัดล่วงหน้า


*ควรให้เวลากับทางคลินิก 1-2 ชั่วโมงเพื่อ การตรวจ รักษา และให้คำแนะนำได้เต็มที่

* เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ท่านเจ้าของสัตว์ป่วย กรุณากรอกแบบสอบถามโดยการคลิกที่ Label ทางด้านขวา หรือดาวน์โหลดได้จาก

https://docs.google.com/document/d/1u2LAH4cKOLi6Pvrdp5Bzyaq49q4OWS9-smhix7oKoNc/edit

โดยให้ Save เป็นไฟล์ของ Word แล้วกรอกแบบสอบถาม จากนั้นสามารถส่งได้โดยการปริ๊นท์ออกมาแล้วนำมาพร้อมกับสัตว์เลี้ยง หรือส่งมาทาง email หรืออัปโหลดขึ้น google docs แล้วแจ้งลิงค์มาทาง

http://www.facebook.com/Allergyskinvet หรือ http://www.facebook.com/allergydermvet ก็ได้

การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ

Thursday, June 27, 2019

ส่วนประกอบในอาหาร ตัวอาหารหรือขนมที่สามารถก่อให้เกิดการแพ้อาหารในสุนัข และแมว

Dietary Items That Have Caused Food Hypersensitivity in the Dog and Cat
ส่วนประกอบในอาหาร ตัวอาหารหรือขนมที่สามารถก่อให้เกิดการแพ้อาหารในสุนัข และแมว
Dog (สุนัข)
Artificial food additives (gum carrageenan) สารแต่งกลิ่น รส
Horse meat เนื้อม้า
 Beef เนื้อวัว
 Kidney beans ถั่วแดง
Canned foods อาหารกระป๋อง
 Lamb and mutton เนื้อแกะ และส่วนผสมจากเนื้อแกะ
 Chicken ไก่
 Oatmeal ข้าวโอ๊ต และอาหารที่ที่มีส่วนผสมของข้าวโอ๊ต
 Corn ข้าวโพด
 Pasta พาสต้า
 Cow’s milk นมวัว
 Pork หมู
 Dairy products (whey) ผลิตภัณฑ์จากนม นม ชีสต์และเวย์
 Potatoes มันฝรั่ง
 Dog biscuits ขนมขบเคี้ยวของสุนัข
 Rabbit กระต่าย
 Dog foods (including prescription canned and dry d/d) อาหารสุนัขทุกสูตร
 Rice flour and rice ข้าวเจ้า และแป้งข้าวเจ้า
 Eggs ไข่
 Soy ถั่วเหลือง
 Fish (variety) ปลาทุกชนิด
 Turkey ไก่งวง
 Food preservatives สารหรือผลิตภัณฑ์ถนอมอาหาร
 Wheat ข้าวสาลี แป้งสาลี
 All commercial foods (various proteins, as well as preservatives and dyes) อาหารสำเร็จรูปทุกชนิด รวมถึงสารถนอมอาหารในแต่ละผลิตภัณฑ์
Cat
Dairy products (whey) ผลิตภัณฑ์จากนม นม ชีสต์และเวย์
Lamb and mutton เนื้อแกะ และส่วนผสมจากเนื้อแกะ
 Fish ปลา
 Eggs ไข่
Beef เนื้อวัว
 All commercial foods (various proteins, as well as preservatives and dyes) อาหารสำเร็จรูปทุกชนิด รวมถึงสารถนอมอาหารในแต่ละผลิตภัณฑ์
Pork หมู
Clam juice นำ้มันหอย
Chicken ไก่
Cod liver oil น้ำมันตับปลา
Rabbit กระต่าย
Benzoic acid ยากันบูด
Horse meat เนื้อม้า

Sunday, October 1, 2017

การตรวจเลือดในสุนัขที่มีปัญหาโรคผิวหนัง

การตรวจเลือดในสุนัขที่มีปัญหาโรคผิวหนัง

คำเตือน: บทความนี้ คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) ทำขึ้นเพื่อให้เป็นความรู้เบื้องต้น และให้ความเข้าใจแก่ผู้อ่านเกี่ยวการเจาะเลือดตรวจ และวัตถุประสงค์ของการตรวจเลือดเท่านั้น บทความนี้จะไม่กล่าวถึงวิธีการแปลผลเลือด (ซึ่งต้องให้สัตวแพทย์เป็นผู้ประเมินเท่านั้น) และไม่กล่าวถึงการตรวจเลือดแบบพิเศษที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะ นอกจากนี้การตรวจเลือดเป็นเพียงแค่ตัวช่วยสัตวแพทย์ในการประเมินปัญหา วินิจฉัยและติดตามการรักษาเท่านั้น ไม่ได้เป็นเครื่องมือวิเศษที่จะสรุปได้ทุกอย่าง

การตรวจเลือดในสุนัขที่มีปัญหาโรคผิวหนัง

โดยทั่วไป การตรวจเลือดเพื่อการวินิจฉัยจะไม่ค่อยได้ทำในสุนัขที่มีปัญหาโรคผิวหนัง ยกเว้นการเจาะเลือดเพื่อทำ allergy test, การเจาะเลือดตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เกิดจากภายในร่างกายแล้วมาแสดงออกที่ผิวหนังเช่น โรคการทำงานของต่อมไทรอยด์บกพร่อง(Hypothyroidism), กลุ่มอาการการทำงานมากว่าปกติของต่อมหมวกไต(Cushing’s syndrome), Hepatocutaneous syndrome, หรือ Superficial necrolyltic dermatitis ซึ่งเกิดจากโรคตับ 

สำหรับการตรวจเลือดที่ทำในสุนัขที่มีปัญหาโรคผิวหนังส่วนใหญ่มักทำในกรณีติดตามหรือประเมินผลข้างเคียงของยาที่ต้องให้เป็นระยะเวลานาน และ/หรือมีผลข้างเคียงสูงเช่นยา ciclosporin, olacitinib, สเตียรอด์เช่น Prednisolone, Dexamethasone, Tiamcinolone เป็นต้น ซึ่งสัตวแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป

โดยทั่วไปเราเจาะเลือดเพื่อประเมินสิ่งต่างต่อไปนี้

1 การตรวจ CBC หรือ Complete Blood Count การตรวจนี้จะทำเพื่อประเมินสภาวะ การสูญเสียน้ำของร่างกาย ภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อ ความสามารถในการจับตัวของเลือด และประเมินสภาพของระบบภูมิคุ้มกัน เวลานั้น การตรวจCBC เป็นการตรวจที่สำคัญในสัตว์ที่มีอาการไข้สูง อาเจียน ท้องเสีย อ่อนแรง ซีด เบื่ออาหาร ในใบรายงานผลตรวจจะแจ้งค่าต่างที่สำคัญดังนี้
+HCT หรือ Hematocrit หรือที่หมอและบุคคลากรทางการแพทย์เรียกย่อๆว่าคริต ค่านี้จะบอกเป็นเปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะช่วยสัตวแพทย์ประเมินสภาวะโลหิตจาง และการขาดน้ำ
+Hb(Hemoglobin) และ MCHC(Mean Corpuscular Hemoglobin concentration) จะเป็นตัวช่วยในการประเมินความสามารถในการพาออกซิเจนของเม็ดเลือดแดงไปเลี้ยงร่างกาย
+WBC(White Blood Cell Count) จะใช้ในการประเมินเซล์ของระบบภูมิคุ้มกัน(เม็ดเลือดขาว) ค่าเลือดนี้จะเปลี่ยนแปลงในรายที่มีการติดเชื้อ หรือโรคบางชนิด
+Neut(Neutrophil) เป็นตัวเม็ดเลือดขาวที่ใช้ประเมินการติดเชื้อ
+Lymph(Lymphocyte) เป็นตัวเม็ดเลือดขาวที่ใช้ประเมินความสามารถในการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
+Eos(Eosinophil) เป็นเม็ดเลือดขาวที่มักมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในรายที่มีปัญหาภูมิแพ้ หรือมีปรสิตในร่างกาย
+Plt(Platelets) หรือเกล็ดเลือด จะช่วยบอกถึงความสามารถในการห้ามเลือดของตัวสัตว์นั้นๆ
+Retic(Reticulocyte) หรือเม็ดเลือดแดงที่ยังไม่พัฒนาตัวเต็มที่ จะช่วยให้เราทราบชนิดของโลหิตจางในสัตว์ป่วยนั้นๆ

2การตรวจวัดค่าเคมีในเลือด (Blood/Serum Chemistry) จะช่วยในการประเมินการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ภาวะของอีเลคโตรไลท์ต่างๆ ระดับของฮอร์โมน ค่าต่างๆเหล่านี้จะใช้ช่วยในการประเมินสุขภาพก่อนการได้รับการวางยา-ผ่าตัด การได้รับสารพิษ สุขภาพโดยรวม และติดตามผลของการได้รับยาเป็นเวลานานๆ

+ การประเมินปริมาณของน้ำในร่างกาย การติดเชื้อ สภาพโดยรวม เรามักจะดูจาก:
++ALB (Albumin) หรือโปรตีนไข่ขาว เป็นโปรตีนในซีรั่มที่สามารถใช้ในการประเมินปริมาณน้ำในร่างกายได้ รวมถึงสามารถใช้ในการประเมินสุขภาพของลำไส้ ตับและไตได้
++TP (Total Protein) จะบ่งบอกถึงปริมาณน้ำในร่างกาย และข้อมูลสุขภาพของตับ ไต รวมถึงสภาวะการติดเชื้อได้
++GLOB (Globulin) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือดที่มักมีค่าสูงขึ้นในรายที่ติเชื้อเรื้องรัง

+การประเมินสุขภาพของตับ โดยตัวที่เราใช้ดูเป็นตัวหลักได้แก่:
++ALK หรือ AP หรือ ALP (Alkaline Phosphatase) เป็นค่าตับที่บ่งบอกว่ามีปัญหา Cushing’s disease (โรคที่เกิดจากการสร้างสเตียรอยด์ในร่างกายที่มากเกินไป) การได้รับยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (ถ้าสัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์ และความชำนาญมากพอ) หรือในลูกสัตว์หรือเด็กที่มีการเจริญเติบโตของกระดูก
++ALT (Alanine Transaminase) เป็นค่าเลือดที่บอกถึงความเสียหายของเนื้อตับ และเป็นตัวช่วยในการประเมินการทำงานของตับ
++AST (Aspartate Transaminase) เป็นค่าเลือดที่บอกว่าน่าจะเกิดความเสียหายต่อเนื้อตับ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือกล้ามเนื้อ
++GGT (Gamma Glutamyl Transaminase) จะขึ้นสูงในรายที่มีโรคตับ หรือมีสเตียรอยด์ในเลือดมากเกินไป
++TBIL (Total Bilirubin) จะขึ้นสูงในรายที่มีปัญหาเรื่องระบบน้ำดีที่ตับหรือท่อน้ำดี อาจใช้ช่วยประเมินปัญหาของเม็ดเลือดได้ เช่นในรายที่มีปัญหาโลหิตจาง 
++CHOL (Cholesterol) ใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรคของต่อมไทรอยด์ ตับ ต่อมหมวกไต ตับอ่อนและโรคเบาหวาน (ถ้าสัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์ และความชำนาญมากพอ)

+การประเมินสภาพของไต เราจะใช้ค่าเหล่านี้เป็นหลัก:
++BUN (Blood Urea Nitrogen) เป็นตัวฟ้องถึงการทำงานของไต ถ้าสัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์ และความชำนาญมากพอ จะสามารถใช้ค่านี้ช่วยประเมินสภาวะการขาดน้ำ การทำงานของตับ โรคหัวใจ ภาวะช๊อคได้
++CREAT (Creatinine) จะบอกถึงการทำงานของไต

+การประเมินระดับน้ำตาลในเลือด เรามักตรวจจาก:
++GLU (Glucose / Blood Sugar) ถ้าขึ้นสูงมักบ่งชี้ถึงโรคเบาหวาน ถ้าต่ำอาจทำให้วูบ ถ้าพบความผิดปกติของค่านี้ (สัตวแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อมักจะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาที่มาของความผิดปกติ)

+การประเมินระดับเกลือแร่ในเลือด เรามักจะดู:
++Ca (Calcium) การเปลี่ยนแปลงของค่านี้เกิดได้ความเจ็บป่วยหลายๆโรค
++Cl (Chloride) และ Na (Sodium) มักต่ำในรายที่มีปัญหาโรค Addison’s Disease (โรคที่เกิดจากการสร้างสเตียรอยด์ในร่างกายน้อยเกินไป) หรือสูญเสียไปจากอาการอาเจียน หรือท้องเสีย สำหรับสัตวแพทย์ที่ชำนาญมากๆ จะสามารถใช้ค่าสองตัวนี้ประเมินปริมาณน้ำในร่างกายได้
++K (Potassium) ค่านี้ถ้าลงต่ำในรายที่มีปัญหาอาเจียน ท้องเสีย หรือถ่าบปัสสาวะมากกว่าปกติ ถ้าขึ้นสูงอาจบอกว่ามีปัญหาไตวาย การอุดตันในไต หรือโรค Addison’s Disease เป็นต้น ระดับของ Potassium ในเลือดที่สูงมากๆอาจทำให้หัวใจหยุดเต้น (Cardiac Arrest) ได้
++P (Phosphorus) การสูงขึ้นของค่านี้มักพบในรายที่มีปัญหาโรคไต การมีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกิน และ/หรือรายที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด

+การประเมินปัญหาของตับอ่อน เรามักใช้ค่า:
++LIP (Lipase) ซึ่งถ้าสูงขึ้นจะบ่งชี้ถึงภาวะตับอ่อนอักเสบ
++AMYL (Amylase) ซึ่งจะสูงขึ้นในรายที่มีปัญหาตับอ่อนอักเสบ หรือโรคไต

3 การวัดระดับฮอร์โมน ในการตรวจโรคผิวหนัง เรามักตรวจฮอร์โมนต่อไปนี้เป็นหลัก
+ Cortisol เราจะใช้การตรวจฮอร์โมนเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบเพื่อการวินิจฉัยโรค Cushing’s Disease หรือ Addison’s Disease บางครั้งสัตวแพทย์ด้านโรคผิวหนัง หรือต่อทไร้ท่ออาจใช้ช่วยประเมินการเปลี่ยนแปลงอาการของสัตว์ป่วยเนื่องจากการได้รับยาตระกูลสเตียรอยด์ที่มากเกินไป
+T4 หรือ Thyroxine จะใช้ในการประเมินผลของให้ยาที่ใช้ในการรักษาสภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์







Friday, November 4, 2016

ข้อควรรู้เกี่ยวกับเห็บ และโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับเห็บ และโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ
1. เห็บแต่ละชนิดจะมีการเคลื่อนที่ และขยายอานาเขตของมัน
2. เราไม่สามารถควบคุมวงจรชีวิตของเห็บแบบที่เราทำกับการควบคุมหมัดได้ เพราะเห็บแต่ละช่วงชีวิตสามารถอยู่บนตัวสัตว์ได้มากกว่า 1 ตัว เห็บมีความฉลาดในการดำรงชีวิตที่สูงมาก

3. เห็บ 1 ตัวสามารถเป็นพาหะได้มากกว่า 1 โรค ทำให้การวินิจฉัยทำได้ลำบาก เพราะการแสดงอาการของโรคที่เกิดกับสัตว์ป่วยแต่ละตัวจะหลากหลายมาก
4. ยา Doxycycline รักษาโรคที่มีเห็บเป็นพาหะได้แค่บางโรค และการที่ใช้ยา Doxycycline ไม่ได้ผลไม่ได้แปลว่าอาการป่วยไม่ได้เกิดจากโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ นอกจากนี้การที่เจ้าของสัตว์ให้ยา Doxycycline เองโดยที่หมอไม่ได้สั่ง อาจทำให้หมอหลงทางในการรักษาซึ่งอาจเกิดผลที่ร้ายแรงกับสัตว์ป่วยตัวนั้นๆตามมาได้
5. สุนัขเป็นด่านหน้าของโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ
6. สำหรับบ้านที่มีปัญหาเรื่องเห็บบุกบ้าน การกำจัดสุนัขออกไปจากบ้าน จะทำให้เห็บที่อยู่ในบ้านมาขึ้นคนแทน ซึ่งอาจทำให้คนคนนั้นมีโอกาสที่จะติดโรคที่มากับเห็บ
7. คน และสัตว์ที่ติดโรคที่มีเห็บเป็นพาหะไม่ถึง 30% ที่รู้ว่าเคยมีเห็บเกาะบนตัว หรือโดนเห็บกัด
8. สัตว์ทุกตัวในบ้านควรต้องได้การควบคุมเห็บไม่ว่าจะเห็นว่ามีหรือไม่ก็ตาม

Wednesday, December 12, 2012

ปัญหาขนร่วง (Hair Loss Disorder)

ปัญหาขนร่วง (Hair Loss Disorder)

ปัญหาขนร่วง (Hair Loss Disorder) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และเห็นได้ชัดเจนมากปัญหาหนึ่งของโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง และมีผลกระทบตั้งแต่เรื่องความสวยงาม จนไปถึงเรื่องความเป็นความตาย ขึ้นกับว่าโรคอะไรที่ก่อปัญหานี้

สาเหตุของปัญหาขนร่วง ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแบ่งได้เป็นกลุ่มดังนี้

1) ปัญหาขนร่วงที่เกิดจากการถูก ตัด เลีย ทึ้ง หรือไถขน หรือที่ในภาษาทางสัตวแพทย์เรียกว่า Traumatic Induce Alopecia ซึ่งมักพบได้ในสัตว์ที่มีปัญหาเรื่องอาการเกาคัน (Puritic Skin Disease) เกิดจากคนเป็นตัวก่อปัญหา และ/หรือพวกมีปัญหาทางจิตเวช (Psychgenic Alopecia)
    โรคที่ก่อปัญหาเรื่องอาการเกาคัน (Puritic Skin Disease) ได้แก่ การติดเชื้อ การติดปรสิต โรคภูมิแพ้ การได้รับสารก่อความระคายเคือง มะเร็งของผิวหนังบางชนิด โรคทางระบบประสาท (พบได้น้อยมากๆ)
    ตัวอย่างของปัญหาทางจิตเวชที่ทำให้ขนร่วง (Psychgenic Alopecia) ได้แก่ Symmetrical Psychgenic Alopecia ในแมว และ Acral Lick Granuloma ในสุนัข และ Hair Plucking Disorder ในนกตระกูลนกแก้วและนกกระตั้ว
    ตัวอย่างของปัญหาที่เกิดจากคนเป็นตัวก่อปัญหา (Human Made Alopecia) ได้แก่ ขนร่วงจากการการตัดแต่งขนไม่ถูกหลัก(Post Clipping Alopecia)

2) ปัญหาขนร่วงที่เกิดจากความผิดปกติของตัวรูขุมขนเอง (Follicular Disorders)
    ตัวอย่างของปัญหาขนร่วงที่เกิดจากความผิดปกติของตัวรูขุมขน ได้แก่ การอักเสบหรือการตายของรูขุมขน (Folliculitis and Furunculosis) การขาดสารอาหารประเภทสังกะสี (Zinc Deficiency) โรคเพมฟิกัส (Pemphigus Folliaceous) โรค Alopecia Areata

3)  ปัญหาขนร่วงที่เกิดจากปัจจัยบางอย่างมารบกวนวงรอบการสร้างขนเช่น ยาบางชนิด ฮอร์โมน ฤดูกาล มะเร็งบางชนิด เป็นต้น

จาก 3 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)มีความเห็นว่า การที่จะสรุปได้ว่าสัตว์ตัวนั้นๆมีปัญหาขนร่วงจากสาเหตุอะไร จำเป็นต้องมีขั้นตอนการตรวจที่เชื่อถือได้ก่อนเท่านั้น จึงจะสามารถสรุปได้ จากนั้นจึงค่อยวางแผนการรักษาต่อไป

Sunday, January 29, 2012

บัญญัติ 10 ประการในการลดการเกิดโรคผิวหนัง

รคผิวหนังสามารถเกิดได้กับคน และสัตว์ทุกชนิด อย่างไรก็ตาม 10 ข้อต่อไปนี้ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคผิวหนังในสัตว์เลี้ยงของคุณได้
1. หมั่นควบคุมเห็บ-หมัดทั้งบนตัวสัตว์เลี้ยงของคุณ รวมทั้งในสิ่งแวดล้อมที่สัตว์เลี้ยงของคุณอาศัยอยู่ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการวิจัยที่ถูกหลัก และขึ้นทะเบียนยาเรียบร้อยแล้วเท่านั้น (อย่าเห็นแก่ของถูก เพราะอาจทำให้คุณจำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มจากการเห็นแก่ของถูกแบบจำยอมต้อง จ่ายมากกว่าที่คุณคิดว่าจะประหยัดได้)
2. อาบน้ำแก่สัตว์เลี้ยงของคุณอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้แชมพูที่ผ่านงานวิจัยที่ถูกหลัก และสัตวแพทย์ที่ตรวจสภาพผิวหนังของสัตว์เลี้ยงของคุณแนะนำให้ใช้เท่านั้น (และเช่นกัน อย่าเห็นแก่ของถูก เพราะอาจทำให้คุณจำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มจากการเห็นแก่ของถูกแบบจำยอมต้อง จ่ายมากกว่าที่คุณคิดว่าจะประหยัดได้)
3. ใช้อาหารที่คุณภาพสูง และเหมาะสมกับสัตว์เลี้ยงของคุณเท่านั้น (ไม่มีผลิตภัณฑ์ หรือยาอะไรก็แล้วแต่ในโลกนี้จะช่วยให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีสุขภาพดีได้ ถ้าคุณยืนยันที่จะใช้อาหารที่มีคุณภาพต่ำแก่สัตว์เลี้ยงของคุณ) 
4. อย่าพยายามเปลี่ยนอาหารบ่อยๆ เพราะเมื่อไรที่สัตว์เลี้ยงของคุณมีปัญหาการแพ้อาหาร คุณจะเจองานยากในการที่จะรู้ว่าอาหารตัวใดให้กินได้บ้าง อาหารตัวใดบ้างที่ห้ามให้กินเด็ดขาด  
5. อย่าให้สัตว์เลี้ยงของคุณตากแดดช่วงแดดแรง (10.00 -16.30 น.) หรือควรทาครีมกันแดดก่อนปล่อยออกไปข้างนอก
6. อย่าให้ยาอะไรก็ตามเอง โดยไม่ได้ผ่านการสั่งจ่ายยาจากสัตวแพทย์ เพราะคุณอาจกำลังทำให้ปัญหาง่ายที่ใช้ค่าใช้จ่ายต่ำ เป็นเรื่องใหญ่จ่ายกระอัก จนถึงไม่สามารถแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์เลยก็ได้  และที่สำคัญการที่คุณให้ยาเองนั้น คุณกำลังมีส่วนร่วมในการสร้างเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ซึ่งดื้อยาและอาจติดคน ได้ขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ
7. ทำการบ้านให้ดีก่อนที่จะนำสัตว์มาเลี้ยง เพราะว่าสัตว์แต่ละพันธุ์จะมีความไวต่อโรคผิวหนังแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน  
8. หมั่นสังเกตุความปกติของผิวหนังเช่น กลิ่นตัว ขนหยาบกระด้าง เกาคัน แทะ ถูไถตัว ฯลฯ ถ้ามี ควรพาไปรับการตรวจกับสัตวแพทย์ ก่อนปัญหาเล็กๆจะลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ๆ  
9. พาสัตว์เลี้ยงของคุณไปเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ปีละ 1-2 ครั้ง 
10. ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ไม่สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนหมอที่ดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างพร่ำ เพรื่อ แต่ถ้าสัตวแพทย์ที่ดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงของคุณไม่สามารถทำให้ดีขึ้นใน 1-2 เดือน หรือปัญหาดูแย่ลง หรือมีการใช้สเตียรอยด์แบบกิน หรือฉีดติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์โดยไม่สามารถชี้แจงเหตุผล หรืออธิบายได้ ในกรณีนี้การเปลี่ยนหมอจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ทั้งนี้คุณควรคุยกับหมอที่คุณใช้บริการก่อนที่จะตัดสินใจ

Sunday, July 17, 2011

อาการของการแพ้น้ำลายหมัด

อาการของการแพ้น้ำลายหมัด

สุนัขที่มีปัญหาการแพ้น้ำลายหมัด เกิดได้จากการที่หมัดกัดที่ผิวหนังของสุนัขแล้วฉีดน้ำลายเข้าไปในผิวหนังของสุนัข แล้วเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ตามมา ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าสุนัขหลายๆตัวสามารถแสดงอาการของการแพ้น้ำลายหมัดได้ถึงแม้ว่าจะได้การโปรแกรมการควบคุมหมัดแล้วก็ตาม เมื่อสุนัขที่มีปัญหาการแพ้น้ำลายหมัดถูกหมัดกัดที่ผิวหนังของสุนัขแล้วฉีดน้ำลายเข้าไปในผิวหนังของสุนัข ตัวสุนัขจะแสดงอาการการแพ้ออกมา โดยจะแแสดงอาการคันถึงแม้ว่าจะถูกหมัดเพียงตัว หรือสองตัวกัดก็ตาม นอกจากนี้สุนัขหรือแมวส่วนใหญ่มักแสดงอาการคันหลังจากถูกหมัดกัดแล้วอย่างน้อย 3 วัน จึงอาจกล่าวได้ว่า ถึงแม้จะไม่เห็นตัวหมัด ก็อย่าคิดว่าอาการคันในสุนัขของคุณไม่ได้เกิดจากการแพ้น้ำลายหมัด

จากการสังเกตูของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าอาการที่บ่งชี้ว่าสุนัขน่าจะแพ้น้ำลายหมัดได้แก่ มีตุ่มขึ้น ซึ่งตุ่มนี้มักเกิดหลังจากถูกหมัดกัดแล้ว 3 วัน และจะคงอยู่ได้หลายวัน จากนั้นจะมีสะเก็ดปกคลุมถ้าไม่ถูกเกาจนถลอกก่อน เกาคันโดยมักพบแถวสะโพก ผิวหนังแดง และมีรอยถลอก มี Hot spots ขนร่วง ผิวหนังหนาตัวและเปลี่ยนสี แต่ก็มีในหลายๆตัวไม่แสดงอาการเหมือนกับที่กล่าวมาข้างต้น แต่กลับแสดงอาการคล้ายกับอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนังแทน

อาการของโรคหิดสุนัข (scabies)

อาการของโรคหิดสุนัข (scabies)

โรคหิดสุนัข (scabies) หรือโรคขี้เรื้อนซาร์คอปติค (Sarcoptic mange) หรือบางคนเรียกว่าขี้เรื้อนแห้ง เป็นโรคผิวหนังที่ติดต่อกันได้ง่าย และสามารถติดคนได้ เกิดการที่ตัวไรหิดฝังตัวเข้าไปในผิวหนัง แล้วทำให้เกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรงจนในบางตัวถึงขนาดที่เรียกว่าคันจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มีความเห็นว่าอาการน่าสงสัยว่าสุนัขเป็นโรคหิดสุนัขได้แก่ อาการเกาคันอย่างรุนแรง มีรอยถลอกหรือเลือดออกตรงบริเวณที่คัน ขนร่วง

โรคนี้สามารถติดคนได้ ถ้าเจ้าของมีเม็ดตุ่มแดงๆ และคันอย่างรุนแรง ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำควรพาสุนัขไปรับการตรวจจากสัตวแพทย์ และตัวเจ้าของควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

Wednesday, July 6, 2011

อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis)

อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis)

โรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis)ในสุนัข หรือชื่อเดิมคือโรคแพ้อากาศในสุนัข จะเหมือนกับโรคในคนที่เรียกว่าeczema จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข ในประเทศที่เจริญแล้ว หรือในกลุ่มสุนัขที่มีสุขอนามัยที่ดี จะพบได้ร้อยละ10 ส่วนใหญ่เกิดจากการที่สุนัขของคุณไวต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศเช่น ไรฝุ่น เกสร สปอร์ แต่ในปัจจุบันทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) เริ่มพบว่าสารก่อภูมิแพ้ในอาหารก็สามารถทำให้เกิดโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis)ในสุนัขได้เช่นกัน

อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis) ที่พบได้บ่อยๆได้แก่ คัน ผิวหนังแดง ขนหลุดร่วง ผื่นหรือตุ่มขึ้น ผิวหนังหนาตัวหรืออาจมีการเปลี่ยนสีของผิวหนัง

จะเห็นได้ว่าอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis) จะเหมือนกับอาการของการแพ้อาหาร ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะวินิจฉัยโรคนี้โดยการดูอาการและคาดเดา ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มีความเห็นว่าการวินิจฉัยโรคนี้ที่แม่นยำที่สุดคือการใช้ Favrot's Diagnisis Citeria for Atopic Dermatitis ร่วมกับการใช้โปรแกรม Allergy diagnostic work up เท่านั้น

อาการของโรคขี้เรื้อนรูขุมขน (Demodicosis)

อาการของโรคขี้เรื้อนรูขุมขน (Demodicosis)

โรคขี้เรื้อนรูขุมขน หรือโรคขี้เรื้อนดีโมเดกซ์ หรือหลายๆคนเรียกว่า ขี้เรื้อนเปียก เกิดจากการเพิ่มจำนวนตัวไรดีโมเดกซ์ในรูขุมขนอย่างฉับพลันจนเกิดความผิดปกติขึ้นมา ซึ่งอาการบ่งบอกว่าสงสัยจะเป็นโรคนี้คือ ขนร่วงโดยเฉพาะแถวหน้า รอบตา ขา และหลัง มีเม็ดตุ่มกระจาย

ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ไม่ค่อยพบว่าโรคนี้ทำให้เกิดอาการคัน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าอาการคันที่เกิดจากการติดตัวไรดีโมเดกซ์ชนิดคอร์นีไอในสุนัข หรือการติดตัวไรดีโมเดกซ์ชนิดกาโตไอในแมว หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ในลูกสุนัขที่เป็นแค่บริเวณเล็กๆที่ไม่ใช่ที่เท้า ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)พบว่ามากกว่าครึ่งสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่ในกรณีที่เป็นที่ฝ่าเท้า หรือกระจายทั่วตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าต้องรีบทำการรักษาก่อนที่เป็นหนักขึ้นจนไม่มีทางรักษา

สำหรับสุนัขที่เริ่มเป็นโรคนี้หลังจากอายุมากกว่า 1 ปี ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าต้องตรวจหาสาเหตุโน้มนำด้วย เพราะว่าถ้าไม่แก้ไขที่ตัวสาเหตุโน้มนำควบคู่กับการรักษาโรคขี้เรื้อนรูขุมขน มักพบว่าการรักษาโรคขี้เรื้อนรูขุมขนไม่ประสบความสำเร็จ และสาเหตุโน้มนำหลายๆตัวก็มักเป็นโรคร้ายแรงถึงตายได้