การตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างง่ายๆที่บ้าน 2
“คุณสามารถทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีสุขภาพที่ดีได้โดยการเรียนรู้ถึงว่า “อะไรคือความผิดปกติของสัตว์เลี้ยง”
เมื่อเสร็จจากการตรวจร่างกายทั่วไป ก็เริ่มทำการตรวจร่างกายเฉพาะส่วนได้เลย โดยเริ่มจาก ตาซึ่งปกติควรเปิดกว้างและดูสดใส ลองดูว่าตาแดงผิดปกติหรือไม่ ตาแฉะหรือปล่าว การที่มีขี้ตาใสๆ เล็กน้อย ถือว่าปกติ ถ้าสัตว์เลี้ยงไม่ได้รับสารอะไรไปทำให้เคืองตา แต่ถ้าพบว่าขี้ตาเป็นเมือกหรือเป็นหนอง ก็แปลว่าผิดปกติ
โรคที่ทำให้ตาดูว่าผิดปกติได้แก่ รอยขุ่นหรือแผลที่กระจกตาจะทำให้เจ็บตาและกระพริบตาบ่อย ต้อกระจกจะทำให้เลนส์ตาขุ่นขาว ต้อหินมักทำให้ปวดตาและตาแดงเยื่อตาขาวอักเสบจะทำให้รอบๆ หนังตาแดงและมีขี้ตามาก ถ้าสัตว์เลี้ยงของคุณมีอายุมากการที่พบว่าเลนส์ขุ่นอาจเป็นผลจากอายุซึ่งพบได้ปกติจะไม่รบกวนการมองเห็นซึ่งสัตวแพทย์จะแยกได้ว่าเป็นต้อกระจกหรือไม่ โดยดูจากการตรวจความสามารถในการมองเห็น
หู คืออวัยวะต่อมาที่ควรดูว่ามีอาการบวมหรือเจ็บหูหรือไม่ ลองสังเกตดูว่ามีกลิ่นผิดปกติหรือเปล่า แยกให้ออกว่ากลิ่นผิดปกติกับกลิ่นปกติต่างกันอย่างไร ดูว่าหูแฉะหรือไม่ ถ้าแฉะแปลว่าน่าจะมีการติดเชื้อในหูแล้ว การติดเชื้อในหูจะทำให้สัตว์ปวดหู จะทำให้พบได้แต่เนิ่นๆ จะทำให้สัตวแพทย์สามารถลงมือรักษาได้ก่อนที่จะแสดงอาการเจ็บหู
ในปากของสัตว์เลี้ยง สิ่งที่ต้องดูคือสีของเหงือกปกติจะมีสีชมพูและถ้าคุณลองกดเหงือกเบาๆ แล้วปล่อย จะพบว่าสีเหงือกจะมีสีซีดลงแล้วกลับเป็นสีชมพูภายในเวลาไม่ถึง 1 วินาที ถ้าคุณพบสิ่งเหล่านี้แปลว่าระบบไหลเวียนเลือดของสัตว์เลี้ยงของคุณปกติดี
การที่สีของเหงือกเปลี่ยนไป แปลว่าผิดปกติแล้ว ถ้าสีเหงือกซีดแปลว่า สัตว์เลี้ยงมีปัญหาโลหิตจาง ถ้าสีออกฟ้าแปลว่ามีปัญหาที่ระบบหายใจหรือที่หัวใจ ถ้ามีสีออกเหลืองแปลว่าตับมีปัญหา จุดดำบนเหงือกอาจเป็นพวกเม็ดสี ซึ่งอาจถือว่าปกติ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือถ้าเห็นสีเหงือกผิดปกติ ควรนำสัตว์เลี้ยงไปหาสัตวแพทย์
สังเกตดูว่ามีกลิ่นปากหรือไม่ โดยทั่วไปกลิ่นปากมักมาจากปัญหาของเหงือกและฟันแต่บางครั้งกลิ่นปากอาจบอกถึงว่ามีปัญหาเกิดกับไต หรือระบบทางเดินอาหารแล้วเช่นกันลองสังเกตดูที่ฟันโดยเฉพาะพวกซี่ในๆ ของปาก ฟันปกติควรมีสีขาวและผิวเรียบ ถ้ามีสีเหลืองหรือสีน้ำตาล แปลว่าอาจมีหินปูนมาจับแล้ว ควรพาไปหาสัตวแพทย์เพื่อขูดออก
ถ้าเหงือกแดง หรือมีการระคายเคืองมักเป็นอาการที่บ่งชี้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับฟันแล้วขณะที่คุณเปิดปากสัตว์เลี้ยงลองสังเกตดูว่ามีก้อนเนื้อหรืออาการบวมในช่องปากหรือไม่ ในช่วงนี้ลองดูลิ้นด้วย
จากนี้มาดูที่จมูก ปกติไม่จำเป็นว่าต้องมีสีดำและชื้นเสมอไป ในบางตัวจมูกอาจมีสีชมพูหรือน้ำตาล และพบบ่อยที่จมูกปกติจะแห้ง สังเกตน้ำมูก ถ้าเห็นมากกว่า 1 วัน มักผิดปกติ ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษา
บริเวณที่อก ลองคลำการเต้นของหัวใจดู โดยลองคลำแถวอกฝั่งขวาแถวหลังขาหน้า อาจลองคลำชีพจรที่พบด้านในของขาหลังดูก็ได้ แต่การคลำชีพจรจะทำได้ยากกว่าการคลำการเต้นของหัวใจ โดยเฉพาะในแมว แต่คุณสามารถทำได้ถ้าคุณหมั่นฝึกทำบ่อยๆ
ถ้าคุณคลำพบการเต้นของหัวใจแล้วลองนับดูว่าเต้นกี่ครั้งต่อนาทีปกติจะประมาณ 70 ถึง 160 ครั้งต่อนาที ในสุนัข และ 110 ถึง 240 ครั้งต่อนาทีในแมว จังหวะการเต้นของหัวใจควรสม่ำเสมอ บางครั้งอาจเร็วขึ้นหรือช้าลงตามจังหวะการหายใจได้ แต่ถ้าจังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
สังเกตการหายใจว่าสม่ำเสมอหรือไม่ หายใจลำบากหรือถี่ๆ หรือเปล่า หายใจดังหรือไม่ อาการหายใจเร็ว หายใจลำบาก มีเสียงครืดคราด เป็นการบอกว่ากำลังมีปัญหา ส่วนอาการหอบถ้าพบในขณะที่อากาศร้อน กำลังตื่นเต้นหรือเครียดถือว่าปกติ
ลองสังเกตบริเวณท้อง สังเกตลักษณะรูปทรงว่าเป็นอย่างไร ถ้าท้องมีลักษณะป่องกางออกจะบ่งบอกถึงว่าน่าจะมีพยาธิในลำไส้ในสัตว์อายุน้อย หรืออาจมีน้ำคั่งในช่องท้องโรคของต่อมไร้ท่อหรือเนื้องอกในสัตว์อายุมากถ้าคลำดูแล้วพบว่ามีอาการปวดท้องควรรีบไปพบสัตวแพทย์ทันที
ส่วนขาและฝ่าเท่าทั้งสี่ ลองดูว่ามีการบวมหรือเจ็บหรือไม่เพราะว่าปัญหาของข้ออักเสบ มะเร็งของกระดูก กระดูกหัก เอ็นยึดหรือพลิกก็อาจทำให้เกิดการบวมและเจ็บได้ สังเกตท่าเดิน แยกให้ออกว่าเป็นปกติหรือผิดปกติ เพราะท่าเดินที่ผิดปกติจะเป็นอาการแรกและเป็นอาการที่ดูง่ายที่สุดที่จะบอกว่ามีปัญหาที่ขาหรือไม่ ลองสังเกตที่เล็บด้วย ควรตัดเล็บด้วยตัวคุณเองทุก 2 สัปดาห์ อย่าลืมดูให้ทั่วทุกนิ้วด้วย
ต่อมาเราจะมาตรวจที่หางและบั้นท้ายรวมทั้งแถวๆ ก้น พยายามอย่าแสดงอาการรังเกียจ เพราะว่าทวารหนักจะเป็นที่ที่พบว่ามีก้อนเนื้อที่ผิดปกติในสัตว์อายุมาก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจหาดู คุณจะไม่สามารถเห็นต่อมกลิ่นข้างก้น แต่คุณก็ควรที่จะรู้ถึงความสำคัญของมัน ต่อมนี้จะอยู่ข้างในทวารหนักจะมีหน้าที่ปล่อยสารที่มีกลิ่นเหม็นออกมาในขณะสัตว์เลี้ยงถ่ายอุจจาระหรือยู่ในภาวะเครียดซึ่งอาจเกิดการอุดตันของต่อมนี้ได้ ซึ่งสัตว์เลี้ยงจะแสดงอาการกระสับกระส่ายไถก้นไปกับพื้น ซึ่งถ้าคุณพบอาการนี้ควรพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป
ถ้าคุณสังเกตดูรู้สึกว่าสัตว์เลี้ยงของคุณไม่สบาย คุณอาจลองวัดอุณภูมิก็ได้ซึ่งปรอทวัดไข้นี้คุณหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไปควรใช้แบบเหน็บทวารหนัก สัตว์ที่มีไข้มักจะซึมและกินอาหารน้อยกว่าปกติ เจ้าของอาจสังเกตดูได้ว่าประกายตาจะไม่สดใส
ก่อนวัดอุณหภูมิควรสะบัดปรอทวัดไข้ให้ตัวปรอทลงไปในกระเปาะก่อน แล้วทาเจลหล่อลื่นที่กระเปาะ แล้วสวนเข้าไปในทวารหนักให้ลึกประมาณ 1 นิ้ว แล้วจับปลายอีกด้านไว้ เหน็บไว้ประมาณ 1 นาที แล้วอ่านผล ถ้าพบว่ามีอุณหภูมิสูงกว่า 103 องศาฟาเรนไฮด์แปลว่ามีไข้ และควรพาไปหาสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที ห้ามใช้ยาในกลุ่มยาแก้ปวดลดไข้ โดยปราศจากการแนะนำให้ใช้จากสัตวแพทย์เป็นอันขาด โดยเฉพาะพาราเซตามอลจะเป็นพิษต่อตับและไตของแมวอย่างรุนแรงถึงตายได้
ถึงแม้ว่าการตรวจร่างกายทั้งหมดจากที่กล่าวมาจะดูเหมือนว่าใช้เวลามาก แต่ถ้าคุณทำจนชำนาญแล้ว คุณจะพบว่าสามารถทำครบทุกอย่างทุกขั้นตอนเสร็จใน 5 นาทีเท่านั้นในช่วงเวลานี้คุณจะสนุกกับการตรวจซึ่งจะดูเหมือนว่าคุณเล่นกับสัตว์เลี้ยง ซึ่งสัตว์เลี้ยงของคุณก็จะรู้สึกสนุกสนานไปด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ คุณยังสามารถเป็นผู้ช่วยที่ดีของสัตวแพทย์ ในการรักษาสัตว์เลี้ยงของคุณอีกด้วย ซึ่งมาจากการสังเกตสัตว์เลี้ยงอันยอดเยี่ยมของคุณนั่นเอง ถ้าคุณพบสิ่งผิดปกติหรือไม่แน่ใจในสิ่งที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงของคุณรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้แต่เนิ่นๆ
กรุณาใช้เอกสาร ตารางบันทึกการตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างง่ายๆที่บ้าน เพื่อช่วยในการบันทึกสิ่งปกติที่ตรวจพบ ซึ่งติดต่อขอเอกสารได้จากผู้เขียน
สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่เวบเพจของ “คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)” หวังว่าทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมคงได้รับประโยชน์จากเวบเพจนี้
แนะนำคลินิก
ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง เป็นส่วนหนึ่งของคลินิกบ้านรักสัตว์ ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการบำบัดรักษาโรคผิวหนังสัตว์ ตั้งแต่ระดับเบื้องต้น จนถึงระดับการตรวจรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน รวมทั้ง ยังให้บริการรับส่งต่อเพื่อการตรวจรักษาต่อเนื่องในรายที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังที่มีความยุ่งยากซับซ้อนจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่นอีกด้วย
ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง ดำเนินการตรวจ และรักษาโดย “น.สพ. รังสรรค์ สกุลพลอย สพ.บ. Cert Vet Dermatology”
การ บริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะให้บริการด้านโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง แบบครบวงจร ตั้งแต่โรคผิวหนังเบื้องต้น เช่นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือปรสิต จนถึงโรคที่ต้องการ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งหรือเนื้องอกของผิวหนัง โรคผิวหนังที่เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนหรือระบบภูมิค้มกัน รวมถึงโรคติดเชื้อของผิวหนัง หูอักเสบ โรคของเท้าที่เป็นๆหายๆ หรือไม่ยอมหายขาด
ขั้นตอนการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะกระทำในแนวทางเดียวกับที่กระทำกันในประเทศออสเตรเลีย โดยจะเน้นไปที่การเจาะลึกไปถึงสาเหตุของโรคทั้ง สาเหตุหลัก และสาเหตุที่ซ่อนอยู่ควบคู่ไปกับการรักษา เพื่อให้เกิดประสิทธิการรักษาที่สูงที่สุด มีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด รวมทั้งประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด
ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง ดำเนินการตรวจ และรักษาโดย “น.สพ. รังสรรค์ สกุลพลอย สพ.บ. Cert Vet Dermatology”
การ บริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะให้บริการด้านโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง แบบครบวงจร ตั้งแต่โรคผิวหนังเบื้องต้น เช่นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือปรสิต จนถึงโรคที่ต้องการ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งหรือเนื้องอกของผิวหนัง โรคผิวหนังที่เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนหรือระบบภูมิค้มกัน รวมถึงโรคติดเชื้อของผิวหนัง หูอักเสบ โรคของเท้าที่เป็นๆหายๆ หรือไม่ยอมหายขาด
ขั้นตอนการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะกระทำในแนวทางเดียวกับที่กระทำกันในประเทศออสเตรเลีย โดยจะเน้นไปที่การเจาะลึกไปถึงสาเหตุของโรคทั้ง สาเหตุหลัก และสาเหตุที่ซ่อนอยู่ควบคู่ไปกับการรักษา เพื่อให้เกิดประสิทธิการรักษาที่สูงที่สุด มีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด รวมทั้งประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด
การบริการของเรา
การบริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยงประกอบด้วย
· การตรวจทางเซลล์วิทยา (Cytology)
· การตรวจเชื้อรา โดยวิธี KOH preparation, Wood’s lamp examination, และ Fungal Culture
· การทดสอบการแพ้น้ำลายหมัด (Flea bite hypersensitivity testing)
· การทดสอบการเกิดโรคผิวหนังเนื่อง จากอาหาร (Adverse food reaction testing)
· การทดสอบการเกิดปฏิกิริยากับสาร ภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergen Testing)
· การตัดชิ้นเนื้อของผิวหนังที่มี ปัญหา เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา (Skin Biopsy for Dermatohistopathology)
· การทดสอบระดับฮอร์โมน เพื่อการวินิจฉัยโรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน (Hormonal Assay for Skin disease due to Endocrinopathy)
· การรักษาโรคภูมิแพ้ โดยการ Immunotherapy
· การตรวจโรคหู โดยการทำ Otoscopic examination
· การรักษาโรคหูอักเสบ โดยการทำ Ear Flushing technique
· การตรวจทางเซลล์วิทยา (Cytology)
· การตรวจเชื้อรา โดยวิธี KOH preparation, Wood’s lamp examination, และ Fungal Culture
· การทดสอบการแพ้น้ำลายหมัด (Flea bite hypersensitivity testing)
· การทดสอบการเกิดโรคผิวหนังเนื่อง จากอาหาร (Adverse food reaction testing)
· การทดสอบการเกิดปฏิกิริยากับสาร ภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergen Testing)
· การตัดชิ้นเนื้อของผิวหนังที่มี ปัญหา เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา (Skin Biopsy for Dermatohistopathology)
· การทดสอบระดับฮอร์โมน เพื่อการวินิจฉัยโรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน (Hormonal Assay for Skin disease due to Endocrinopathy)
· การรักษาโรคภูมิแพ้ โดยการ Immunotherapy
· การตรวจโรคหู โดยการทำ Otoscopic examination
· การรักษาโรคหูอักเสบ โดยการทำ Ear Flushing technique
ที่ตั้งคลินิก
66/36 หมู่บ้านนิศาชล ซ. บางแวก79 ถ. บางแวก (จรัลฯ13)
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160
โทร. 064-253-5695
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160
โทร. 064-253-5695
มือถือ 064-253-5695 (เปิดเครื่องรับสาย 8.00 น. - 20.00น.)
E-mail: allergyvet@yahoo.com
LINE : allergyskinvet
Facebook: facebook.com/allergyskinvet และ http://www.facebook.com/allergydermvet
พิกัด GPS : 13.741167,100.422598 (บนแผนที่ของ Google)
แผนที่ของคลิินิก: ให้ ก็อปปี้ "13.741167,100.422598" แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก
จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่
สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'
แผนที่ของคลิินิก: ให้ ก็อปปี้ "13.741167,100.422598" แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก
จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่
สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'
การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ
ติดต่อกับผมได้ที่โทร 064-253-5695
LINE : allergyskinvet และที่
Facebook: http://www.facebook.com/allergyskinvet
และ http://www.facebook.com/allergydermvet ครับ
เวลาทำการ
อาทิตย์ 13.00-20.30น.
จันทร์-ศุกร์ 11.00-14.00น. และ 17.00-20.30 น. (ช่วงโรงเรียนเปิดเทอม หมอต้องออกไปรับลูก)
เสาร์ เฉพาะนัดล่วงหน้าเท่านั้น (ถ้าไม่มีใครนัด หมอขอปิดทำการ เพื่อพาลูกไปเที่ยว)
เนื่องจาก ปัจจุบันเจ้าของสัตว์หลายๆรายจะอยู่ไกลจากคลินิกมาก ประกอบกับช่วงนี้ตัวหมอเองมีความจำเป็นบางอย่าง ที่อาจจำเป็นต้องปิดทำการเพื่อออกไปทำธุระ
จึงใคร่ขอรบกวนให้ช่วยโทรนัดล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่มาแล้วเสียเที่ยว
ทางคลินิกต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้
จันทร์-ศุกร์ 11.00-14.00น. และ 17.00-20.30 น. (ช่วงโรงเรียนเปิดเทอม หมอต้องออกไปรับลูก)
เสาร์ เฉพาะนัดล่วงหน้าเท่านั้น (ถ้าไม่มีใครนัด หมอขอปิดทำการ เพื่อพาลูกไปเที่ยว)
เนื่องจาก ปัจจุบันเจ้าของสัตว์หลายๆรายจะอยู่ไกลจากคลินิกมาก ประกอบกับช่วงนี้ตัวหมอเองมีความจำเป็นบางอย่าง ที่อาจจำเป็นต้องปิดทำการเพื่อออกไปทำธุระ
จึงใคร่ขอรบกวนให้ช่วยโทรนัดล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่มาแล้วเสียเที่ยว
ทางคลินิกต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้
ติดต่อกับผมได้ที่โทร 064-253-5695
LINE : allergyskinvet และที่
Facebook: http://www.facebook.com/allergyskinvet
และ http://www.facebook.com/allergydermvet ครับ
ราคาค่าบริการสำหรับการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง
ราคาค่าบริการสำหรับโรคผิวหนังทั่วไป และโรคภูมิแพ้
+ค่าตรวจ + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่าตรวจ + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่าตรวจเพิ่มเติมที่อาจจำเป็น จะแจ้งราคาให้ทราบเมื่อจำเป็นต้องทำการตรวจ
+ค่ายารักษา ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว
ค่าใช้จ่ายสำหรับโรคขี้เรื้อนรูขุมขน (สุนัขน้ำหนักตัวไม่เกิน 16 กิโลกรัม)
+ค่าตรวจทั่วไป + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่ายาที่ใช้รักษา 1,200 บาทต่อ 1 เดือน
+ค่ายาอื่นๆที่อาจต้องใช้ ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว
+ค่ายารักษา ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว
ค่าใช้จ่ายสำหรับโรคขี้เรื้อนรูขุมขน (สุนัขน้ำหนักตัวไม่เกิน 16 กิโลกรัม)
+ค่าตรวจทั่วไป + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่ายาที่ใช้รักษา 1,200 บาทต่อ 1 เดือน
+ค่ายาอื่นๆที่อาจต้องใช้ ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว
สำหรับท่านที่ไม่ชอบพกเงินสด 😀😀 ตอนนี้ทางคลินิกได้เพิ่มช่องทางการชำระเงินโดยใช้ การโอนเงินผ่าน Promtpay, การใช้ QR Code (ไม่ค่าโอนถ้าใช้บัญชี Promptpay) และรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต(คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตร 3%) ได้แล้วครับ 😁😁
เส้นทางมาที่คลินิก
คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 66/36 หมู่บ้านนิศาชล ซ. บางแวก79 ถ. บางแวก (จรัลฯ13)
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160
การเดินทางมาที่คลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะสามารถมาได้หลายทาง โดยถ้ามาจาก ถ.กาญจนาภิเษก ให้เลี้ยวเข้า ถ.จรัลฯ 13(บางแวก) มุ่งหน้าไปทาง ถ.จรัลสนิทวงศ์ วิ่งตามทางมาเรื่อยๆ จะเห็นซุ้มประตูวัดมะพร้าวเตี้ยอยู่ด้านซ้าย ให้วิ่งตามทางมาเรื่อยๆจะเห็นหมู่บ้านศุภาลัยอยู่ด้านขวา จะเห็นตึกแถวของหมู่บ้านนิศาชลอยู่ติดกับหมู่บ้านศุภาลัย ให้เลี้ยวขวาเข้าซอยบางแวก79 (ซอยหมู่บ้านนิศาชล) จะเห็นเซเว่นฯ อยู่ปากปากซอย (ทางเข้าหมู่บ้าน) แล้วเตรียมชิดซ้ายหาที่จอดรถ จะเห็นป้าย “คลินิกบ้านรักสัตว์” อยู่ด้านซ้าย สามารถจอดรถได้ที่หน้าคลินิก
ถ้ามาจาก ถ.ราชพฤกษ์ ถ.พุทธมณฑลสาย1 ถ.จรัลสนิทวงศ์ หรือ ถ.เพชรเกษม48 ให้เลี้ยวเข้า ถ.จรัลฯ 13 (บางแวก) มุ่งหน้าไปทาง ถ.กาญจนาภิเษก วิ่งตามทางมาเรื่อยๆจนข้ามสะพานข้ามคลองราชมนตรี ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยบางแวก79 (ซอยหมู่บ้านนิศาชล) จะเห็นเซเว่นฯ อยู่ปากปากซอย (ทางเข้าหมู่บ้าน) แล้วเตรียมชิดซ้ายหาที่จอดรถ จะเห็นป้าย “คลินิกบ้านรักสัตว์” อยู่ด้านซ้าย สามารถจอดรถได้ที่หน้าคลินิก
พิกัด GPS : 13.741167,100.422598 (บนแผนที่ของ Google)
แผนที่ของคลินิก: ให้ ก็อปปี้ 13.741167,100.422598 แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก
จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่
สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'
การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ
การเตรียมตัวพาสัตว์เลี้ยงเพื่อรับการตรวจโรคผิวหนังกับทางคลินิกบ้านรักสัตว์
เพื่อที่จะเป็นการประหยัดเวลา และลดการใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องมีแก่เจ้าของสัตว์ป่วย
* คนที่พาสุนัขมารับการตรวจ และรักษา ควรเป็นเจ้าของสัตว์ป่วย หรือผู้ที่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการการยอมรับการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เนื่องจากโรคผิวหนังมัก ใช้ระยะเวลาในการรักษาที่นาน มักต้องการการตรวจหลายครั้ง และต้องการการสื่อสารที่ดี เพื่อการอธิบายถึงปัญหาต่างๆของตัวโรค และแผนการรักษาที่ชัดเจน และไม่คลุมเคลือ
* กรุณาอย่าให้คนอื่น หรือคนรับใช้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เป็นคนพามาตรวจ และรับการรักษาแทน เพื่อป้องกันความผิดพลาดเนื่องจาก การสื่อสาร
* งดอาบน้ำสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย
* งดทำความสะอาดหูสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย
*กรุณาอย่าใช้ยาทาที่เป็นสีต่างๆ ซึ่งล้างออกยาก เช่น ยาม่วง ยาเหลือง ยาแดง เนื่องยากลุ่มนี้จะบังแผล แผลรอยโรคต่างๆ และรบกวนการย้อมสีตัวอย่าง
* ถ้ามียาที่ต้องให้กิน หรือฉีดที่ต้องใช้อยู่ ณ เวลาที่ต้องการพามาตรวจ (ซึ่งได้รับมาจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่น) กรุณาอย่างดยา และแจ้งให้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ทราบทุกครั้ง
*สำหรับในกรณีที่พาแมวมา กรุณาใส่กรง หรือตระกร้าที่ปิดล๊อคได้มา เพื่อความปลอดภัยของแมว และตัวเจ้าของแมวเอง
* ควรโทรนัดล่วงหน้า
*ควรให้เวลากับทางคลินิก 1-2 ชั่วโมงเพื่อ การตรวจ รักษา และให้คำแนะนำได้เต็มที่
* เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ท่านเจ้าของสัตว์ป่วย กรุณากรอกแบบสอบถามโดยการคลิกที่ Label ทางด้านขวา หรือดาวน์โหลดได้จาก
https://docs.google.com/document/d/1u2LAH4cKOLi6Pvrdp5Bzyaq49q4OWS9-smhix7oKoNc/edit
โดยให้ Save เป็นไฟล์ของ Word แล้วกรอกแบบสอบถาม จากนั้นสามารถส่งได้โดยการปริ๊นท์ออกมาแล้วนำมาพร้อมกับสัตว์เลี้ยง หรือส่งมาทาง email หรืออัปโหลดขึ้น google docs แล้วแจ้งลิงค์มาทาง
http://www.facebook.com/Allergyskinvet หรือ http://www.facebook.com/allergydermvet ก็ได้
การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ
* คนที่พาสุนัขมารับการตรวจ และรักษา ควรเป็นเจ้าของสัตว์ป่วย หรือผู้ที่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการการยอมรับการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เนื่องจากโรคผิวหนังมัก ใช้ระยะเวลาในการรักษาที่นาน มักต้องการการตรวจหลายครั้ง และต้องการการสื่อสารที่ดี เพื่อการอธิบายถึงปัญหาต่างๆของตัวโรค และแผนการรักษาที่ชัดเจน และไม่คลุมเคลือ
* กรุณาอย่าให้คนอื่น หรือคนรับใช้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เป็นคนพามาตรวจ และรับการรักษาแทน เพื่อป้องกันความผิดพลาดเนื่องจาก การสื่อสาร
* งดอาบน้ำสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย
* งดทำความสะอาดหูสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย
*กรุณาอย่าใช้ยาทาที่เป็นสีต่างๆ ซึ่งล้างออกยาก เช่น ยาม่วง ยาเหลือง ยาแดง เนื่องยากลุ่มนี้จะบังแผล แผลรอยโรคต่างๆ และรบกวนการย้อมสีตัวอย่าง
* ถ้ามียาที่ต้องให้กิน หรือฉีดที่ต้องใช้อยู่ ณ เวลาที่ต้องการพามาตรวจ (ซึ่งได้รับมาจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่น) กรุณาอย่างดยา และแจ้งให้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ทราบทุกครั้ง
*สำหรับในกรณีที่พาแมวมา กรุณาใส่กรง หรือตระกร้าที่ปิดล๊อคได้มา เพื่อความปลอดภัยของแมว และตัวเจ้าของแมวเอง
* ควรโทรนัดล่วงหน้า
*ควรให้เวลากับทางคลินิก 1-2 ชั่วโมงเพื่อ การตรวจ รักษา และให้คำแนะนำได้เต็มที่
* เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ท่านเจ้าของสัตว์ป่วย กรุณากรอกแบบสอบถามโดยการคลิกที่ Label ทางด้านขวา หรือดาวน์โหลดได้จาก
https://docs.google.com/document/d/1u2LAH4cKOLi6Pvrdp5Bzyaq49q4OWS9-smhix7oKoNc/edit
โดยให้ Save เป็นไฟล์ของ Word แล้วกรอกแบบสอบถาม จากนั้นสามารถส่งได้โดยการปริ๊นท์ออกมาแล้วนำมาพร้อมกับสัตว์เลี้ยง หรือส่งมาทาง email หรืออัปโหลดขึ้น google docs แล้วแจ้งลิงค์มาทาง
http://www.facebook.com/Allergyskinvet หรือ http://www.facebook.com/allergydermvet ก็ได้
การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ
Wednesday, May 26, 2010
การตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างง่ายๆที่บ้าน 1
“คุณสามารถทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีสุขภาพที่ดีได้โดยการเรียนรู้ถึงว่า “อะไรคือความผิดปกติของสัตว์เลี้ยง”
คุณเคยคิดว่าคุณสามารถมีส่วนในการทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีอายุยืนที่สุด และมีสุขภาพดีที่สุดหรือไม่ ถ้าคุณเคยคิด ข้อเขียนนี้จะเป็นทางหนึ่งที่จะให้คุณได้เรียนรู้ว่า คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงมีปัญหาเพื่อที่แก้ไขได้ง่ายและทันท่วงที
การที่เจ้าของจะตรวจสุขภาพสัตว์ด้วยตนเองเป็นประจำจะสามารถช่วยให้รู้ถึงอาการแรกเริ่ม และช่วยให้สัตวแพทย์แก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับในคน ถ้ารักษาตั้งแต่แรกเริ่มมีอาการจะทำให้โรครักษาง่ายและหายขาดได้
การพาสัตว์ไปหาสัตวแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนและตรวจร่างกายประจำปีมักพบว่าไม่เพียงพอ ในบางครั้งสัตวแพทย์อาจพบความผิดปกติบางอย่างเช่น อาจพบก้อนเนื้อที่ผิดปกติในช่วงที่พาสัตว์มาฉีดวัคซีนและตรวจร่างกายประจำปี ซึ่งสัตวแพทย์จะต้องการทราบประวัติของก้อนเนื้อนี้เช่นเพิ่งเห็นหรือเป็นมานานแล้ว มีการเปลี่ยนรูปร่างและขนาดหรือไม่ เพื่อที่สัตวแพทย์จะได้ประเมินสภาพเพื่อจัดการแก้ไขต่อไป
ถ้าคุณทำการตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงของคุณเบื้องต้นเองที่บ้านทุกสัปดาห์เป็นประจำ คุณจะพบว่าคุณสามารถที่จะให้ข้อมูลความผิดปกติของสัตว์เลี้ยงที่สำคัญแก่สัตวแพทย์ได้อย่างมากมายทีเดียว นอกจากนี้การนวดและการสัมผัสตัวสัตว์เลี้ยงในช่วงที่คุณทำการตรวจร่างกายสัตว์จะช่วยให้สัตว์มีอาการผ่อนคลายและยังเพิ่มความผูกพันระหว่างคุณและสัตว์เลี้ยงให้มากขึ้นอีกด้วย
การตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงของคุณสามารถทำได้ในช่วงที่คุณกำลังแปรงขน หรือเช็ดตัวหลังอาบน้ำ ช่วงอายุที่ควรเริ่มทำครั้งแรกที่ดีที่สุดคือช่วงที่สัตว์เลี้ยงอายุน้อยๆ แต่สัตว์เลี้ยงที่โตแล้วถ้ายังไม่เคยลองทำ ก็ลองทำดูได้ อาจจะลำบากกว่าเล็กน้อยแต่ก็ไม่เหนือบ่ากว่าแรงที่จะทำ พยายามทำให้ทั้งการแปรงขนและการตรวจร่างกายเป็นของสนุก โดยอาจคิดว่ามันเป็นเกมส์ที่คุณกำลังเล่นกับสัตว์เลี้ยงของคุณอยู่ซึ่งจะทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณเรียนรู้และชอบ แล้วจะไม่มีความรู้สึกกลัวในขณะถูกควบคุม อาจมีการให้รางวัลเช่น ขนมหรือของเล่นบ้างก็ได้ และควรทำในขณะที่สัคว์เลี้ยงอยู่ในช่วงพักจากการเล่นซน อย่าทำในช่วงที่สัตว์เลี้ยงกำลังเล่นซนเพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณรู้สึกว่าถูกขัดขวางความสนุก ซึ่งอาจทำให้ไม่ค่อยยอมให้ทำในครั้งต่อๆไปได้
เราจะเริ่มขั้นตอน (ดูและบันทึกในตารางบันทึกการตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงประกอบกันด้วย)การตรวจจาก การสังเกตกิริยาท่าทางของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างแรก กล่าวคือดูว่าลักษณะอาการทั่วไปของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างไรบ้าง ปกติหรือซึมลงเป็นต้น ต่อมาก็ทำการนวดคลำไปตามตัวสัตว์ ไม่ควรสนใจว่าสัตว์ต้องอยู่ในท่ายืน นั่ง หรือนอน ที่สำคัญขอให้พยายามทำให้ได้ทั่วตัวก็พอ
เราจะเริ่มการคลำจากบริเวณหัวและคอ แล้วค่อยๆไล่ไปที่หาง พยายามตรวจทั้งบริเวณหูและจมูก ต่อมานวดคลำแถวลำตัว ถ้าคลำพบชั้นไขมันให้สังเกตุดูว่าคลำซี่โครงได้หรือไม่ ลองสังเกตดูว่าแนวเส้นเอวเป็นอย่างไร ถ้าคลำซี่โครงไม่ได้และแนวเส้นเอวดูกางๆ ก็หมายความว่าคุณต้องขอคำปรึกษาจากสัตวแพทย์เกี่ยวกับการลดความอ้วนแก่สัตว์เลี้ยงของคุณแล้ว แต่ถ้าคุณสามารถคลำซี่โครงจนสามารถนับได้ละก้อ คุณควรพาสัตว์เลี้ยงของคุณไปพบสัตวแพทย์โดยเร็ว เพราะว่าสัตว์เลี้ยงของคุณมีปัญหาน้ำหนักตัวลดลงมากกว่าปกติแล้วซึ่งบ่งชี้ถึงว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดกับสัตว์เลี้ยงของคุณแล้ว อีกวิธีที่ดีกว่าในการตรวจสอบดูว่าน้ำหนักตัวเท่าไร เพิ่มหรือลดอย่างไรก็คือ การชั่งน้ำหนักตัวสัตว์เดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย
ถ้าสัตว์เลี้ยงเกร็งตัวต้านการนวดคลำ จะทำให้คุณตรวจลำบาก อย่าเพิ่งรีบยอมแพ้ ควรใช้ความอดทนและนุ่มนวล แต่คงที่ต่อเนื่อง ซึ่งสัตว์เลี้ยงของคุณจะค่อยๆยอมให้ทำและเริ่มผ่อนคลายเอง อาจมีสุนัขบางตัวแสดงอาการคำราม ซึ่งในกรณีนี้ เพื่อความปลอดภัยของคุณและสัตว์เลี้ยง คุณควรเลิกทำทันทีแล้วขอคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือจากสัตว์แพทย์จะดีกว่า ลองสังเกตุหาก้อนเนื้อหรือรอยช้ำ สังเกตุความรู้สึกเวลาคลำซี่โครงหรือกระดูกควรให้ความรู้สึกทีเหมือนกัน ลองนับหัวนมดูจะช่วยให้คุณรู้ตำแหน่งของมัน และอย่าแปลกใจถ้าพบว่าสัตว์เลี้ยงตัวผู้ของคุณก็มีหัวนมเช่นกัน
ต่อมาลองดูว่าปริมาณน้ำในร่างกายของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างไรโดยใช้วิธีง่ายๆคือ ลองดึงหนังแถวๆคอด้านบนของสัตว์เลี้ยงของคุณขึ้นมาเล็กน้อยและเบาๆ แล้วปล่อย เท่านี้คุณก็จะรู้อย่างคร่าวๆแล้วว่าปริมาณน้ำในร่างกายของสัตว์เลี้ยงของคุณเป็นอย่างไร โดยถ้าคุณปล่อยผิวหนังแล้ว ผิวหนังกลับที่เดิมทันทีแปลว่าปกติ ถ้าน้ำในร่างกายน้อยเกินไป ผิวหนังจะยังคงตั้งอยู่หรือค่อยๆกลับที่เดิมอย่างช้าๆ การทดสอบนี้ควรมีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น อย่าปล่อยให้สัตว์เลี้ยงของคุณแสดงผลการทดสอบว่าน้ำในร่างกายน้อยเกินไปเด็ดขาด เพราะสัตว์เลี้ยงที่แสดงอาการนี้มักป่วยหนักแล้ว
จากนี้ลองลูบจากหางไปหัวเพื่อตรวจหาดูว่ามีสิ่งผิดปกติบนผิวหนังหรือไม่เช่น สะเก็ด ขี้รังแค แมลง หรือแมงต่างๆที่อยู่บนผิวหนัง ได้แก่ เห็บ หมัด เหา หรือไร แต่ที่พบได้บ่อยๆคือ เห็บและหมัด ซึ่งหมัดจะเป็นตัวนำไข่ของพยาธิตัวตืดไปติดสัตวเลี้ยงของคุณ และอาจทำให้เกิดอาการแพ้น้ำลายหมัดอย่างรุนแรงได้ ในขณะที่เห็บจะเป็นตัวนำพยาธิในเม็ดเลือดมาสู่สัตว์เลี้ยงของคุณ ในบางครั้งที่สัตว์เลี้ยงของคุณมีหมัด แต่คุณอาจหาตัวหมัดไม่เจอ คุณไม่ต้องแปลกใจเราสามารถหาได้ว่ามีหมัดหรือไม่ได้โดยดูจากหลักฐานที่มันทิ้งไว้นั่นคือขี้หมัด ซึ่งจะคล้ายๆเม็ดพริกไทหยาบสีดำติดอยู่ที่ขนซึ่งขี้หมัดนี้ถูกน้ำจะเปลี่ยนสีเป็นสีออกแดง
คุณเคยคิดว่าคุณสามารถมีส่วนในการทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีอายุยืนที่สุด และมีสุขภาพดีที่สุดหรือไม่ ถ้าคุณเคยคิด ข้อเขียนนี้จะเป็นทางหนึ่งที่จะให้คุณได้เรียนรู้ว่า คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงมีปัญหาเพื่อที่แก้ไขได้ง่ายและทันท่วงที
การที่เจ้าของจะตรวจสุขภาพสัตว์ด้วยตนเองเป็นประจำจะสามารถช่วยให้รู้ถึงอาการแรกเริ่ม และช่วยให้สัตวแพทย์แก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับในคน ถ้ารักษาตั้งแต่แรกเริ่มมีอาการจะทำให้โรครักษาง่ายและหายขาดได้
การพาสัตว์ไปหาสัตวแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนและตรวจร่างกายประจำปีมักพบว่าไม่เพียงพอ ในบางครั้งสัตวแพทย์อาจพบความผิดปกติบางอย่างเช่น อาจพบก้อนเนื้อที่ผิดปกติในช่วงที่พาสัตว์มาฉีดวัคซีนและตรวจร่างกายประจำปี ซึ่งสัตวแพทย์จะต้องการทราบประวัติของก้อนเนื้อนี้เช่นเพิ่งเห็นหรือเป็นมานานแล้ว มีการเปลี่ยนรูปร่างและขนาดหรือไม่ เพื่อที่สัตวแพทย์จะได้ประเมินสภาพเพื่อจัดการแก้ไขต่อไป
ถ้าคุณทำการตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงของคุณเบื้องต้นเองที่บ้านทุกสัปดาห์เป็นประจำ คุณจะพบว่าคุณสามารถที่จะให้ข้อมูลความผิดปกติของสัตว์เลี้ยงที่สำคัญแก่สัตวแพทย์ได้อย่างมากมายทีเดียว นอกจากนี้การนวดและการสัมผัสตัวสัตว์เลี้ยงในช่วงที่คุณทำการตรวจร่างกายสัตว์จะช่วยให้สัตว์มีอาการผ่อนคลายและยังเพิ่มความผูกพันระหว่างคุณและสัตว์เลี้ยงให้มากขึ้นอีกด้วย
การตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงของคุณสามารถทำได้ในช่วงที่คุณกำลังแปรงขน หรือเช็ดตัวหลังอาบน้ำ ช่วงอายุที่ควรเริ่มทำครั้งแรกที่ดีที่สุดคือช่วงที่สัตว์เลี้ยงอายุน้อยๆ แต่สัตว์เลี้ยงที่โตแล้วถ้ายังไม่เคยลองทำ ก็ลองทำดูได้ อาจจะลำบากกว่าเล็กน้อยแต่ก็ไม่เหนือบ่ากว่าแรงที่จะทำ พยายามทำให้ทั้งการแปรงขนและการตรวจร่างกายเป็นของสนุก โดยอาจคิดว่ามันเป็นเกมส์ที่คุณกำลังเล่นกับสัตว์เลี้ยงของคุณอยู่ซึ่งจะทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณเรียนรู้และชอบ แล้วจะไม่มีความรู้สึกกลัวในขณะถูกควบคุม อาจมีการให้รางวัลเช่น ขนมหรือของเล่นบ้างก็ได้ และควรทำในขณะที่สัคว์เลี้ยงอยู่ในช่วงพักจากการเล่นซน อย่าทำในช่วงที่สัตว์เลี้ยงกำลังเล่นซนเพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณรู้สึกว่าถูกขัดขวางความสนุก ซึ่งอาจทำให้ไม่ค่อยยอมให้ทำในครั้งต่อๆไปได้
เราจะเริ่มขั้นตอน (ดูและบันทึกในตารางบันทึกการตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงประกอบกันด้วย)การตรวจจาก การสังเกตกิริยาท่าทางของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างแรก กล่าวคือดูว่าลักษณะอาการทั่วไปของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างไรบ้าง ปกติหรือซึมลงเป็นต้น ต่อมาก็ทำการนวดคลำไปตามตัวสัตว์ ไม่ควรสนใจว่าสัตว์ต้องอยู่ในท่ายืน นั่ง หรือนอน ที่สำคัญขอให้พยายามทำให้ได้ทั่วตัวก็พอ
เราจะเริ่มการคลำจากบริเวณหัวและคอ แล้วค่อยๆไล่ไปที่หาง พยายามตรวจทั้งบริเวณหูและจมูก ต่อมานวดคลำแถวลำตัว ถ้าคลำพบชั้นไขมันให้สังเกตุดูว่าคลำซี่โครงได้หรือไม่ ลองสังเกตดูว่าแนวเส้นเอวเป็นอย่างไร ถ้าคลำซี่โครงไม่ได้และแนวเส้นเอวดูกางๆ ก็หมายความว่าคุณต้องขอคำปรึกษาจากสัตวแพทย์เกี่ยวกับการลดความอ้วนแก่สัตว์เลี้ยงของคุณแล้ว แต่ถ้าคุณสามารถคลำซี่โครงจนสามารถนับได้ละก้อ คุณควรพาสัตว์เลี้ยงของคุณไปพบสัตวแพทย์โดยเร็ว เพราะว่าสัตว์เลี้ยงของคุณมีปัญหาน้ำหนักตัวลดลงมากกว่าปกติแล้วซึ่งบ่งชี้ถึงว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดกับสัตว์เลี้ยงของคุณแล้ว อีกวิธีที่ดีกว่าในการตรวจสอบดูว่าน้ำหนักตัวเท่าไร เพิ่มหรือลดอย่างไรก็คือ การชั่งน้ำหนักตัวสัตว์เดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย
ถ้าสัตว์เลี้ยงเกร็งตัวต้านการนวดคลำ จะทำให้คุณตรวจลำบาก อย่าเพิ่งรีบยอมแพ้ ควรใช้ความอดทนและนุ่มนวล แต่คงที่ต่อเนื่อง ซึ่งสัตว์เลี้ยงของคุณจะค่อยๆยอมให้ทำและเริ่มผ่อนคลายเอง อาจมีสุนัขบางตัวแสดงอาการคำราม ซึ่งในกรณีนี้ เพื่อความปลอดภัยของคุณและสัตว์เลี้ยง คุณควรเลิกทำทันทีแล้วขอคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือจากสัตว์แพทย์จะดีกว่า ลองสังเกตุหาก้อนเนื้อหรือรอยช้ำ สังเกตุความรู้สึกเวลาคลำซี่โครงหรือกระดูกควรให้ความรู้สึกทีเหมือนกัน ลองนับหัวนมดูจะช่วยให้คุณรู้ตำแหน่งของมัน และอย่าแปลกใจถ้าพบว่าสัตว์เลี้ยงตัวผู้ของคุณก็มีหัวนมเช่นกัน
ต่อมาลองดูว่าปริมาณน้ำในร่างกายของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างไรโดยใช้วิธีง่ายๆคือ ลองดึงหนังแถวๆคอด้านบนของสัตว์เลี้ยงของคุณขึ้นมาเล็กน้อยและเบาๆ แล้วปล่อย เท่านี้คุณก็จะรู้อย่างคร่าวๆแล้วว่าปริมาณน้ำในร่างกายของสัตว์เลี้ยงของคุณเป็นอย่างไร โดยถ้าคุณปล่อยผิวหนังแล้ว ผิวหนังกลับที่เดิมทันทีแปลว่าปกติ ถ้าน้ำในร่างกายน้อยเกินไป ผิวหนังจะยังคงตั้งอยู่หรือค่อยๆกลับที่เดิมอย่างช้าๆ การทดสอบนี้ควรมีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น อย่าปล่อยให้สัตว์เลี้ยงของคุณแสดงผลการทดสอบว่าน้ำในร่างกายน้อยเกินไปเด็ดขาด เพราะสัตว์เลี้ยงที่แสดงอาการนี้มักป่วยหนักแล้ว
จากนี้ลองลูบจากหางไปหัวเพื่อตรวจหาดูว่ามีสิ่งผิดปกติบนผิวหนังหรือไม่เช่น สะเก็ด ขี้รังแค แมลง หรือแมงต่างๆที่อยู่บนผิวหนัง ได้แก่ เห็บ หมัด เหา หรือไร แต่ที่พบได้บ่อยๆคือ เห็บและหมัด ซึ่งหมัดจะเป็นตัวนำไข่ของพยาธิตัวตืดไปติดสัตวเลี้ยงของคุณ และอาจทำให้เกิดอาการแพ้น้ำลายหมัดอย่างรุนแรงได้ ในขณะที่เห็บจะเป็นตัวนำพยาธิในเม็ดเลือดมาสู่สัตว์เลี้ยงของคุณ ในบางครั้งที่สัตว์เลี้ยงของคุณมีหมัด แต่คุณอาจหาตัวหมัดไม่เจอ คุณไม่ต้องแปลกใจเราสามารถหาได้ว่ามีหมัดหรือไม่ได้โดยดูจากหลักฐานที่มันทิ้งไว้นั่นคือขี้หมัด ซึ่งจะคล้ายๆเม็ดพริกไทหยาบสีดำติดอยู่ที่ขนซึ่งขี้หมัดนี้ถูกน้ำจะเปลี่ยนสีเป็นสีออกแดง
วิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงเมื่อเกิดปัญหาท้องเสีย
อาการท้องเสียเกิดจากหลายสาเหตุตั้งแต่การติดเชื้อ อาหารเป็นพิษ หรือแม้แต่การอุดตันของลำไส้ ซึ่งการดูแล รักษาก็ขึ้นกับสาเหตุของโรคนั้นๆ
ลักษณะที่บอกว่าท้องเสีย
ลักษณะที่บอกว่าท้องเสียได้แก่ อุจจาระเละ ถึงเหลวเป็นน้ำ อาจมีมูกหรือเลือดปน อาจถ่ายบ่อยกว่าปกติ ปริมาณอุจจาระอาจมากขึ้น บางครั้งอาจมีอาหารที่ยังไม่ย่อยปนออกมา
อาการท้องเสียอาจเกิดจากความผิดปกติที่ลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ (ลำไส้ใหญ่อักเสบ) ซึ่งถ้าแบ่งตามระยะเวลาการเกิด จะแบ่งเป็นแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง เอกสารชุดนี้จะกล่าวถึงแต่วิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงเมื่อเกิดปัญหาท้องเสียที่จากความผิดปกติที่ลำไส้เล็กเท่านั้น สำหรับวิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงเมื่อเกิดปัญหาความผิดปกติที่ลำไส้ใหญ่ (ลำไส้ใหญ่อักเสบ) กรุณาติดตามอ่านได้ในบทความเรื่อง “วิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงเมื่อเกิดปัญหาความผิดปกติที่หรือลำไส้ใหญ่ (ลำไส้ใหญ่อักเสบ)”
ท้องเสียเฉียบพลันจากลำไส้เล็ก มักเกิดอาการมาไม่เกิน 48 ชั่วโมง ส่วนมากอุจจาระมักมีมูกปน ไม่ค่อยพบว่ามีเลือดปน มักกินอาหารลดลงหรือไม่กินอาหาร สีอุจจาระมักเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง สัตว์เลี้ยงจะแสดงอาการรีบหาสถานที่จะถ่าย หรือถ่ายไม่เป็นที่ ถ่ายบ่อยขึ้น อาจมีอาการเบ่งต่อหลังจากที่ถ่ายเสร็จแล้ว
ท้องเสียเรื้อรังจากลำไส้เล็ก มักเป็นมานานกว่า 7-10 วัน สัตว์เลี้ยงจะอุจจาระเป็นน้ำออกมาทีละมากๆ เพราะว่าลำไส้มีการบีบตัวมากกว่าปกติ 2-3 เท่า อุจจาระมักไม่ค่อยมีมูกปน สีอุจจาระมักเป็นสีน้ำตาลถ้าไม่มีเลือดปน แต่ถ้ามีเลือดปนจะมีสีดำ
สาเหตุของท้องเสีย
สาเหตุของท้องเสียมักมาจาก แบคทีเรีย ไวรัส พยาธิในลำไส้ และความเครียด บางครั้งสารพิษที่เกิดจากอาหารบูดเสีย การคุ้ยกินขยะ โรคแพ้อาหาร โรคของตับหรือตับอ่อนก็ทำให้ท้องเสียได้เช่นกัน
ในพวกลูกสัตว์มักได้รับผลกระทบจากท้องเสียมากกว่าพวกสัตว์โต ดังนั้นถ้าพวกลูกสัตว์เกิดปัญหาท้องเสีย ควรรีบสังเกตสิ่งผิดปกติทั้งหมด แล้วรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และทำการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะว่าอาการจะทรุดลงจนถึงขีดอันตรายเร็วมาก
การรักษา
กระบวนการรักษาที่สัตวแพทย์กระทำจะเริ่มจากการถามประวัติ และการตรวจร่างกาย สัตวแพทย์มักจะถามถึงโปรแกรมสุขภาพที่ได้รับมาเช่น วัคซีน การถ่ายพยาธิ อาหารที่ให้ ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็สามารถวินิจฉัยได้ และสามารถให้การรักษาได้เลย สัตวแพทย์จะแนะนำให้งดอาหารทุกชนิดเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ขึ้นกับระดับความรุนแรง (ถ้ามากก็จะให้งดนานขึ้น และจะงดอาหารไม่เกิน 2 วันในแมว) ร่วมกับการให้การรักษา โดยทั่วไปสัตวแพทย์จะแนะนำให้มีการให้น้ำแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเต็มที่ ยกเว้นในรายที่มีอาการอาเจียนจะให้งดน้ำด้วย
สำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาการเสียน้ำอย่างรุนแรง สัตวแพทย์จะมีการให้สารน้ำเข้าเส้นเลือดก่อนที่จะมีกระบวนการรักษาอื่นๆ
การดูแลสัตว์ป่วยที่บ้าน
หลังจากที่งดอาหารครบกำหนดตามที่สัตวแพทย์แนะนำแล้ว เจ้าของสัตว์ควรดูแล และให้อาหารตามคำแนะนำต่อไปนี้
1. ให้อาหารทีละน้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ (วันละ 3-6 มื้อ)
2. ให้อาหารที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ หรืออาหารที่สัตวแพทย์แนะนำ
3. อย่าให้อาหารที่มีรสหวานจัด นม หรือขนมทุกชนิด
4. สังเกตอาการของสัตว์ป่วยอย่างละเอียด รวมถึงลักษณะของอุจจาระ และสิ่งต่างๆที่ปนอยู่ในอุจจาระด้วย
ลักษณะที่บอกว่าท้องเสีย
ลักษณะที่บอกว่าท้องเสียได้แก่ อุจจาระเละ ถึงเหลวเป็นน้ำ อาจมีมูกหรือเลือดปน อาจถ่ายบ่อยกว่าปกติ ปริมาณอุจจาระอาจมากขึ้น บางครั้งอาจมีอาหารที่ยังไม่ย่อยปนออกมา
อาการท้องเสียอาจเกิดจากความผิดปกติที่ลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ (ลำไส้ใหญ่อักเสบ) ซึ่งถ้าแบ่งตามระยะเวลาการเกิด จะแบ่งเป็นแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง เอกสารชุดนี้จะกล่าวถึงแต่วิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงเมื่อเกิดปัญหาท้องเสียที่จากความผิดปกติที่ลำไส้เล็กเท่านั้น สำหรับวิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงเมื่อเกิดปัญหาความผิดปกติที่ลำไส้ใหญ่ (ลำไส้ใหญ่อักเสบ) กรุณาติดตามอ่านได้ในบทความเรื่อง “วิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงเมื่อเกิดปัญหาความผิดปกติที่หรือลำไส้ใหญ่ (ลำไส้ใหญ่อักเสบ)”
ท้องเสียเฉียบพลันจากลำไส้เล็ก มักเกิดอาการมาไม่เกิน 48 ชั่วโมง ส่วนมากอุจจาระมักมีมูกปน ไม่ค่อยพบว่ามีเลือดปน มักกินอาหารลดลงหรือไม่กินอาหาร สีอุจจาระมักเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง สัตว์เลี้ยงจะแสดงอาการรีบหาสถานที่จะถ่าย หรือถ่ายไม่เป็นที่ ถ่ายบ่อยขึ้น อาจมีอาการเบ่งต่อหลังจากที่ถ่ายเสร็จแล้ว
ท้องเสียเรื้อรังจากลำไส้เล็ก มักเป็นมานานกว่า 7-10 วัน สัตว์เลี้ยงจะอุจจาระเป็นน้ำออกมาทีละมากๆ เพราะว่าลำไส้มีการบีบตัวมากกว่าปกติ 2-3 เท่า อุจจาระมักไม่ค่อยมีมูกปน สีอุจจาระมักเป็นสีน้ำตาลถ้าไม่มีเลือดปน แต่ถ้ามีเลือดปนจะมีสีดำ
สาเหตุของท้องเสีย
สาเหตุของท้องเสียมักมาจาก แบคทีเรีย ไวรัส พยาธิในลำไส้ และความเครียด บางครั้งสารพิษที่เกิดจากอาหารบูดเสีย การคุ้ยกินขยะ โรคแพ้อาหาร โรคของตับหรือตับอ่อนก็ทำให้ท้องเสียได้เช่นกัน
ในพวกลูกสัตว์มักได้รับผลกระทบจากท้องเสียมากกว่าพวกสัตว์โต ดังนั้นถ้าพวกลูกสัตว์เกิดปัญหาท้องเสีย ควรรีบสังเกตสิ่งผิดปกติทั้งหมด แล้วรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และทำการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะว่าอาการจะทรุดลงจนถึงขีดอันตรายเร็วมาก
การรักษา
กระบวนการรักษาที่สัตวแพทย์กระทำจะเริ่มจากการถามประวัติ และการตรวจร่างกาย สัตวแพทย์มักจะถามถึงโปรแกรมสุขภาพที่ได้รับมาเช่น วัคซีน การถ่ายพยาธิ อาหารที่ให้ ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็สามารถวินิจฉัยได้ และสามารถให้การรักษาได้เลย สัตวแพทย์จะแนะนำให้งดอาหารทุกชนิดเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ขึ้นกับระดับความรุนแรง (ถ้ามากก็จะให้งดนานขึ้น และจะงดอาหารไม่เกิน 2 วันในแมว) ร่วมกับการให้การรักษา โดยทั่วไปสัตวแพทย์จะแนะนำให้มีการให้น้ำแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเต็มที่ ยกเว้นในรายที่มีอาการอาเจียนจะให้งดน้ำด้วย
สำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาการเสียน้ำอย่างรุนแรง สัตวแพทย์จะมีการให้สารน้ำเข้าเส้นเลือดก่อนที่จะมีกระบวนการรักษาอื่นๆ
การดูแลสัตว์ป่วยที่บ้าน
หลังจากที่งดอาหารครบกำหนดตามที่สัตวแพทย์แนะนำแล้ว เจ้าของสัตว์ควรดูแล และให้อาหารตามคำแนะนำต่อไปนี้
1. ให้อาหารทีละน้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ (วันละ 3-6 มื้อ)
2. ให้อาหารที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ หรืออาหารที่สัตวแพทย์แนะนำ
3. อย่าให้อาหารที่มีรสหวานจัด นม หรือขนมทุกชนิด
4. สังเกตอาการของสัตว์ป่วยอย่างละเอียด รวมถึงลักษณะของอุจจาระ และสิ่งต่างๆที่ปนอยู่ในอุจจาระด้วย
โรคขี้เรื้อนรูขุมขน (Demodicosis)
โรคขี้เรื้อนรูขุมขน หรือบางคนเรียกว่าโรคขี้เรื้อนเปียก เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากไรขี้เรื้อนที่ชื่อว่า ดีโมเดกซ์ ซึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไรขี้เรื้อนชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในรูขุมขน และต่อมไขมันของผิวหนัง การแพร่กระจายของไรขี้เรื้อนชนิดนี้จะแพร่จากแม่ไปยังลูกในช่วง 16 ชั่วโมงหลังคลอดเท่านั้น ซึ่งในสุนัขปกติทุกตัวจะมีไรขี้เรื้อนชนิดนี้อยู่ในจำนวนไม่มาก แต่ในสุนัขที่มีปัญหาภูมิคุ้มกัน จะทำให้ไรขี้เรื้อนเพิ่มจำนวนจนมากพอที่จะเกิดปัญหาได้
อาการที่แสดงออกของโรคนี้มี 2 แบบคือ เป็นเฉพาะที่ (localised) ซึ่งเป็นแค่พื้นที่เล็กๆบนผิวหนัง กับ แบบเป็นกระจายทั่วตัว (generalised) ซึ่งเป็นทั่วตัว รวมถึงที่เท้าด้วย รอยโรคของผิวหนังที่มีปัญหาได้แก่ ขนร่วงและแดง อาจพบลักษณะขุย และสะเก็ด เราพบการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เนื่องตัวไรไปทำให้รูขุมขนเสียหายได้อยู่บ่อยๆ ซึ่งการติดเชื้อแบคทีเรียนี้ จะทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง ถึงป่วยหนัก หรือตายได้ ถ้าการติดเชื้อนี้เป็นการติดเชื้อในชั้นลึก หรือมีการลามเข้าสู่กระแสเลือด โรคขี้เรื้อนรูขุมขนแบบเป็นกระจายทั่วตัว (generalised demodicosis) สามารถแพร่ทางกรรมพันธุ์ได้ ดังนั้นสุนัขมีสายพันธุ์ หรือญาติที่เป็นโรคขี้เรื้อนรูขุมขนแบบเป็นกระจายทั่วตัว จึงควรทำหมันทั้งหมดเพื่อหยุดการแพร่กระจายไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน การวินิจฉัยโรคนี้ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง)จะกระทำโดยการขูดตรวจผิวหนัง เพื่อตรวจดูตัวไรด้วยกล้องจุลทรรศน์ สำหรับสุนัขที่เป็นโรคขี้เรื้อนรูขุมขนแบบเป็นกระจายทั่วตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์มีความเห็นว่า ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุโน้มนำเพื่อที่ได้ทำการรักษาต่อไป
การรักษาโรคขี้เรื้อนรูขุมขน จะขึ้นกับอายุ สภาพของตัวสัตว์ป่วย และความรุนแรงของโรค แบบที่เป็นเฉพาะที่ในสุนัขอายุน้อยกว่า 1 ปี พบว่ากว่าครึ่งมักจะหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่ต้องระวังเรื่องการติดเชื้อแทรกซ้อน และต้องคอยระวังเรื่องการลุกลาม หรืออาการแย่ลง สำหรับในตัวที่ต้องการเก็บไว้ผสมพันธุ์ไม่ควรทำการรักษา ควรลองปล่อยให้หายเอง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นแบบเป็นกระจายทั่วตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์พบว่า บ่อยครั้งที่การใช้ยาทาหรืออาบทำให้บริเวณที่เป็นโรคดูแย่ลง ก่อนที่จะเริ่มหายดี และเราพบได้บ่อยอีกเช่นกันว่า ในหลายๆรายมักมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งในกรณีนี้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์จะให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
ในรายที่เป็นแบบเป็นทั่วทั้งตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์จะใช้ยากิน หรืออาบเพื่อกำจัดตัวไรขี้เรื้อนที่อยู่ในรูขุมขนโดยตรง เนื่องจากรูขุมขนเป็นบริเวณที่ยาเข้าถึงได้ยาก และตัวไรขี้เรื้อนมักมีความทนต่อยา ดังนั้นการรักษาโรคนี้ส่วนใหญ่มักต้องใช้ยาในขนาดที่สูง และใช้เวลาในการรักษาที่นาน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์จะมีการทำการตรวจเป็นระยะเพื่อที่จะบอกได้ว่า เมื่อใดจึงสามารถหยุดยาได้ ซึ่งเจ้าของสุนัขไม่ควรหยุดยาเองเมื่อดูเหมือนว่าอาการหายดีแล้ว เพราะตัวไรที่ยังหลงเหลืออยู่จะทำให้กลับมาเป็นใหม่ได้อีก ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์พบว่า หลายๆรายที่กลับมาเป็นใหม่มักต้องการระยะเวลาในการรักษาที่นานขึ้น เพราะตัวไรจะมีความทนต่อยาที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับโรคผิวหนังอื่นๆ ถ้ามีการการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์จะให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ในสุนัขที่เป็นแบบเป็นทั่วทั้งตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์มีความเห็นว่าควรที่จะได้รับการทำหมัน เพื่อลดปัจจัยที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรค ได้แก่ความเครียดจากวงรอบการเป็นสัด และลดการแพร่กระจายไปตามสายพันธุ์ โดยเฉพาะในกลุ่มพันธุ์แท้
ในรายที่เป็นแบบเฉพาะที่ ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม มักมีการพยากรณ์โรคที่ดี แต่ถ้าโรคเริ่มรุนแรงขึ้น การพยากรณ์โรคจะแย่ลงตามอาการที่เป็นมากขึ้น ในรายที่เป็นแบบเป็นทั่วทั้งตัวบางราย มักมีการกลับมาเป็นใหม่หลังการรักษา ซึ่งต้องการการตรวจ และทำการรักษาเพื่อควบคุมโรคเป็นระยะๆตลอดชีวิต แต่ในรายที่เหลือสามารถหายขาดได้เมื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ในสุนัขที่เป็นขี้เรื้อนรูขุมขนทุกตัว ต้องได้รับการดูแลที่ดี และปลอดความเครียดให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ อาทิเช่น ให้อาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนและสมดุล ได้รับการถ่ายพยาธิ ป้องกันพยาธิหัวใจ ป้องกันและกำจัดเห็บหมัด ตรวจเช็คร่างกายเป็นระยะ และได้รับโปรแกรมวัคซีนที่เหมาะสม เป็นต้น
อาการที่แสดงออกของโรคนี้มี 2 แบบคือ เป็นเฉพาะที่ (localised) ซึ่งเป็นแค่พื้นที่เล็กๆบนผิวหนัง กับ แบบเป็นกระจายทั่วตัว (generalised) ซึ่งเป็นทั่วตัว รวมถึงที่เท้าด้วย รอยโรคของผิวหนังที่มีปัญหาได้แก่ ขนร่วงและแดง อาจพบลักษณะขุย และสะเก็ด เราพบการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เนื่องตัวไรไปทำให้รูขุมขนเสียหายได้อยู่บ่อยๆ ซึ่งการติดเชื้อแบคทีเรียนี้ จะทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง ถึงป่วยหนัก หรือตายได้ ถ้าการติดเชื้อนี้เป็นการติดเชื้อในชั้นลึก หรือมีการลามเข้าสู่กระแสเลือด โรคขี้เรื้อนรูขุมขนแบบเป็นกระจายทั่วตัว (generalised demodicosis) สามารถแพร่ทางกรรมพันธุ์ได้ ดังนั้นสุนัขมีสายพันธุ์ หรือญาติที่เป็นโรคขี้เรื้อนรูขุมขนแบบเป็นกระจายทั่วตัว จึงควรทำหมันทั้งหมดเพื่อหยุดการแพร่กระจายไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน การวินิจฉัยโรคนี้ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง)จะกระทำโดยการขูดตรวจผิวหนัง เพื่อตรวจดูตัวไรด้วยกล้องจุลทรรศน์ สำหรับสุนัขที่เป็นโรคขี้เรื้อนรูขุมขนแบบเป็นกระจายทั่วตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์มีความเห็นว่า ควรได้รับการตรวจหาสาเหตุโน้มนำเพื่อที่ได้ทำการรักษาต่อไป
การรักษาโรคขี้เรื้อนรูขุมขน จะขึ้นกับอายุ สภาพของตัวสัตว์ป่วย และความรุนแรงของโรค แบบที่เป็นเฉพาะที่ในสุนัขอายุน้อยกว่า 1 ปี พบว่ากว่าครึ่งมักจะหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่ต้องระวังเรื่องการติดเชื้อแทรกซ้อน และต้องคอยระวังเรื่องการลุกลาม หรืออาการแย่ลง สำหรับในตัวที่ต้องการเก็บไว้ผสมพันธุ์ไม่ควรทำการรักษา ควรลองปล่อยให้หายเอง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นแบบเป็นกระจายทั่วตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์พบว่า บ่อยครั้งที่การใช้ยาทาหรืออาบทำให้บริเวณที่เป็นโรคดูแย่ลง ก่อนที่จะเริ่มหายดี และเราพบได้บ่อยอีกเช่นกันว่า ในหลายๆรายมักมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งในกรณีนี้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์จะให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
ในรายที่เป็นแบบเป็นทั่วทั้งตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์จะใช้ยากิน หรืออาบเพื่อกำจัดตัวไรขี้เรื้อนที่อยู่ในรูขุมขนโดยตรง เนื่องจากรูขุมขนเป็นบริเวณที่ยาเข้าถึงได้ยาก และตัวไรขี้เรื้อนมักมีความทนต่อยา ดังนั้นการรักษาโรคนี้ส่วนใหญ่มักต้องใช้ยาในขนาดที่สูง และใช้เวลาในการรักษาที่นาน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์จะมีการทำการตรวจเป็นระยะเพื่อที่จะบอกได้ว่า เมื่อใดจึงสามารถหยุดยาได้ ซึ่งเจ้าของสุนัขไม่ควรหยุดยาเองเมื่อดูเหมือนว่าอาการหายดีแล้ว เพราะตัวไรที่ยังหลงเหลืออยู่จะทำให้กลับมาเป็นใหม่ได้อีก ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์พบว่า หลายๆรายที่กลับมาเป็นใหม่มักต้องการระยะเวลาในการรักษาที่นานขึ้น เพราะตัวไรจะมีความทนต่อยาที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับโรคผิวหนังอื่นๆ ถ้ามีการการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์จะให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ในสุนัขที่เป็นแบบเป็นทั่วทั้งตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์มีความเห็นว่าควรที่จะได้รับการทำหมัน เพื่อลดปัจจัยที่เหนี่ยวนำให้เกิดโรค ได้แก่ความเครียดจากวงรอบการเป็นสัด และลดการแพร่กระจายไปตามสายพันธุ์ โดยเฉพาะในกลุ่มพันธุ์แท้
ในรายที่เป็นแบบเฉพาะที่ ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม มักมีการพยากรณ์โรคที่ดี แต่ถ้าโรคเริ่มรุนแรงขึ้น การพยากรณ์โรคจะแย่ลงตามอาการที่เป็นมากขึ้น ในรายที่เป็นแบบเป็นทั่วทั้งตัวบางราย มักมีการกลับมาเป็นใหม่หลังการรักษา ซึ่งต้องการการตรวจ และทำการรักษาเพื่อควบคุมโรคเป็นระยะๆตลอดชีวิต แต่ในรายที่เหลือสามารถหายขาดได้เมื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ในสุนัขที่เป็นขี้เรื้อนรูขุมขนทุกตัว ต้องได้รับการดูแลที่ดี และปลอดความเครียดให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ อาทิเช่น ให้อาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนและสมดุล ได้รับการถ่ายพยาธิ ป้องกันพยาธิหัวใจ ป้องกันและกำจัดเห็บหมัด ตรวจเช็คร่างกายเป็นระยะ และได้รับโปรแกรมวัคซีนที่เหมาะสม เป็นต้น
Labels:
ขี้เรื้อน,
โรคขี้เรื้อนเปียก,
โรคขี้เรื้อนรูขุมขน,
โรคผิวหนัง,
สุนัข,
หมา
Subscribe to:
Posts (Atom)