แนะนำคลินิก

ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง เป็นส่วนหนึ่งของคลินิกบ้านรักสัตว์ ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการบำบัดรักษาโรคผิวหนังสัตว์ ตั้งแต่ระดับเบื้องต้น จนถึงระดับการตรวจรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน รวมทั้ง ยังให้บริการรับส่งต่อเพื่อการตรวจรักษาต่อเนื่องในรายที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังที่มีความยุ่งยากซับซ้อนจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่นอีกด้วย

ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง ดำเนินการตรวจ และรักษาโดย “น.สพ. รังสรรค์ สกุลพลอย สพ.บ. Cert Vet Dermatology”

การ บริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะให้บริการด้านโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง แบบครบวงจร ตั้งแต่โรคผิวหนังเบื้องต้น เช่นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือปรสิต จนถึงโรคที่ต้องการ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งหรือเนื้องอกของผิวหนัง โรคผิวหนังที่เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนหรือระบบภูมิค้มกัน รวมถึงโรคติดเชื้อของผิวหนัง หูอักเสบ โรคของเท้าที่เป็นๆหายๆ หรือไม่ยอมหายขาด

ขั้นตอนการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะกระทำในแนวทางเดียวกับที่กระทำกันในประเทศออสเตรเลีย โดยจะเน้นไปที่การเจาะลึกไปถึงสาเหตุของโรคทั้ง สาเหตุหลัก และสาเหตุที่ซ่อนอยู่ควบคู่ไปกับการรักษา เพื่อให้เกิดประสิทธิการรักษาที่สูงที่สุด มีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด รวมทั้งประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด




การบริการของเรา

การบริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยงประกอบด้วย

· การตรวจทางเซลล์วิทยา (Cytology)
· การตรวจเชื้อรา โดยวิธี KOH preparation, Wood’s lamp examination, และ Fungal Culture
· การทดสอบการแพ้น้ำลายหมัด (Flea bite hypersensitivity testing)
· การทดสอบการเกิดโรคผิวหนังเนื่อง จากอาหาร (Adverse food reaction testing)
· การทดสอบการเกิดปฏิกิริยากับสาร ภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergen Testing)
· การตัดชิ้นเนื้อของผิวหนังที่มี ปัญหา เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา (Skin Biopsy for Dermatohistopathology)
· การทดสอบระดับฮอร์โมน เพื่อการวินิจฉัยโรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน (Hormonal Assay for Skin disease due to Endocrinopathy)
· การรักษาโรคภูมิแพ้ โดยการ Immunotherapy
· การตรวจโรคหู โดยการทำ Otoscopic examination
· การรักษาโรคหูอักเสบ โดยการทำ Ear Flushing technique



ที่ตั้งคลินิก

66/36 หมู่บ้านนิศาชล ซ. บางแวก79 ถ. บางแวก (จรัลฯ13)
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160

โทร. 064-253-5695

มือถือ 064-253-5695 (เปิดเครื่องรับสาย 8.00 น. - 20.00น.)

E-mail: allergyvet@yahoo.com

LINE : allergyskinvet

Facebook: facebook.com/allergyskinvet และ http://www.facebook.com/allergydermvet

พิกัด GPS : 13.741167,100.422598 (บนแผนที่ของ Google)

แผนที่ของคลิินิก: ให้ ก็อปปี้ "13.741167,100.422598" แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก

จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่

สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'

การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ

ติดต่อกับผมได้ที่โทร 064-253-5695

LINE : allergyskinvet และที่

Facebook: http://www.facebook.com/allergyskinvet

และ http://www.facebook.com/allergydermvet ครับ

เวลาทำการ

อาทิตย์ 13.00-20.30น.

จันทร์-ศุกร์ 11.00-14.00น. และ 17.00-20.30 น. (ช่วงโรงเรียนเปิดเทอม หมอต้องออกไปรับลูก)


เสาร์ เฉพาะนัดล่วงหน้าเท่านั้น (ถ้าไม่มีใครนัด หมอขอปิดทำการ เพื่อพาลูกไปเที่ยว)


เนื่องจาก ปัจจุบันเจ้าของสัตว์หลายๆรายจะอยู่ไกลจากคลินิกมาก ประกอบกับช่วงนี้ตัวหมอเองมีความจำเป็นบางอย่าง ที่อาจจำเป็นต้องปิดทำการเพื่อออกไปทำธุระ

จึงใคร่ขอรบกวนให้ช่วยโทรนัดล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่มาแล้วเสียเที่ยว

ทางคลินิกต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้




ติดต่อกับผมได้ที่โทร 064-253-5695

LINE : allergyskinvet และที่

Facebook: http://www.facebook.com/allergyskinvet

และ http://www.facebook.com/allergydermvet ครับ

ราคาค่าบริการสำหรับการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง

ราคาค่าบริการสำหรับโรคผิวหนังทั่วไป และโรคภูมิแพ้
+ค่าตรวจ + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่าตรวจเพิ่มเติมที่อาจจำเป็น จะแจ้งราคาให้ทราบเมื่อจำเป็นต้องทำการตรวจ
+ค่ายารักษา ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว


ค่าใช้จ่ายสำหรับโรคขี้เรื้อนรูขุมขน (สุนัขน้ำหนักตัวไม่เกิน 16 กิโลกรัม)

+ค่าตรวจทั่วไป + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่ายาที่ใช้รักษา 1,200 บาทต่อ 1 เดือน
+ค่ายาอื่นๆที่อาจต้องใช้ ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว

สำหรับท่านที่ไม่ชอบพกเงินสด 😀😀 ตอนนี้ทางคลินิกได้เพิ่มช่องทางการชำระเงินโดยใช้ การโอนเงินผ่าน Promtpay, การใช้ QR Code (ไม่ค่าโอนถ้าใช้บัญชี Promptpay) และรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต(คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตร 3%) ได้แล้วครับ 😁😁

เส้นทางมาที่คลินิก



คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 66/36 หมู่บ้านนิศาชล ซ. บางแวก79 ถ. บางแวก (จรัลฯ13)
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160

การเดินทางมาที่คลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะสามารถมาได้หลายทาง โดยถ้ามาจาก ถ.กาญจนาภิเษก ให้เลี้ยวเข้า ถ.จรัลฯ 13(บางแวก) มุ่งหน้าไปทาง ถ.จรัลสนิทวงศ์ วิ่งตามทางมาเรื่อยๆ จะเห็นซุ้มประตูวัดมะพร้าวเตี้ยอยู่ด้านซ้าย ให้วิ่งตามทางมาเรื่อยๆจะเห็นหมู่บ้านศุภาลัยอยู่ด้านขวา จะเห็นตึกแถวของหมู่บ้านนิศาชลอยู่ติดกับหมู่บ้านศุภาลัย ให้เลี้ยวขวาเข้าซอยบางแวก79 (ซอยหมู่บ้านนิศาชล) จะเห็นเซเว่นฯ อยู่ปากปากซอย (ทางเข้าหมู่บ้าน) แล้วเตรียมชิดซ้ายหาที่จอดรถ จะเห็นป้าย “คลินิกบ้านรักสัตว์” อยู่ด้านซ้าย สามารถจอดรถได้ที่หน้าคลินิก



ถ้ามาจาก ถ.ราชพฤกษ์ ถ.พุทธมณฑลสาย1 ถ.จรัลสนิทวงศ์ หรือ ถ.เพชรเกษม48 ให้เลี้ยวเข้า ถ.จรัลฯ 13 (บางแวก) มุ่งหน้าไปทาง ถ.กาญจนาภิเษก วิ่งตามทางมาเรื่อยๆจนข้ามสะพานข้ามคลองราชมนตรี ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยบางแวก79 (ซอยหมู่บ้านนิศาชล) จะเห็นเซเว่นฯ อยู่ปากปากซอย (ทางเข้าหมู่บ้าน) แล้วเตรียมชิดซ้ายหาที่จอดรถ จะเห็นป้าย “คลินิกบ้านรักสัตว์” อยู่ด้านซ้าย สามารถจอดรถได้ที่หน้าคลินิก


พิกัด GPS : 13.741167,100.422598 (บนแผนที่ของ Google)

แผนที่ของคลินิก: ให้ ก็อปปี้ 13.741167,100.422598 แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก

จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่

สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'



การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ

การเตรียมตัวพาสัตว์เลี้ยงเพื่อรับการตรวจโรคผิวหนังกับทางคลินิกบ้านรักสัตว์

เพื่อที่จะเป็นการประหยัดเวลา และลดการใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องมีแก่เจ้าของสัตว์ป่วย

* คนที่พาสุนัขมารับการตรวจ และรักษา ควรเป็นเจ้าของสัตว์ป่วย หรือผู้ที่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการการยอมรับการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เนื่องจากโรคผิวหนังมัก ใช้ระยะเวลาในการรักษาที่นาน มักต้องการการตรวจหลายครั้ง และต้องการการสื่อสารที่ดี เพื่อการอธิบายถึงปัญหาต่างๆของตัวโรค และแผนการรักษาที่ชัดเจน และไม่คลุมเคลือ

* กรุณาอย่าให้คนอื่น หรือคนรับใช้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เป็นคนพามาตรวจ และรับการรักษาแทน เพื่อป้องกันความผิดพลาดเนื่องจาก การสื่อสาร

* งดอาบน้ำสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย

* งดทำความสะอาดหูสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย

*กรุณาอย่าใช้ยาทาที่เป็นสีต่างๆ ซึ่งล้างออกยาก เช่น ยาม่วง ยาเหลือง ยาแดง เนื่องยากลุ่มนี้จะบังแผล แผลรอยโรคต่างๆ และรบกวนการย้อมสีตัวอย่าง

* ถ้ามียาที่ต้องให้กิน หรือฉีดที่ต้องใช้อยู่ ณ เวลาที่ต้องการพามาตรวจ (ซึ่งได้รับมาจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่น) กรุณาอย่างดยา และแจ้งให้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ทราบทุกครั้ง

*สำหรับในกรณีที่พาแมวมา กรุณาใส่กรง หรือตระกร้าที่ปิดล๊อคได้มา เพื่อความปลอดภัยของแมว และตัวเจ้าของแมวเอง

* ควรโทรนัดล่วงหน้า


*ควรให้เวลากับทางคลินิก 1-2 ชั่วโมงเพื่อ การตรวจ รักษา และให้คำแนะนำได้เต็มที่

* เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ท่านเจ้าของสัตว์ป่วย กรุณากรอกแบบสอบถามโดยการคลิกที่ Label ทางด้านขวา หรือดาวน์โหลดได้จาก

https://docs.google.com/document/d/1u2LAH4cKOLi6Pvrdp5Bzyaq49q4OWS9-smhix7oKoNc/edit

โดยให้ Save เป็นไฟล์ของ Word แล้วกรอกแบบสอบถาม จากนั้นสามารถส่งได้โดยการปริ๊นท์ออกมาแล้วนำมาพร้อมกับสัตว์เลี้ยง หรือส่งมาทาง email หรืออัปโหลดขึ้น google docs แล้วแจ้งลิงค์มาทาง

http://www.facebook.com/Allergyskinvet หรือ http://www.facebook.com/allergydermvet ก็ได้

การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ

Thursday, August 26, 2010

โรคผิวหนังประจำพันธุ์ที่สำคัญของสุนัขและแมว

สุนัข และแมวของใครชอบโรคใหนเป็นพิเศษ ลองดูพอเป็นน้ำจิ้มก็พอนะครับ อย่าคิดมาก แค่เป็นการสำรวจทางระบาดวิทยาของพวกฝรั่งเขาเท่านั้น

Afghan Hound --> Hypothyroidism

Akita --> Hypothyroidism, Pemphigus, Post-clipping alopecia, Sebaceous adenitis, Uveo-dermatological syndrome (Vogt-Koyanagi-Harada (VKH))

Alaskan Malamute --> Eosinophilic granuloma แถวปาก, Post-clipping alopecia, Wooly syndrome, Zinc-responsive dermatopathy

Basset Hound --> Hair follicle tumors, Malassezia dermatitis

Boxer --> Atopy, Demodicosis, Mast cell tumor, Flank alopecia, Nodular dermatofibrosis, Pattern baldness, Urticaria

Bullmastiff --> Callus & interdigital pyoderma, Otitis externa, Recurrent staphylococcal pyoderma

Bull Terrier -->Demodicosis (severe, chronic), Lethal acrodermatitis, Solar dermatitis and furunculosis (white), Tail chasing and mutilation (colored)

Chihuahua-->Pattern baldness, Pinnal vasculopathy

Chinese Shar-Pei-->Atopy, Cutaneous mucinosis, Demodicosis, Fold dermatitis, Food allergy, Histiocytomas (multiple), Hypothyroidism, Idiopathic seborrhea, IgAd deficiency, Otitis externa, Pemphigus, Shar pei fever, Staphylococcal folliculitis

Chow Chow-->Alopecia X, Atopy, Demodicosis, Food allergy, Hypothyroidism, Pemphigus, Post-clipping alopecia

Cocker Spaniel--> Hypothyroidism, Lip fold dermatitis, Otitis, Primary seborrhea oleosa, Sebaceous nodular hyperplasia, Vitamin-A responsive seborrhea

Collie-->Discoid lupus erythematosus (DLE), Dermatomyositis, Systemic lupus erythematosus (SLE), Ulcerative dermatosis of collies and shelties

Dachshund--> Acanthosis nigricans, Color dilution alopecia, Ear margin seborrhea, Interdigital dermatitis, Juvenile cellulitis, Malassezia dermatitis, Pemphigus foliaceus, Pattern baldness, Pituitary-dependent hyperadrenocorticism (PDH), Pinnal vasculopathy, Recurrent staphylococcal pyoderma, Sterile nodular panniculitis

Dalmatian--> Actinic dermatitis, Atopy, Black spot necrosis, Food allergy, Recurrent staphylococcal pyoderma, Squamous cell carcinoma

Doberman--> Acral lick dermatitis, Canine acne, Color dilution alopecia, Flank sucking, Hypothyroidism, Ichthyosis, Sulfonamide hypersensitivity, Vitiligo

English Bulldog--> Atopy, Demodicosis, Flank alopecia, Fold and interdigital dermatitis

French Bulldog--> Flank alopecia

German Shepherd Dog--> Calcinosis circumscripta, Familial cutaneous vasculopathy, Focal metatarsal fistulate, Food allergy, German shepherd pyoderma, Lupoid onychodystrophy, Nodular dermatofibrosis, Perianal fistula

Golden Retriever--> Acral lick dermatitis, Atopy, Histiocytosis, Hot spots, Hypothyroidism, Ichthyosis, Juvenile cellulitis, Nodular dermatofibrosis

Great Dane--> Acral lick dermatitis, Calcinosis circumscripta, Callus, chin & interdigital pyoderma

Greyhound--> Actinic dermatitis, Actinic hemangioma, Alabama rot, Androgen-withdrawal alopecia, Color dilution alopecia, Pattern baldness

Himalayan--> Dermatophytosis, Granulomatous dermatophytosis, Ehlers-Danlos syndrome

Irish Setter--> Acral lick dermatitis, Atopy, Hypothyroidism, Ichthyosis, Recurrent staphylococcal pyoderma

Italian Greyhound--> Actinic dermatitis, Actinic hemangiomas, Color dilution alopecia, Pattern baldness

Jack Russell Terrier--> Atopy, Familial vasculitis, Ichthyosis

Labrador Retriever--> Acral lick dermatitis, Food allergy, Interdigital furunculosis, Juvenile cellulitis, Lipomas, Malassezia dermatitis, Mast cell tumor

Lhasa Apso--> Atopy, Malassezia dermatitis, Sebaceous adenitis

Miniature Pinscher--> Pattern baldness

Persian--> Dermatophytosis, Granulomatous dermatophytosis, Dirty face syndrome, Seborrhea (greasy cat syndrome)

Pit Bull - White--> Actinic dermatitis with furunculosis, Squamous cell carcinoma, Demodicosis, Interdigital furunculosis, Lick granuloma

Pomeranian--> Alopecia X, Malassezia dermatitis

Rottweiler--> Callus and interdigital pyoderma, Ichthyosis, Lupoid onychodystrophy, Vitiligo

Schnauzer (All Sizes)--> Atopy, Aurotrichia (Mini), Flank alopecia, Schnauzer comedone syndrome

Scottish Terrier--> Atopy, Nasal vasculopathy

Shetland Sheepdog--> Dermatomyositis, Ulcerative dermatosis of collies and shelties

Shih Tzu--> Atopy, Malassezia dermatitis, Traction alopecia

Siamese--> Pinnal alopecia, Psychogenic alopecia, Histiocytic mast cell tumor, Vitiligo

Siberian Husky--> Alopecia X, Eosinophilic granuloma (oral), Post-clipping alopecia, Zinc-responsive dermatopathy, Wooly syndrome

West Highland White Terrier--> Atopy, Ichthyosis, Malassezia dermatitis, Primary seborrhea (epidermal dysplasia)

Yorkshire Terrier--> Atopy, Color dilution alopecia, Dermatophytosis, Melanoderma and alopecia, Traction alopecia, Short hair syndrome

กลิ่นตุๆของเจ้าตูบ

กลิ่นตุๆของเจ้าตูบ เกิดจากหลายๆสาเหตุทั้งจากโดยธรรมชาติ (ปกติ) และจากความผิดปกติต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปกลิ่นตัธรรมชาติมักจะไม่รุนแรง แต่กลิ่นตัวที่เกิดจากความผิดปกติของตัวสุนัขมักจะรุนแรง

กลิ่นตัวตามธรรมชาติ

โดยทั่วไปสุนัขปกติจะมีการหลั่งสารบางอย่างเพื่อแสดงตัวตน ซึ่งเทียบได้กับบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง แต่กลิ่นของสารเหล่านี้บางครั้งก็สร้างความไม่ประทับใจให้คนหลายๆคน กลิ่นของสารเหล่านี้จะพบมากแถวรอบๆรูทวารหนัก รูหู และฝ่าเท้า เพราะผิวหนังบริเวณนี้มีต่อมที่สร้างสารเหล่านี้อยู่ค่อนข้างมาก

ต่อมต่างๆที่สร้างกลิ่นของผิวหนังสุนัข หรือต่อมเหงื่อของสุนัข หรือ apocrine glands จะไม่มีการสร้างเหงื่อเพื่อทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายเหมือนในคน แต่จะทำหน้าที่สร้างและหลั่งสารฟีโรโมน เพื่อใช้ในการสื่อสารกับสุนัขตัวอื่น อย่างไรก็ตาม สุนัขก็มีต่อมเหงื่อจริงๆเหมือนกันซึ่งเราเรียกว่า eccrine glands โดยจะพบได้ที่ฝ่าเท้าและจมูก ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนังส่วนนี้ ที่ฝ่าเท้า จุลชีพที่อาศัยอยู่ที่ชั้นผิวจะสร้างกลิ่นคล้ายชีสต์ ซึ่งจะได้กลิ่นชัดเจนกว่าในสุนัขที่ฝ่าเท้าชุ่มชื้นมากกว่าพวกฝ่าเท้าแห้ง

นอกจากนี้ สุนัขยังมีต่อมต่างๆมากมายในผิวหนังของรูหูชั้นนอก ได้แก่ ต่อมขี้หู (ceruminous glands) และต่อมไขมัน(sebaceous glands) ซึ่งสร้างขี้หูและแวกซ์ พวกจุลชีพที่อาศัยอยู่ที่นี่ สร้างกลิ่นหืนแบบอ่อนๆในสภาวะปกติ

สุนัข ก็เป็นเฉกเช่นสัตว์กินเนื้อทั่วไป จะมีต่อมข้างก้นอยู่ 2 ต่อมข้างๆทวารหนัก ซึ่งต่อมนี้จะปล่อยอ่อนๆ ถึงเหม็นอย่างรุนแรง ปกติต่อมนี้จะปล่อยกลิ่นติดออกมากับอุจจาระ แต่จะปล่อยกิ่นที่รุนแรงในปริมาณมากๆเวลาตกใจ หรือกลัวมากๆ ทนักสัตววิทยาเชื่อว่าสุนัขปล่อยกลิ่นนี้เพื่อเตือนสุนัขตัวอื่นๆ หรือแสดงตัวตนเวลาออกนอกพื้นที่ของตนเอง โดยให้ตัวอื่นมาดมก้น

แหล่งกำเนิดกลิ่นตัวอีกแหล่งมาจากตัวพฤติกรรมของสุนัขเอง สุนัขบางตัวชอบเอาตัวกลิ้ง หรือถูไปบนกลิ่นบางอย่างที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของตัวสุนัข เช่น เศษอุจจาระของเหยื่อ โดยเฉพาะอุจจาระกระต่าย เราเชื่อว่าพฤติกรรมนี้น่าจะเป็นพฤติกรรมรวมฝูงที่ได้รับถ่ายทอดมาจากสุนัขป่าซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมัน

กลิ่นตัวที่เกิดจากความผิดปกติของตัวสุนัข หรือกลิ่นผิดธรรมชาติ

ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มักได้ยินคำบ่นของกลิ่นชนิดนี้จากเจ้าของสัตว์เลี้ยง (ทั้งที่รูตัว และไม่รู้ตัวว่า สุนัขของตนมีความผิดปกติบางอย่างอยู่ โดยเฉพาะโรคผิวหนัง) ที่มาใช้บริการว่าสุนัขของตนกิ่นตัวแรง อาบน้ำเท่าไรก็ไม่หาย หรืออาบน้ำไปแป๊บเดียวก็เหม็นอีกแล้ว แหล่งที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวที่เกิดจากความผิดปกติของตัวสุนัข หรือกลิ่นผิดธรรมชาติ ได้แก่

* การดูแลขนที่ไม่ถูกวิธี หรือการดูแลขนที่ไม่ดี พบได้บ่อยในสุนัขขนยาว หนา หยิก หรือแน่น ขนที่ไม่ค่อยได้แปรงและทำความสะอาด หรือได้รับการดูแลที่ผิดวิธี จะเป็นตัวที่เก็บฝุ่น หรือสิ่งสกปรกซึ่งทำให้การสะสมกลิ่นตามมา ซึ่งถ้าทิ้งไว้นานๆ จะทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย และยีสต์ซึ่งทำให้กลิ่นรุนแรงขึ้น การป้องกันการเกิดกลิ่นชนิดนี้ทำได้โดยการดูแลขนที่ถูกวิธี ซึ่งสัตวแพทย์ และช่างตัดขนสุนัขระดับโปรสามารถให้ความรู้เกี่ยวการดูแลขนที่ถูกวิธีได้ ส่วนการแก้ไขสามารถทำได้โดยการพาสุนัขของท่านไปอาบน้ำ และไถขนทิ้งทั้งตัว แล้วพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจดูว่ามีปัญหาโรคผิวหนังหรือมีความผิดปกติอื่นๆหรือไม่ ถ้ามีก็ให้ทำการรักษา ถ้าไม่มี หรือแน่ใจ100% ว่าไม่มีปัญหา ให้ลองใช้วิธีการดับกลิ่นที่เขียนอยู่ในเวปนี้ (ถ้าไม่มั่นใจ 100% ก็ไม่ควรเสี่ยง)

* โรคผิวหนัง เป็นตัวสำคัญตัวหลักที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว โรคผิวหนังทุกโรคมักทำให้เกิดกลิ่นตัว โดยเฉพาะโรคผิวหนังที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ ซึ่งมันจะทำให้ผิวหนังมีความชื้นมากกว่าปกติ หรือภาษาของหมอสาขาโรคผิวหนังเรียกว่าภาวะhyperhidrosis ซึ่งนอกจากมันทำให้เกิดกลิ่นแล้ว hyperhidrosisยังทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์ตามมา ซึ่งทำให้กลิ่นตัวรุนแรงขึ้นอีก เพราะว่าโดยทั่วไปการติดเชื้อ แบคทีเรีย หรือยีสต์ที่ผิวหนัง ก็ทำให้เกิดกลิ่นตัวที่รุนแรงอยู่แล้ว สุนัขที่มีปัญหาเรื่องรังแค ผิวหนังมัน ถึงมันเยิ้ม ตกสะเก็ด หรือรอยย่นในพวกพันธ์หน้าย่น เช่นปั๊ก หรือบุลดอก มักจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์ได้ง่าย ซึ่งกลิ่นก็จะเกิดตามมาได้ง่ายเช่นกัน กำจัดกลิ่นจะทำได็ก้ต่อเมื่อได้ทำการรักษาโรคผิวหนังจนหายดีแล้วเท่านั้น

* โรคหูอักเสบ ทั้งจากโรคภูมิแพ้ และหูน้ำหนวก ก็เป็นตัวสำคัญตัวหลักอีกตัวที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว กลิ่นของหูอักเสบจะคล้ายกับกลิ่นของโรคผิวหนัง แต่กลิ่นของหูหำหนวกในหลายๆรายที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ทำการรักษา จะมีกลิ่นเหม็นเน่า กำจัดกลิ่นจะทำได็ก้ต่อเมื่อได้ทำการรักษาโรคหูอักเสบจนหายดีแล้วเท่านั้น

* ต่อมข้างก้นอักเสบ ก็เป็นตัวการทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์เช่นกัน โดยจะมีกลิ่นเหม็นเหมือนขนมปังขึ้นรา แต่กลิ่นแรงจนเตะจมูก

* โรคของปากและฟัน จะทำให้มีน้ำลายมากกว่าปกติ ซึ่งจะให้มีกลิ่นลมหายใจที่รุนแรง การเกิดหินปูนในช่องปากจะทำให้มีการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดกลิ่นปากอีกเช่นกัน นอกจากนี้ การที่น้ำลายไหลเยิ้มของจากปาก ยังอาจทำให้เกิดการติดเชื้อของผิวหนังรอบๆช่องปาก ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นที่รุนแรงขึ้น

* ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะบางตัว คลอเฮกซิดีน หรือยาที่มีองค์ประกอบของกำมถัน อาจมีไม่ชวนดมสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง และมักจะติดกลิ่นของยาไปกับสัตว์เลี้ยงเมื่อใช้ยา เช่นกันกับอาหารประเภทปลา หรือน้ำมันปลาก็อาจทำให้กลิ่นปลาติดไปกับตัวสัตว์เลี้ยง ซึ่งอาจทำให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงบางคนเช่นตัวผู้เขียนเองรู้สึกไม่ค่อยดีได้เช่นกัน

* การเรอ หรือผายลมเนื่องจากมีก๊าซในทางเดินอาหารที่มากเกินไป เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า กลิ่นเหล่านี้ไม่ชวนดม ต้นตอของก๊าซในทางเดินอาหารนั้นมาจากอาหารบางชนิดเช่นธัญพืชที่ผสมอยู่ในอาหารสำเร็จรูป หรือโรคในทางเดินอาหารบางโรคเช่น การแพ้อาหาร เป็นต้น

ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน Muller & Kirk's Small Animal Dermatology 6th Edition เขียนโดยปรมาจารย์ด้านโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง 3 ท่านคือ Danny W. Scott, William H. Miller, Jr และ Craig E Griffin

Monday, August 2, 2010

น้ำมันเครื่อง กับโรคผิวหนังของสุนัข

จากการสังเกตุของคลินิกบ้านรักสัตว์ สุนัขที่เป็นโรคผิวหนัง แล้วมีการใช้น้ำมันเครื่องโชลมเพื่อการรักษาโรคผิวหนัง ก่อนหน้าที่จะมาที่คลินิกบ้านรักสัตว์ จะพบว่าผิวหนังของสุนัขเมื่อได้สัมผัสกับน้ำมันเครื่อง จะเกิดปื้นแดงที่บริเวณที่สัมผัส (ในกรณีไม่รุนแรง) ถึงอาจถูกทำลาย (ในกรณีที่รุนแรง) นอกจากนี้ ในตำราพิษวิทยาส่วนใหญ่จะเขียนไว้ว่า สารไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในน้ำมันเครื่อง สามารถซึมผ่านผิวหนัง เข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรุนแรง จนอาจช็อค หรือตายได้ นอกจากนี้ ในกรณีที่สุนัขเลียน้ำมันเครื่องเข้าไปในปาก อาจให้เกิดการสำลักอาเจียนเข้าปอด ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบ หรือเสียหายของเนื้อปอดได้ รวมถึงน้ำมันเครื่องที่เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าทางใด จะทำให้ตับ และไตเสียหายได้

ดังนั้น อย่าแนะนำให้ใช้หรือใช้น้ำมันเครื่องรักษาโรคผิวหนังสุนัข ยกเว้นว่าคุณสามารถรับผิดชอบกับผลที่ตามมาทั้งหมดได้

ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ไม่เชื่อว่ายาวิเศษที่รักษาได้ทุกโรคจะมีจริงในโลก ยาวิเศษที่รักษาได้ทุกโรคตำหรับของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)คือ การตรวจวินิฉัยที่แม่นยำ ร่วมกับแผนการรักษาที่รัดกุมเท่านั้น