อาการของการแพ้น้ำลายหมัด
สุนัขที่มีปัญหาการแพ้น้ำลายหมัด เกิดได้จากการที่หมัดกัดที่ผิวหนังของสุนัขแล้วฉีดน้ำลายเข้าไปในผิวหนังของสุนัข แล้วเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ตามมา ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าสุนัขหลายๆตัวสามารถแสดงอาการของการแพ้น้ำลายหมัดได้ถึงแม้ว่าจะได้การโปรแกรมการควบคุมหมัดแล้วก็ตาม เมื่อสุนัขที่มีปัญหาการแพ้น้ำลายหมัดถูกหมัดกัดที่ผิวหนังของสุนัขแล้วฉีดน้ำลายเข้าไปในผิวหนังของสุนัข ตัวสุนัขจะแสดงอาการการแพ้ออกมา โดยจะแแสดงอาการคันถึงแม้ว่าจะถูกหมัดเพียงตัว หรือสองตัวกัดก็ตาม นอกจากนี้สุนัขหรือแมวส่วนใหญ่มักแสดงอาการคันหลังจากถูกหมัดกัดแล้วอย่างน้อย 3 วัน จึงอาจกล่าวได้ว่า ถึงแม้จะไม่เห็นตัวหมัด ก็อย่าคิดว่าอาการคันในสุนัขของคุณไม่ได้เกิดจากการแพ้น้ำลายหมัด
จากการสังเกตูของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าอาการที่บ่งชี้ว่าสุนัขน่าจะแพ้น้ำลายหมัดได้แก่ มีตุ่มขึ้น ซึ่งตุ่มนี้มักเกิดหลังจากถูกหมัดกัดแล้ว 3 วัน และจะคงอยู่ได้หลายวัน จากนั้นจะมีสะเก็ดปกคลุมถ้าไม่ถูกเกาจนถลอกก่อน เกาคันโดยมักพบแถวสะโพก ผิวหนังแดง และมีรอยถลอก มี Hot spots ขนร่วง ผิวหนังหนาตัวและเปลี่ยนสี แต่ก็มีในหลายๆตัวไม่แสดงอาการเหมือนกับที่กล่าวมาข้างต้น แต่กลับแสดงอาการคล้ายกับอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนังแทน
สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่เวบเพจของ “คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)” หวังว่าทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมคงได้รับประโยชน์จากเวบเพจนี้
แนะนำคลินิก
ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง เป็นส่วนหนึ่งของคลินิกบ้านรักสัตว์ ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการบำบัดรักษาโรคผิวหนังสัตว์ ตั้งแต่ระดับเบื้องต้น จนถึงระดับการตรวจรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน รวมทั้ง ยังให้บริการรับส่งต่อเพื่อการตรวจรักษาต่อเนื่องในรายที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังที่มีความยุ่งยากซับซ้อนจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่นอีกด้วย
ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง ดำเนินการตรวจ และรักษาโดย “น.สพ. รังสรรค์ สกุลพลอย สพ.บ. Cert Vet Dermatology”
การ บริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะให้บริการด้านโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง แบบครบวงจร ตั้งแต่โรคผิวหนังเบื้องต้น เช่นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือปรสิต จนถึงโรคที่ต้องการ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งหรือเนื้องอกของผิวหนัง โรคผิวหนังที่เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนหรือระบบภูมิค้มกัน รวมถึงโรคติดเชื้อของผิวหนัง หูอักเสบ โรคของเท้าที่เป็นๆหายๆ หรือไม่ยอมหายขาด
ขั้นตอนการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะกระทำในแนวทางเดียวกับที่กระทำกันในประเทศออสเตรเลีย โดยจะเน้นไปที่การเจาะลึกไปถึงสาเหตุของโรคทั้ง สาเหตุหลัก และสาเหตุที่ซ่อนอยู่ควบคู่ไปกับการรักษา เพื่อให้เกิดประสิทธิการรักษาที่สูงที่สุด มีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด รวมทั้งประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด
ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง ดำเนินการตรวจ และรักษาโดย “น.สพ. รังสรรค์ สกุลพลอย สพ.บ. Cert Vet Dermatology”
การ บริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะให้บริการด้านโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง แบบครบวงจร ตั้งแต่โรคผิวหนังเบื้องต้น เช่นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือปรสิต จนถึงโรคที่ต้องการ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งหรือเนื้องอกของผิวหนัง โรคผิวหนังที่เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนหรือระบบภูมิค้มกัน รวมถึงโรคติดเชื้อของผิวหนัง หูอักเสบ โรคของเท้าที่เป็นๆหายๆ หรือไม่ยอมหายขาด
ขั้นตอนการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะกระทำในแนวทางเดียวกับที่กระทำกันในประเทศออสเตรเลีย โดยจะเน้นไปที่การเจาะลึกไปถึงสาเหตุของโรคทั้ง สาเหตุหลัก และสาเหตุที่ซ่อนอยู่ควบคู่ไปกับการรักษา เพื่อให้เกิดประสิทธิการรักษาที่สูงที่สุด มีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด รวมทั้งประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด
การบริการของเรา
การบริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยงประกอบด้วย
· การตรวจทางเซลล์วิทยา (Cytology)
· การตรวจเชื้อรา โดยวิธี KOH preparation, Wood’s lamp examination, และ Fungal Culture
· การทดสอบการแพ้น้ำลายหมัด (Flea bite hypersensitivity testing)
· การทดสอบการเกิดโรคผิวหนังเนื่อง จากอาหาร (Adverse food reaction testing)
· การทดสอบการเกิดปฏิกิริยากับสาร ภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergen Testing)
· การตัดชิ้นเนื้อของผิวหนังที่มี ปัญหา เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา (Skin Biopsy for Dermatohistopathology)
· การทดสอบระดับฮอร์โมน เพื่อการวินิจฉัยโรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน (Hormonal Assay for Skin disease due to Endocrinopathy)
· การรักษาโรคภูมิแพ้ โดยการ Immunotherapy
· การตรวจโรคหู โดยการทำ Otoscopic examination
· การรักษาโรคหูอักเสบ โดยการทำ Ear Flushing technique
· การตรวจทางเซลล์วิทยา (Cytology)
· การตรวจเชื้อรา โดยวิธี KOH preparation, Wood’s lamp examination, และ Fungal Culture
· การทดสอบการแพ้น้ำลายหมัด (Flea bite hypersensitivity testing)
· การทดสอบการเกิดโรคผิวหนังเนื่อง จากอาหาร (Adverse food reaction testing)
· การทดสอบการเกิดปฏิกิริยากับสาร ภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergen Testing)
· การตัดชิ้นเนื้อของผิวหนังที่มี ปัญหา เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา (Skin Biopsy for Dermatohistopathology)
· การทดสอบระดับฮอร์โมน เพื่อการวินิจฉัยโรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน (Hormonal Assay for Skin disease due to Endocrinopathy)
· การรักษาโรคภูมิแพ้ โดยการ Immunotherapy
· การตรวจโรคหู โดยการทำ Otoscopic examination
· การรักษาโรคหูอักเสบ โดยการทำ Ear Flushing technique
ที่ตั้งคลินิก
66/36 หมู่บ้านนิศาชล ซ. บางแวก79 ถ. บางแวก (จรัลฯ13)
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160
โทร. 064-253-5695
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160
โทร. 064-253-5695
มือถือ 064-253-5695 (เปิดเครื่องรับสาย 8.00 น. - 20.00น.)
E-mail: allergyvet@yahoo.com
LINE : allergyskinvet
Facebook: facebook.com/allergyskinvet และ http://www.facebook.com/allergydermvet
พิกัด GPS : 13.741167,100.422598 (บนแผนที่ของ Google)
แผนที่ของคลิินิก: ให้ ก็อปปี้ "13.741167,100.422598" แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก
จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่
สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'
แผนที่ของคลิินิก: ให้ ก็อปปี้ "13.741167,100.422598" แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก
จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่
สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'
การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ
ติดต่อกับผมได้ที่โทร 064-253-5695
LINE : allergyskinvet และที่
Facebook: http://www.facebook.com/allergyskinvet
และ http://www.facebook.com/allergydermvet ครับ
เวลาทำการ
อาทิตย์ 13.00-20.30น.
จันทร์-ศุกร์ 11.00-14.00น. และ 17.00-20.30 น. (ช่วงโรงเรียนเปิดเทอม หมอต้องออกไปรับลูก)
เสาร์ เฉพาะนัดล่วงหน้าเท่านั้น (ถ้าไม่มีใครนัด หมอขอปิดทำการ เพื่อพาลูกไปเที่ยว)
เนื่องจาก ปัจจุบันเจ้าของสัตว์หลายๆรายจะอยู่ไกลจากคลินิกมาก ประกอบกับช่วงนี้ตัวหมอเองมีความจำเป็นบางอย่าง ที่อาจจำเป็นต้องปิดทำการเพื่อออกไปทำธุระ
จึงใคร่ขอรบกวนให้ช่วยโทรนัดล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่มาแล้วเสียเที่ยว
ทางคลินิกต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้
จันทร์-ศุกร์ 11.00-14.00น. และ 17.00-20.30 น. (ช่วงโรงเรียนเปิดเทอม หมอต้องออกไปรับลูก)
เสาร์ เฉพาะนัดล่วงหน้าเท่านั้น (ถ้าไม่มีใครนัด หมอขอปิดทำการ เพื่อพาลูกไปเที่ยว)
เนื่องจาก ปัจจุบันเจ้าของสัตว์หลายๆรายจะอยู่ไกลจากคลินิกมาก ประกอบกับช่วงนี้ตัวหมอเองมีความจำเป็นบางอย่าง ที่อาจจำเป็นต้องปิดทำการเพื่อออกไปทำธุระ
จึงใคร่ขอรบกวนให้ช่วยโทรนัดล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่มาแล้วเสียเที่ยว
ทางคลินิกต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้
ติดต่อกับผมได้ที่โทร 064-253-5695
LINE : allergyskinvet และที่
Facebook: http://www.facebook.com/allergyskinvet
และ http://www.facebook.com/allergydermvet ครับ
ราคาค่าบริการสำหรับการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง
ราคาค่าบริการสำหรับโรคผิวหนังทั่วไป และโรคภูมิแพ้
+ค่าตรวจ + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่าตรวจ + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่าตรวจเพิ่มเติมที่อาจจำเป็น จะแจ้งราคาให้ทราบเมื่อจำเป็นต้องทำการตรวจ
+ค่ายารักษา ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว
ค่าใช้จ่ายสำหรับโรคขี้เรื้อนรูขุมขน (สุนัขน้ำหนักตัวไม่เกิน 16 กิโลกรัม)
+ค่าตรวจทั่วไป + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่ายาที่ใช้รักษา 1,200 บาทต่อ 1 เดือน
+ค่ายาอื่นๆที่อาจต้องใช้ ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว
+ค่ายารักษา ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว
ค่าใช้จ่ายสำหรับโรคขี้เรื้อนรูขุมขน (สุนัขน้ำหนักตัวไม่เกิน 16 กิโลกรัม)
+ค่าตรวจทั่วไป + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่ายาที่ใช้รักษา 1,200 บาทต่อ 1 เดือน
+ค่ายาอื่นๆที่อาจต้องใช้ ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว
สำหรับท่านที่ไม่ชอบพกเงินสด 😀😀 ตอนนี้ทางคลินิกได้เพิ่มช่องทางการชำระเงินโดยใช้ การโอนเงินผ่าน Promtpay, การใช้ QR Code (ไม่ค่าโอนถ้าใช้บัญชี Promptpay) และรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต(คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตร 3%) ได้แล้วครับ 😁😁
เส้นทางมาที่คลินิก
คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 66/36 หมู่บ้านนิศาชล ซ. บางแวก79 ถ. บางแวก (จรัลฯ13)
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160
การเดินทางมาที่คลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะสามารถมาได้หลายทาง โดยถ้ามาจาก ถ.กาญจนาภิเษก ให้เลี้ยวเข้า ถ.จรัลฯ 13(บางแวก) มุ่งหน้าไปทาง ถ.จรัลสนิทวงศ์ วิ่งตามทางมาเรื่อยๆ จะเห็นซุ้มประตูวัดมะพร้าวเตี้ยอยู่ด้านซ้าย ให้วิ่งตามทางมาเรื่อยๆจะเห็นหมู่บ้านศุภาลัยอยู่ด้านขวา จะเห็นตึกแถวของหมู่บ้านนิศาชลอยู่ติดกับหมู่บ้านศุภาลัย ให้เลี้ยวขวาเข้าซอยบางแวก79 (ซอยหมู่บ้านนิศาชล) จะเห็นเซเว่นฯ อยู่ปากปากซอย (ทางเข้าหมู่บ้าน) แล้วเตรียมชิดซ้ายหาที่จอดรถ จะเห็นป้าย “คลินิกบ้านรักสัตว์” อยู่ด้านซ้าย สามารถจอดรถได้ที่หน้าคลินิก
ถ้ามาจาก ถ.ราชพฤกษ์ ถ.พุทธมณฑลสาย1 ถ.จรัลสนิทวงศ์ หรือ ถ.เพชรเกษม48 ให้เลี้ยวเข้า ถ.จรัลฯ 13 (บางแวก) มุ่งหน้าไปทาง ถ.กาญจนาภิเษก วิ่งตามทางมาเรื่อยๆจนข้ามสะพานข้ามคลองราชมนตรี ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยบางแวก79 (ซอยหมู่บ้านนิศาชล) จะเห็นเซเว่นฯ อยู่ปากปากซอย (ทางเข้าหมู่บ้าน) แล้วเตรียมชิดซ้ายหาที่จอดรถ จะเห็นป้าย “คลินิกบ้านรักสัตว์” อยู่ด้านซ้าย สามารถจอดรถได้ที่หน้าคลินิก
พิกัด GPS : 13.741167,100.422598 (บนแผนที่ของ Google)
แผนที่ของคลินิก: ให้ ก็อปปี้ 13.741167,100.422598 แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก
จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่
สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'
การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ
การเตรียมตัวพาสัตว์เลี้ยงเพื่อรับการตรวจโรคผิวหนังกับทางคลินิกบ้านรักสัตว์
เพื่อที่จะเป็นการประหยัดเวลา และลดการใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องมีแก่เจ้าของสัตว์ป่วย
* คนที่พาสุนัขมารับการตรวจ และรักษา ควรเป็นเจ้าของสัตว์ป่วย หรือผู้ที่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการการยอมรับการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เนื่องจากโรคผิวหนังมัก ใช้ระยะเวลาในการรักษาที่นาน มักต้องการการตรวจหลายครั้ง และต้องการการสื่อสารที่ดี เพื่อการอธิบายถึงปัญหาต่างๆของตัวโรค และแผนการรักษาที่ชัดเจน และไม่คลุมเคลือ
* กรุณาอย่าให้คนอื่น หรือคนรับใช้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เป็นคนพามาตรวจ และรับการรักษาแทน เพื่อป้องกันความผิดพลาดเนื่องจาก การสื่อสาร
* งดอาบน้ำสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย
* งดทำความสะอาดหูสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย
*กรุณาอย่าใช้ยาทาที่เป็นสีต่างๆ ซึ่งล้างออกยาก เช่น ยาม่วง ยาเหลือง ยาแดง เนื่องยากลุ่มนี้จะบังแผล แผลรอยโรคต่างๆ และรบกวนการย้อมสีตัวอย่าง
* ถ้ามียาที่ต้องให้กิน หรือฉีดที่ต้องใช้อยู่ ณ เวลาที่ต้องการพามาตรวจ (ซึ่งได้รับมาจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่น) กรุณาอย่างดยา และแจ้งให้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ทราบทุกครั้ง
*สำหรับในกรณีที่พาแมวมา กรุณาใส่กรง หรือตระกร้าที่ปิดล๊อคได้มา เพื่อความปลอดภัยของแมว และตัวเจ้าของแมวเอง
* ควรโทรนัดล่วงหน้า
*ควรให้เวลากับทางคลินิก 1-2 ชั่วโมงเพื่อ การตรวจ รักษา และให้คำแนะนำได้เต็มที่
* เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ท่านเจ้าของสัตว์ป่วย กรุณากรอกแบบสอบถามโดยการคลิกที่ Label ทางด้านขวา หรือดาวน์โหลดได้จาก
https://docs.google.com/document/d/1u2LAH4cKOLi6Pvrdp5Bzyaq49q4OWS9-smhix7oKoNc/edit
โดยให้ Save เป็นไฟล์ของ Word แล้วกรอกแบบสอบถาม จากนั้นสามารถส่งได้โดยการปริ๊นท์ออกมาแล้วนำมาพร้อมกับสัตว์เลี้ยง หรือส่งมาทาง email หรืออัปโหลดขึ้น google docs แล้วแจ้งลิงค์มาทาง
http://www.facebook.com/Allergyskinvet หรือ http://www.facebook.com/allergydermvet ก็ได้
การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ
* คนที่พาสุนัขมารับการตรวจ และรักษา ควรเป็นเจ้าของสัตว์ป่วย หรือผู้ที่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการการยอมรับการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เนื่องจากโรคผิวหนังมัก ใช้ระยะเวลาในการรักษาที่นาน มักต้องการการตรวจหลายครั้ง และต้องการการสื่อสารที่ดี เพื่อการอธิบายถึงปัญหาต่างๆของตัวโรค และแผนการรักษาที่ชัดเจน และไม่คลุมเคลือ
* กรุณาอย่าให้คนอื่น หรือคนรับใช้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เป็นคนพามาตรวจ และรับการรักษาแทน เพื่อป้องกันความผิดพลาดเนื่องจาก การสื่อสาร
* งดอาบน้ำสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย
* งดทำความสะอาดหูสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย
*กรุณาอย่าใช้ยาทาที่เป็นสีต่างๆ ซึ่งล้างออกยาก เช่น ยาม่วง ยาเหลือง ยาแดง เนื่องยากลุ่มนี้จะบังแผล แผลรอยโรคต่างๆ และรบกวนการย้อมสีตัวอย่าง
* ถ้ามียาที่ต้องให้กิน หรือฉีดที่ต้องใช้อยู่ ณ เวลาที่ต้องการพามาตรวจ (ซึ่งได้รับมาจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่น) กรุณาอย่างดยา และแจ้งให้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ทราบทุกครั้ง
*สำหรับในกรณีที่พาแมวมา กรุณาใส่กรง หรือตระกร้าที่ปิดล๊อคได้มา เพื่อความปลอดภัยของแมว และตัวเจ้าของแมวเอง
* ควรโทรนัดล่วงหน้า
*ควรให้เวลากับทางคลินิก 1-2 ชั่วโมงเพื่อ การตรวจ รักษา และให้คำแนะนำได้เต็มที่
* เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ท่านเจ้าของสัตว์ป่วย กรุณากรอกแบบสอบถามโดยการคลิกที่ Label ทางด้านขวา หรือดาวน์โหลดได้จาก
https://docs.google.com/document/d/1u2LAH4cKOLi6Pvrdp5Bzyaq49q4OWS9-smhix7oKoNc/edit
โดยให้ Save เป็นไฟล์ของ Word แล้วกรอกแบบสอบถาม จากนั้นสามารถส่งได้โดยการปริ๊นท์ออกมาแล้วนำมาพร้อมกับสัตว์เลี้ยง หรือส่งมาทาง email หรืออัปโหลดขึ้น google docs แล้วแจ้งลิงค์มาทาง
http://www.facebook.com/Allergyskinvet หรือ http://www.facebook.com/allergydermvet ก็ได้
การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ
Sunday, July 17, 2011
อาการของโรคหิดสุนัข (scabies)
อาการของโรคหิดสุนัข (scabies)
โรคหิดสุนัข (scabies) หรือโรคขี้เรื้อนซาร์คอปติค (Sarcoptic mange) หรือบางคนเรียกว่าขี้เรื้อนแห้ง เป็นโรคผิวหนังที่ติดต่อกันได้ง่าย และสามารถติดคนได้ เกิดการที่ตัวไรหิดฝังตัวเข้าไปในผิวหนัง แล้วทำให้เกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรงจนในบางตัวถึงขนาดที่เรียกว่าคันจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มีความเห็นว่าอาการน่าสงสัยว่าสุนัขเป็นโรคหิดสุนัขได้แก่ อาการเกาคันอย่างรุนแรง มีรอยถลอกหรือเลือดออกตรงบริเวณที่คัน ขนร่วง
โรคนี้สามารถติดคนได้ ถ้าเจ้าของมีเม็ดตุ่มแดงๆ และคันอย่างรุนแรง ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำควรพาสุนัขไปรับการตรวจจากสัตวแพทย์ และตัวเจ้าของควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
โรคหิดสุนัข (scabies) หรือโรคขี้เรื้อนซาร์คอปติค (Sarcoptic mange) หรือบางคนเรียกว่าขี้เรื้อนแห้ง เป็นโรคผิวหนังที่ติดต่อกันได้ง่าย และสามารถติดคนได้ เกิดการที่ตัวไรหิดฝังตัวเข้าไปในผิวหนัง แล้วทำให้เกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรงจนในบางตัวถึงขนาดที่เรียกว่าคันจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มีความเห็นว่าอาการน่าสงสัยว่าสุนัขเป็นโรคหิดสุนัขได้แก่ อาการเกาคันอย่างรุนแรง มีรอยถลอกหรือเลือดออกตรงบริเวณที่คัน ขนร่วง
โรคนี้สามารถติดคนได้ ถ้าเจ้าของมีเม็ดตุ่มแดงๆ และคันอย่างรุนแรง ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำควรพาสุนัขไปรับการตรวจจากสัตวแพทย์ และตัวเจ้าของควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
Labels:
ขี้เรื้อน,
ขี้เรื้อนแห้ง,
คัน,
แมว,
โรคผิวหนัง,
สุนัข
Wednesday, July 6, 2011
อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis)
อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis)
โรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis)ในสุนัข หรือชื่อเดิมคือโรคแพ้อากาศในสุนัข จะเหมือนกับโรคในคนที่เรียกว่าeczema จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข ในประเทศที่เจริญแล้ว หรือในกลุ่มสุนัขที่มีสุขอนามัยที่ดี จะพบได้ร้อยละ10 ส่วนใหญ่เกิดจากการที่สุนัขของคุณไวต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศเช่น ไรฝุ่น เกสร สปอร์ แต่ในปัจจุบันทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) เริ่มพบว่าสารก่อภูมิแพ้ในอาหารก็สามารถทำให้เกิดโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis)ในสุนัขได้เช่นกัน
อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis) ที่พบได้บ่อยๆได้แก่ คัน ผิวหนังแดง ขนหลุดร่วง ผื่นหรือตุ่มขึ้น ผิวหนังหนาตัวหรืออาจมีการเปลี่ยนสีของผิวหนัง
จะเห็นได้ว่าอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis) จะเหมือนกับอาการของการแพ้อาหาร ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะวินิจฉัยโรคนี้โดยการดูอาการและคาดเดา ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มีความเห็นว่าการวินิจฉัยโรคนี้ที่แม่นยำที่สุดคือการใช้ Favrot's Diagnisis Citeria for Atopic Dermatitis ร่วมกับการใช้โปรแกรม Allergy diagnostic work up เท่านั้น
โรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis)ในสุนัข หรือชื่อเดิมคือโรคแพ้อากาศในสุนัข จะเหมือนกับโรคในคนที่เรียกว่าeczema จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข ในประเทศที่เจริญแล้ว หรือในกลุ่มสุนัขที่มีสุขอนามัยที่ดี จะพบได้ร้อยละ10 ส่วนใหญ่เกิดจากการที่สุนัขของคุณไวต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศเช่น ไรฝุ่น เกสร สปอร์ แต่ในปัจจุบันทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) เริ่มพบว่าสารก่อภูมิแพ้ในอาหารก็สามารถทำให้เกิดโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis)ในสุนัขได้เช่นกัน
อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis) ที่พบได้บ่อยๆได้แก่ คัน ผิวหนังแดง ขนหลุดร่วง ผื่นหรือตุ่มขึ้น ผิวหนังหนาตัวหรืออาจมีการเปลี่ยนสีของผิวหนัง
จะเห็นได้ว่าอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis) จะเหมือนกับอาการของการแพ้อาหาร ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะวินิจฉัยโรคนี้โดยการดูอาการและคาดเดา ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มีความเห็นว่าการวินิจฉัยโรคนี้ที่แม่นยำที่สุดคือการใช้ Favrot's Diagnisis Citeria for Atopic Dermatitis ร่วมกับการใช้โปรแกรม Allergy diagnostic work up เท่านั้น
อาการของโรคขี้เรื้อนรูขุมขน (Demodicosis)
อาการของโรคขี้เรื้อนรูขุมขน (Demodicosis)
โรคขี้เรื้อนรูขุมขน หรือโรคขี้เรื้อนดีโมเดกซ์ หรือหลายๆคนเรียกว่า ขี้เรื้อนเปียก เกิดจากการเพิ่มจำนวนตัวไรดีโมเดกซ์ในรูขุมขนอย่างฉับพลันจนเกิดความผิดปกติขึ้นมา ซึ่งอาการบ่งบอกว่าสงสัยจะเป็นโรคนี้คือ ขนร่วงโดยเฉพาะแถวหน้า รอบตา ขา และหลัง มีเม็ดตุ่มกระจาย
ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ไม่ค่อยพบว่าโรคนี้ทำให้เกิดอาการคัน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าอาการคันที่เกิดจากการติดตัวไรดีโมเดกซ์ชนิดคอร์นีไอในสุนัข หรือการติดตัวไรดีโมเดกซ์ชนิดกาโตไอในแมว หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ในลูกสุนัขที่เป็นแค่บริเวณเล็กๆที่ไม่ใช่ที่เท้า ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)พบว่ามากกว่าครึ่งสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่ในกรณีที่เป็นที่ฝ่าเท้า หรือกระจายทั่วตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าต้องรีบทำการรักษาก่อนที่เป็นหนักขึ้นจนไม่มีทางรักษา
สำหรับสุนัขที่เริ่มเป็นโรคนี้หลังจากอายุมากกว่า 1 ปี ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าต้องตรวจหาสาเหตุโน้มนำด้วย เพราะว่าถ้าไม่แก้ไขที่ตัวสาเหตุโน้มนำควบคู่กับการรักษาโรคขี้เรื้อนรูขุมขน มักพบว่าการรักษาโรคขี้เรื้อนรูขุมขนไม่ประสบความสำเร็จ และสาเหตุโน้มนำหลายๆตัวก็มักเป็นโรคร้ายแรงถึงตายได้
โรคขี้เรื้อนรูขุมขน หรือโรคขี้เรื้อนดีโมเดกซ์ หรือหลายๆคนเรียกว่า ขี้เรื้อนเปียก เกิดจากการเพิ่มจำนวนตัวไรดีโมเดกซ์ในรูขุมขนอย่างฉับพลันจนเกิดความผิดปกติขึ้นมา ซึ่งอาการบ่งบอกว่าสงสัยจะเป็นโรคนี้คือ ขนร่วงโดยเฉพาะแถวหน้า รอบตา ขา และหลัง มีเม็ดตุ่มกระจาย
ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ไม่ค่อยพบว่าโรคนี้ทำให้เกิดอาการคัน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าอาการคันที่เกิดจากการติดตัวไรดีโมเดกซ์ชนิดคอร์นีไอในสุนัข หรือการติดตัวไรดีโมเดกซ์ชนิดกาโตไอในแมว หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ในลูกสุนัขที่เป็นแค่บริเวณเล็กๆที่ไม่ใช่ที่เท้า ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)พบว่ามากกว่าครึ่งสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่ในกรณีที่เป็นที่ฝ่าเท้า หรือกระจายทั่วตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าต้องรีบทำการรักษาก่อนที่เป็นหนักขึ้นจนไม่มีทางรักษา
สำหรับสุนัขที่เริ่มเป็นโรคนี้หลังจากอายุมากกว่า 1 ปี ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าต้องตรวจหาสาเหตุโน้มนำด้วย เพราะว่าถ้าไม่แก้ไขที่ตัวสาเหตุโน้มนำควบคู่กับการรักษาโรคขี้เรื้อนรูขุมขน มักพบว่าการรักษาโรคขี้เรื้อนรูขุมขนไม่ประสบความสำเร็จ และสาเหตุโน้มนำหลายๆตัวก็มักเป็นโรคร้ายแรงถึงตายได้
Labels:
แมว,
โรคขี้เรื้อนเปียก,
โรคขี้เรื้อนรูขุมขน,
โรคผิวหนัง,
สุนัข,
หมา
Sunday, June 26, 2011
อาการของการแพ้อาหาร
อาการของการแพ้อาหาร
ในกรณีที่สุนัขของคุณไวต่อองค์ประกอบตัวใดตัวหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งชนิดที่มีอยู่ในอาหารที่กินเข้าไป หรือพูดง่ายๆว่าสุนัขตัวนั้นๆแพ้อาหาร โดยทั่วไปแล้วสุนัขจะแสดงอาการต่อไปนี้ คัน ผิวหนังแดง ขนหลุดร่วง ผื่นหรือตุ่มขึ้น อาจมีอาการของทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่นอาเจียน ท้องเสีย หรือตดบ่อย บางตัวอาจมีการเปี่ยนแปลงแต่ลักษณะของอุจจาระร่วมกับความผิดปกติที่ผิวหนังเท่านั้น
บางตัวอาจแสดงอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis) ซึ่งจะเหมือนกับอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis) ที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกจากกันได้โดยการดูอาการและคาดเดา ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มีความเห็นว่าต้องใช้วิธีการทดสอบการแพ้อาหารที่ถูกหลัก ร่วมกับการใช้โปรแกรม Allergy diagnostic work up ช่วยเท่านั้น จึงสามารถแยกแยะและวินิจฉัยได้
ในกรณีที่สุนัขของคุณไวต่อองค์ประกอบตัวใดตัวหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งชนิดที่มีอยู่ในอาหารที่กินเข้าไป หรือพูดง่ายๆว่าสุนัขตัวนั้นๆแพ้อาหาร โดยทั่วไปแล้วสุนัขจะแสดงอาการต่อไปนี้ คัน ผิวหนังแดง ขนหลุดร่วง ผื่นหรือตุ่มขึ้น อาจมีอาการของทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่นอาเจียน ท้องเสีย หรือตดบ่อย บางตัวอาจมีการเปี่ยนแปลงแต่ลักษณะของอุจจาระร่วมกับความผิดปกติที่ผิวหนังเท่านั้น
บางตัวอาจแสดงอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis) ซึ่งจะเหมือนกับอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ของผิวหนัง (atopic dermatitis) ที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกจากกันได้โดยการดูอาการและคาดเดา ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มีความเห็นว่าต้องใช้วิธีการทดสอบการแพ้อาหารที่ถูกหลัก ร่วมกับการใช้โปรแกรม Allergy diagnostic work up ช่วยเท่านั้น จึงสามารถแยกแยะและวินิจฉัยได้
Labels:
โรคผิวหนัง,
โรคภูมิแพ้,
สุนัข,
อาการของโรคผิวหนัง และหูอักเสบ
ระดับความคันของสุนัข (Canine Itch Scale)
ระดับความคันของสุนัข (Canine Itch Scale)
ระดับความคันของสุนัข (Canine Itch Scale)ของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ดัดแปลงจาก Client Itch Grading Scale โดย Peter B Hill และคณะ ซึ่งมีไว้เพื่อเป็นแนวทางให้เจ้าของสุนัขประเมินอาการคันด้วยตนเองที่บ้านโดยจะให้เจ้าของสุนัขประเมินทุกสัปดาห์ ซึ่งหลังจากเจ้าของประเมินแล้วแนะนำให้บันทึกผลไว้ แล้วนำบันทึกนี้มาที่คลินิกในการนัดหมายครั้งต่อไปเพื่อที่ทางทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)จะได้ปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับตัวสุนัขยิ่งขึ้น การประเมินระดับความคันของสุนัขนอกจากช่วยให้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ทราบถึงระดับความรุนแรงของความคันแล้ว ยังช่วยใหนการวินิจฉัย และวางแผนหรือปรับแผนการรักษาอีกด้วย
ความคันของสุนัขในที่นี้รวมถึง การเกา แทะตามตัว การเลียตัว และการเอาตัวไปถูกับที่ต่างๆ โดยแต่ละระดับเป็นดังนี้:
ระดับ 0 (Grade 0): สุนัขปกติ หรือสุนัขไม่ได้คัน หรือเกามากกว่าตอนก่อนมีปัญหาโรคผิวหนัง (Normal dog: dog does not itch more then before the disease began).
ระดับ 1 (Grade 1): มีอาการเกาคันให้เห็นบ้าง ซึ่งอาจมากกว่าตอนก่อนมีปัญหาโรคผิวหนังนิดหน่อย ถ้าไม่เป็นคนช่างสังเกตุอาจคิดว่าปกติดี (Occasional episodes of itching: small increase in itch compared with before the disease began.)
ระดับ 2 (Grade 2): มีอาการเกาคันให้เห็นชัดเจน แต่อาการเกาคันจะหายไปในตอนหลับ กินอาหาร เล่น ออกกำลัง หรือถ้ามีอะไรไปรบกวนการเกาคัน เช่นการดุ ตะคอก หรือการแหย่ (More frequent episodes of itching but itching stops when dog is sleeping, eating, playing, exercising or is otherwise distracted.) ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)ขอแนะนำว่าถ้าสุนัขของคุณมีอาการเกาคันในระดับนี้ แปลว่าเขาส่งสัณญานว่า ถ้าพอมีเวลาเจ้าของควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์
ระดับ 3 (Grade 3): มีอาการเกาคันให้เห็นชัดเจนเป็นประจำในตอนที่ยังไม่หลับ อาจมีการสะดุ้งตื่นขึ้นมาเกาให้เห็นบ้าง แต่อาการเกาคันจะหายไปในตอน กินอาหาร เล่น ออกกำลัง หรือถ้ามีอะไรไปรบกวนการเกาคัน เช่นการดุ ตะคอก หรือการแหย่ (Regular episodes of itching are seen when dog is awake. The dog occasionally wakes up because of itching, but the itching stops when the dog is eating, playing, exercising or otherwise distracted.) ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าถ้าสุนัขของคุณมีอาการเกาคันในระดับนี้ แปลว่าเขาส่งสัณญานว่า เจ้าของควรหาเวลาพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ได้แล้ว
ระดับ 4 (Grade 4): มีอาการเกาคันให้เห็นชัดเจนเป็นประจำ และการเกาแต่ละครั้งจะนานขึ้นในตอนที่ยังไม่หลับ มีการสะดุ้งตื่นขึ้นมาเกาให้เห็นบ่อยๆ อาการเกาคันจะยังคงอยู่ในตอนกินอาหาร เล่น ออกกำลัง หรือแม้แต่เวลามีอะไรไปรบกวนการเกาคัน เช่นการดุ ตะคอก หรือการแหย่ (Prolonged episodes of itching are seen when the dog is awake. The dog regularly wakes up because of itching or itches in its sleep. The itching can also be seen when the dog is eating, playing, exercising or otherwise distracted.) ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)ขอแนะนำว่าถ้าสุนัขของคุณมีอาการเกาคันในระดับนี้ แปลว่าเขาส่งสัณญานว่า เจ้าของควรรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ได้แล้ว
ระดับ 5 (Grade 5): เกาคันเกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นตอนหลับ กินอาหาร เล่น ออกกำลัง หรือถ้ามีอะไรไปรบกวนการเกาคัน เช่นการดุ ตะคอก หรือการแหย่ อาการเกาคันนี้ยังคงอยู่แม้แต่จะอยู่ในที่ที่ไม่คุ้นเคย หรือที่ไม่ชอบเช่นในห้องตรวจรักษา หลายๆตัวอาจต้องใส่อุปกรณ์ควบคุมเพื่อไม่ให้เกาในเวลาคัน (Almost continuous itching which does not stop when the dog is distracted, even in the consulting room. The dog needs to be physically restrained from itching.)ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)ขอแนะนำว่าถ้าสุนัขของคุณมีอาการเกาคันในระดับนี้ แปลว่าเขาส่งสัณญานว่า เจ้าของควรรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด
ระดับความคันของสุนัข (Canine Itch Scale)ของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ดัดแปลงจาก Client Itch Grading Scale โดย Peter B Hill และคณะ ซึ่งมีไว้เพื่อเป็นแนวทางให้เจ้าของสุนัขประเมินอาการคันด้วยตนเองที่บ้านโดยจะให้เจ้าของสุนัขประเมินทุกสัปดาห์ ซึ่งหลังจากเจ้าของประเมินแล้วแนะนำให้บันทึกผลไว้ แล้วนำบันทึกนี้มาที่คลินิกในการนัดหมายครั้งต่อไปเพื่อที่ทางทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)จะได้ปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับตัวสุนัขยิ่งขึ้น การประเมินระดับความคันของสุนัขนอกจากช่วยให้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ทราบถึงระดับความรุนแรงของความคันแล้ว ยังช่วยใหนการวินิจฉัย และวางแผนหรือปรับแผนการรักษาอีกด้วย
ความคันของสุนัขในที่นี้รวมถึง การเกา แทะตามตัว การเลียตัว และการเอาตัวไปถูกับที่ต่างๆ โดยแต่ละระดับเป็นดังนี้:
ระดับ 0 (Grade 0): สุนัขปกติ หรือสุนัขไม่ได้คัน หรือเกามากกว่าตอนก่อนมีปัญหาโรคผิวหนัง (Normal dog: dog does not itch more then before the disease began).
ระดับ 1 (Grade 1): มีอาการเกาคันให้เห็นบ้าง ซึ่งอาจมากกว่าตอนก่อนมีปัญหาโรคผิวหนังนิดหน่อย ถ้าไม่เป็นคนช่างสังเกตุอาจคิดว่าปกติดี (Occasional episodes of itching: small increase in itch compared with before the disease began.)
ระดับ 2 (Grade 2): มีอาการเกาคันให้เห็นชัดเจน แต่อาการเกาคันจะหายไปในตอนหลับ กินอาหาร เล่น ออกกำลัง หรือถ้ามีอะไรไปรบกวนการเกาคัน เช่นการดุ ตะคอก หรือการแหย่ (More frequent episodes of itching but itching stops when dog is sleeping, eating, playing, exercising or is otherwise distracted.) ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)ขอแนะนำว่าถ้าสุนัขของคุณมีอาการเกาคันในระดับนี้ แปลว่าเขาส่งสัณญานว่า ถ้าพอมีเวลาเจ้าของควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์
ระดับ 3 (Grade 3): มีอาการเกาคันให้เห็นชัดเจนเป็นประจำในตอนที่ยังไม่หลับ อาจมีการสะดุ้งตื่นขึ้นมาเกาให้เห็นบ้าง แต่อาการเกาคันจะหายไปในตอน กินอาหาร เล่น ออกกำลัง หรือถ้ามีอะไรไปรบกวนการเกาคัน เช่นการดุ ตะคอก หรือการแหย่ (Regular episodes of itching are seen when dog is awake. The dog occasionally wakes up because of itching, but the itching stops when the dog is eating, playing, exercising or otherwise distracted.) ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าถ้าสุนัขของคุณมีอาการเกาคันในระดับนี้ แปลว่าเขาส่งสัณญานว่า เจ้าของควรหาเวลาพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ได้แล้ว
ระดับ 4 (Grade 4): มีอาการเกาคันให้เห็นชัดเจนเป็นประจำ และการเกาแต่ละครั้งจะนานขึ้นในตอนที่ยังไม่หลับ มีการสะดุ้งตื่นขึ้นมาเกาให้เห็นบ่อยๆ อาการเกาคันจะยังคงอยู่ในตอนกินอาหาร เล่น ออกกำลัง หรือแม้แต่เวลามีอะไรไปรบกวนการเกาคัน เช่นการดุ ตะคอก หรือการแหย่ (Prolonged episodes of itching are seen when the dog is awake. The dog regularly wakes up because of itching or itches in its sleep. The itching can also be seen when the dog is eating, playing, exercising or otherwise distracted.) ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)ขอแนะนำว่าถ้าสุนัขของคุณมีอาการเกาคันในระดับนี้ แปลว่าเขาส่งสัณญานว่า เจ้าของควรรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ได้แล้ว
ระดับ 5 (Grade 5): เกาคันเกือบตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นตอนหลับ กินอาหาร เล่น ออกกำลัง หรือถ้ามีอะไรไปรบกวนการเกาคัน เช่นการดุ ตะคอก หรือการแหย่ อาการเกาคันนี้ยังคงอยู่แม้แต่จะอยู่ในที่ที่ไม่คุ้นเคย หรือที่ไม่ชอบเช่นในห้องตรวจรักษา หลายๆตัวอาจต้องใส่อุปกรณ์ควบคุมเพื่อไม่ให้เกาในเวลาคัน (Almost continuous itching which does not stop when the dog is distracted, even in the consulting room. The dog needs to be physically restrained from itching.)ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)ขอแนะนำว่าถ้าสุนัขของคุณมีอาการเกาคันในระดับนี้ แปลว่าเขาส่งสัณญานว่า เจ้าของควรรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด
Labels:
โรคผิวหนัง,
โรคภูมิแพ้,
สุนัข,
อาการของโรคผิวหนัง และหูอักเสบ
Tuesday, May 31, 2011
สเตียรอยด์ กับสัตว์เลี้ยง3 ผลของการใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
สเตียรอยด์ กับสัตว์เลี้ยง3 ผลของการใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
การใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานานๆเพื่อรักษาโรคผิวหนังบางโรค โดยเฉพาะเพื่อการกดอาการคัน ถึงแม้ว่าจะใช้ในขนาดต่ำๆ และให้ในระยะห่างกว่า 48 ชั่วโมง ก็ยังสามารถก่อปัญหาต่อไปนี้ต่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขของคุณ ผลของการใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานานๆที่พบได้เป็นประจำได้แก่
1)ทำให้สัตว์เลี้ยง เข้าสู่ช่วงวัยชราได้เร็วกว่าปกติ และบั่นทอนอายุขัยของสัตว์เลี้ยง --- กล่าวง่ายๆก็คือ แก่เร็ว สังขารเสื่อมเร็ว อายุสั้นหรือตายเร็ว
2)ข้อเสื่อม และเสียหาย
3)บั่นทอนประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกัน ทำให้เจ็บป่วยง่าย
4)กล้ามเนื้ออ่อนแรง
5)ติดเชื้อในระบบขับปัสสาวะ
6)ขนบาง
7)ผิวหนังบางลง
8)ความอึดลดลง
9)กินน้ำมากกว่าปกติ และปัสสาวะมากกว่าปกติ
ถ้าสัตว์เลี้ยงของคุณมีอาการตามที่กล่าวมาตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป และยังคงรับสเตียรอยด์อยู่ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ใคร่ขอแนะนำว่า คุณควรต้องคุยกับสัตวแพทย์ที่คุณใช้บริการ ถึงการใช้วิธีการรักษาวิธีอื่นที่สามารถหลีกเลี่ยง หรือลดการใช้สเตียรอยด์ได้แล้ว
หมายเหตุ โรคบางโรคเช่น โรคของระบบภูมิคุ้มกันบางโรคเช่น Pemphigus หรือมะเร็งบางชนิดเช่น Lymphoma การใช้สเตียรอยด์จะช่วยทำให้ทำให้สัตว์เลี้ยงยืดอายุขัยออกไปได้ หรืออย่างน้อย ก็ทำให้สัตว์ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าการไม่ใช้สเตียรอยด์ ในกรณีนี้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มีความเห็นว่าควรใช้สเตียรอยด์ต่อจนกว่าสัตว์ป่วยจะตายจากไป ถึงแม้ว่าต้องยอมรับผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ก็ตาม
การใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานานๆเพื่อรักษาโรคผิวหนังบางโรค โดยเฉพาะเพื่อการกดอาการคัน ถึงแม้ว่าจะใช้ในขนาดต่ำๆ และให้ในระยะห่างกว่า 48 ชั่วโมง ก็ยังสามารถก่อปัญหาต่อไปนี้ต่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขของคุณ ผลของการใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานานๆที่พบได้เป็นประจำได้แก่
1)ทำให้สัตว์เลี้ยง เข้าสู่ช่วงวัยชราได้เร็วกว่าปกติ และบั่นทอนอายุขัยของสัตว์เลี้ยง --- กล่าวง่ายๆก็คือ แก่เร็ว สังขารเสื่อมเร็ว อายุสั้นหรือตายเร็ว
2)ข้อเสื่อม และเสียหาย
3)บั่นทอนประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกัน ทำให้เจ็บป่วยง่าย
4)กล้ามเนื้ออ่อนแรง
5)ติดเชื้อในระบบขับปัสสาวะ
6)ขนบาง
7)ผิวหนังบางลง
8)ความอึดลดลง
9)กินน้ำมากกว่าปกติ และปัสสาวะมากกว่าปกติ
ถ้าสัตว์เลี้ยงของคุณมีอาการตามที่กล่าวมาตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป และยังคงรับสเตียรอยด์อยู่ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ใคร่ขอแนะนำว่า คุณควรต้องคุยกับสัตวแพทย์ที่คุณใช้บริการ ถึงการใช้วิธีการรักษาวิธีอื่นที่สามารถหลีกเลี่ยง หรือลดการใช้สเตียรอยด์ได้แล้ว
หมายเหตุ โรคบางโรคเช่น โรคของระบบภูมิคุ้มกันบางโรคเช่น Pemphigus หรือมะเร็งบางชนิดเช่น Lymphoma การใช้สเตียรอยด์จะช่วยทำให้ทำให้สัตว์เลี้ยงยืดอายุขัยออกไปได้ หรืออย่างน้อย ก็ทำให้สัตว์ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าการไม่ใช้สเตียรอยด์ ในกรณีนี้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มีความเห็นว่าควรใช้สเตียรอยด์ต่อจนกว่าสัตว์ป่วยจะตายจากไป ถึงแม้ว่าต้องยอมรับผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ก็ตาม
Labels:
คัน,
แมว,
โรคผิวหนัง,
สเตียรอยด์,
สัตว์เลี้ยง,
สุนัข,
หมา
Thursday, May 26, 2011
ข้อที่เจ้าของแมวต้องรู้ในการให้ยา หรือทำการรักษาแมว โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาโรคผิวหนัง
ข้อที่เจ้าของแมวต้องรู้ในการให้ยา หรือทำการรักษาแมว โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาโรคผิวหนัง
ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอให้เจ้าของแมวคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ ก่อนที่จะพาแมวป่วยไปหาหมอที่คุณเลือกใช้บริการ เพื่อที่จะได้แจ้งข้อจำกัดของคุณให้หมอได้รู้ก่อนที่ลงมือทำการตรวจรักษา
1) แมวเป็นสัตว์ที่ --ฉันจะกินอะไรที่ฉันอยากกินเท่านั้น ถ้าไม่มี ฉันยอมอด ในข้อนี้เป็นข้อที่เจ้าของแมวควรรับรู้ เพราะคุณจะได้เจอเวลาที่คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารสูตรที่สำหรับช่วยในการรักษาโรคต่างๆ
2) แมวเป็นสัตว์ที่ --ยังคงมีความเป็นสัตว์ป่าอย่างเต็มตัวอยู่ ถ้าคุณไม่ระวังคุณอาจเจ็บตัวเวลาให้ยาแมว
3) แมวเป็นสัตว์ที่ --ไม่ชอบยาเม็ดที่มีกลิ่น
4) แมวเป็นสัตว์ที่ --ไม่ชอบยาน้ำที่ผสมแอลกอฮอล์ (elixirs)
5) แมวเป็นสัตว์ที่ --ไม่ชอบอาบน้ำ คุณควรคุยกับหมอที่รักษาแมวของคุณถึงวิธีการอาบน้ำแมวให้ดีดี ไม่เช่นนั้นคุณอาจเจ็บตัวเวลาจับแมวอาบน้ำ
6) แมวเป็นสัตว์ที่ --จำไม่มีลืม ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณ สัตวแพทย์ที่คุณใช้บริการ หรือใครก็ตามทำกับแมวของคุณ แมวจะจำไม่มีลืม
7) คุณสามารถสั่งให้สุนัขของคุณทำในสิ่งที่าคุณสั่งได้ แต่ไม่สำหรับแมว แมวจะทำเมื่ออยากทำเท่านั้น
8) แมวก็คือแมว ไม่ใช่สุนัขตัวเล็กๆ ดังนั้นวิธีการต่างๆที่ใช้กับแมว จะต่างกับในสุนัขอย่างสิ้นเชิง
ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอให้เจ้าของแมวคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ ก่อนที่จะพาแมวป่วยไปหาหมอที่คุณเลือกใช้บริการ เพื่อที่จะได้แจ้งข้อจำกัดของคุณให้หมอได้รู้ก่อนที่ลงมือทำการตรวจรักษา
1) แมวเป็นสัตว์ที่ --ฉันจะกินอะไรที่ฉันอยากกินเท่านั้น ถ้าไม่มี ฉันยอมอด ในข้อนี้เป็นข้อที่เจ้าของแมวควรรับรู้ เพราะคุณจะได้เจอเวลาที่คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารสูตรที่สำหรับช่วยในการรักษาโรคต่างๆ
2) แมวเป็นสัตว์ที่ --ยังคงมีความเป็นสัตว์ป่าอย่างเต็มตัวอยู่ ถ้าคุณไม่ระวังคุณอาจเจ็บตัวเวลาให้ยาแมว
3) แมวเป็นสัตว์ที่ --ไม่ชอบยาเม็ดที่มีกลิ่น
4) แมวเป็นสัตว์ที่ --ไม่ชอบยาน้ำที่ผสมแอลกอฮอล์ (elixirs)
5) แมวเป็นสัตว์ที่ --ไม่ชอบอาบน้ำ คุณควรคุยกับหมอที่รักษาแมวของคุณถึงวิธีการอาบน้ำแมวให้ดีดี ไม่เช่นนั้นคุณอาจเจ็บตัวเวลาจับแมวอาบน้ำ
6) แมวเป็นสัตว์ที่ --จำไม่มีลืม ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณ สัตวแพทย์ที่คุณใช้บริการ หรือใครก็ตามทำกับแมวของคุณ แมวจะจำไม่มีลืม
7) คุณสามารถสั่งให้สุนัขของคุณทำในสิ่งที่าคุณสั่งได้ แต่ไม่สำหรับแมว แมวจะทำเมื่ออยากทำเท่านั้น
8) แมวก็คือแมว ไม่ใช่สุนัขตัวเล็กๆ ดังนั้นวิธีการต่างๆที่ใช้กับแมว จะต่างกับในสุนัขอย่างสิ้นเชิง
สเตียรอยด์ กับสัตว์เลี้ยง2 ผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ ในแมว
สเตียรอยด์ กับสัตว์เลี้ยง2 ผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ ในแมว
ผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ ในแมว นอกจากจะเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงการเกิด Cushing's Syndrome แล้วยังทำเกิดภาวะต่อไปนี้
1) โรคเบาหวาน สเตียรอยด์ จะทำให้เกิด feedback mechanism ไปที่ต่อมใต้สมองให้หยุดกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ผลก็คือระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดโรคเบาหวานตามมา นอกจากเบาหวานแล้ว ยังอาจมีโรคอื่นๆเกิดตามมาเช่นภาวะการขาดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์เป็นต้น
2) การเหนี่ยวนำให้เกิดหัวใจทำงานล้มเหลวแบบเรื้อรังจากการใช้สเตียรอยด์ ซึ่ง Smith SA, et al. ได้ทำการสำรวจแมว 271 ตัวที่มีปัญหาหัวใจทำงานล้มเหลวแบบเรื้อรัง พบว่า 29 ตัว (11%)ของแมวกลุ่มนี้เคยได้รับสเตียรอยด์มาประมาณ 90 วันก่อนหน้าที่พบอาการหัวใจทำงานล้มเหลวแบบเรื้อรัง
ผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ ในแมว นอกจากจะเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงการเกิด Cushing's Syndrome แล้วยังทำเกิดภาวะต่อไปนี้
1) โรคเบาหวาน สเตียรอยด์ จะทำให้เกิด feedback mechanism ไปที่ต่อมใต้สมองให้หยุดกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ผลก็คือระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดโรคเบาหวานตามมา นอกจากเบาหวานแล้ว ยังอาจมีโรคอื่นๆเกิดตามมาเช่นภาวะการขาดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์เป็นต้น
2) การเหนี่ยวนำให้เกิดหัวใจทำงานล้มเหลวแบบเรื้อรังจากการใช้สเตียรอยด์ ซึ่ง Smith SA, et al. ได้ทำการสำรวจแมว 271 ตัวที่มีปัญหาหัวใจทำงานล้มเหลวแบบเรื้อรัง พบว่า 29 ตัว (11%)ของแมวกลุ่มนี้เคยได้รับสเตียรอยด์มาประมาณ 90 วันก่อนหน้าที่พบอาการหัวใจทำงานล้มเหลวแบบเรื้อรัง
สเตียรอยด์ กับสัตว์เลี้ยง1 สัตว์เลี้ยงของคุณได้รับสเตียรอยด์โดยการกิน หรือฉีดเพื่อรักษาอาการคันติดต่อกันนานกว่า 14 วันหรือยัง?
สเตียรอยด์ กับสัตว์เลี้ยง1 สัตว์เลี้ยงของคุณได้รับสเตียรอยด์โดยการกิน หรือฉีดเพื่อรักษาอาการคันติดต่อกันนานกว่า 14 วันหรือยัง?
สัตว์เลี้ยงของคุณได้รับสเตียรอยด์โดยการกิน หรือฉีดเพื่อรักษาอาการคันติดต่อกันนานกว่า 14 วันหรือยัง?
ถ้ายัง คุณควรคุยกับหมอเจ้าของไข้ของสัตว์เลี้ยงของคุณ เพื่อขอให้ท่านใช้ในขนาดต่ำๆ (ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) เชื่อว่าหมอส่วนใหญ่มักใช้ขนาดต่ำๆอยู่แล้ว) จนกว่าจะถึง 2 อาทิตย์
ถ้าครบ หรือเกิน 14 วันแล้ว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำทางเลือกต่อไปนี้
1) ถ้าจะยังคงใช้สเตียรอยด์ต่อ ซึ่งทางเลือกนี้ มีราคาต่ำมาก ให้ผลในการลดอาการคันที่รวดเร็ว หวังผลในด้านการกดอาการคันได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งที่ต้องยอบรับถ้าเลือกข้อนี้ได้แก่ โอกาสเกิดผลไม่พึงประสงค์ได้ 60% ซึ่งผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ได้แก่ การติดเชื้อแทรกซ้อน การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงการเกิด Cushing's Syndrome ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอให้คำนึงถึงความเป็นไปได้การลดโอกาสการเกิดผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ หรือวิธีการแก้ไขผลจากการเกิดผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ หรือควรเลือกทางเลือกอื่นที่ไม่ต้องใช้สเตียรอยด์ต่อ
2 ) ถ้าคุณไม่อยากใช้สเตียรอยด์ต่อ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายสัตว์ป่วย และดำเนินการทดสอบต่างๆแบบเจาะลึก เพื่อหาสาเหตุของอาการคัน แล้ววางแผนการรักษาต่อไป ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ชอบทางเลือกนี้มากกว่า ถึงแม้ว่าอาจต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าในระยะแรก และเห็นผลช้ากว่า แต่ว่าสามารถหลีกเลี่ยงผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ได้ดีกว่ามาก
สัตว์เลี้ยงของคุณได้รับสเตียรอยด์โดยการกิน หรือฉีดเพื่อรักษาอาการคันติดต่อกันนานกว่า 14 วันหรือยัง?
ถ้ายัง คุณควรคุยกับหมอเจ้าของไข้ของสัตว์เลี้ยงของคุณ เพื่อขอให้ท่านใช้ในขนาดต่ำๆ (ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) เชื่อว่าหมอส่วนใหญ่มักใช้ขนาดต่ำๆอยู่แล้ว) จนกว่าจะถึง 2 อาทิตย์
ถ้าครบ หรือเกิน 14 วันแล้ว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำทางเลือกต่อไปนี้
1) ถ้าจะยังคงใช้สเตียรอยด์ต่อ ซึ่งทางเลือกนี้ มีราคาต่ำมาก ให้ผลในการลดอาการคันที่รวดเร็ว หวังผลในด้านการกดอาการคันได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งที่ต้องยอบรับถ้าเลือกข้อนี้ได้แก่ โอกาสเกิดผลไม่พึงประสงค์ได้ 60% ซึ่งผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ได้แก่ การติดเชื้อแทรกซ้อน การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงการเกิด Cushing's Syndrome ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอให้คำนึงถึงความเป็นไปได้การลดโอกาสการเกิดผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ หรือวิธีการแก้ไขผลจากการเกิดผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ หรือควรเลือกทางเลือกอื่นที่ไม่ต้องใช้สเตียรอยด์ต่อ
2 ) ถ้าคุณไม่อยากใช้สเตียรอยด์ต่อ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายสัตว์ป่วย และดำเนินการทดสอบต่างๆแบบเจาะลึก เพื่อหาสาเหตุของอาการคัน แล้ววางแผนการรักษาต่อไป ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ชอบทางเลือกนี้มากกว่า ถึงแม้ว่าอาจต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าในระยะแรก และเห็นผลช้ากว่า แต่ว่าสามารถหลีกเลี่ยงผลไม่พึงประสงค์ของการใช้สเตียรอยด์ได้ดีกว่ามาก
Labels:
คัน,
แมว,
โรคผิวหนัง,
โรคภูมิแพ้,
สเตียรอยด์,
สุนัข,
หมา
Friday, May 20, 2011
เรื่องของขน3 ปัญหาขนร่วงของแมว
เรื่องของขน3 ปัญหาขนร่วงของแมว
ขนร่วงในแมว จัดได้ว่าเป็นปัญหาชวนฝันร้ายสำหรับหมอหลายๆท่าน เป็นปัญหาที่ต้องการความร่วมมือร่วมใจจากทั้งตัวแมวเอง หมอที่ทำการรักษา และเจ้าของสัตว์อย่างมากๆ และเช่นเดียวกับสุนัข ปัญหาแมวขนร่วงเต็มบ้าน หรือขนร่วงจนขนบาง หรือโกร๋น เป็นปัญหาที่เจ้าของแมวส่วนใหญ่มักเจอ ซึ่งปัญหานี้นอกจากทำให้รู้สึกน่ารำคาญ จนบางรายอาจเกิดอาการจิตตกสำหรับเจ้าของแมวแล้ว ต้นเหตุที่ทำให้ขนร่วงอาจทำให้ตัวแมวป่วย ได้รับผลกระทบตั้งแต่ไม่มีอะไรเลย จนอาจถึงตายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา กลุ่มออาการขนร่วงแมวมีดังนี้
1)ความผิดปกติแต่กำเนิด ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ แมวพันธุ์สฟิงค์ (Sphinx Cat)
2)ขนร่วงเป็นแห่งๆ (focal alopecia) พบได้บ่อยมาก ตัวการที่เป็นสาเหตุได้แก่ เชื้อราหรือกลากแมว ขี้เรื้อนรูขุมขน ยาฉีดหลายๆชนิด ปฏิกิริยาข้างเคียงต่อยาทาบางชนิดเช่นสเตอรอยด์ รูขุมขนอักเสบ Pseudopelade, Alopecia Areata, Psychogenic Alopecia, Traction เป็นต้น
3) Symetrical Alopecia มี 2 กลุ่ม คือ
3.1)Symetrical Alopecia จากการเกา แทะ ทึ้งขน (self-inflicted hair loss) มักพบว่า เกิดเนื่องจากการเกาคัน จากสาเหตุต่างๆเช่น โรคภูมิแพ้ ขี้เรื้อนหลายๆชนิด การติดเห็บ-หมัด-ไร การติดเชื้อ มะเร็งบางชนิด หรือกลุ่มอาการทางจิตเวช
3.2)Symetrical Alopecia ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกา แทะ ทึ้งขน (self-inflicted hair loss) มักเกิดจากความผิดปกติของรูขุมขน หรือความผิดปกติขององค์ประกอบรอบรูขุมขน หรือ มีการรบกวนวงรอบการผลัดขน โรคในกลุ่มนี้ได้แก่ โรคที่เกิดจากฮอร์โมน การขาดสารอาหารบางชนิด การเหนี่ยวนำของระบบภูมิคุ้มกัน มะเร็งเป็นต้น
เช่นเดียวกับในสุนัขที่มีปัญหาขนบาง หรือขนร่วง ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะทำการแยกให้ออกก่อนว่าเป็นกลุ่มไหนโดยการเช็คจากประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจสภาพขน แล้วค่อยเจาะลึกไปหาสาเหตุ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มั่นใจว่าเป็นวิธีที่ได้ผล ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด และมีโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด
ขนร่วงในแมว จัดได้ว่าเป็นปัญหาชวนฝันร้ายสำหรับหมอหลายๆท่าน เป็นปัญหาที่ต้องการความร่วมมือร่วมใจจากทั้งตัวแมวเอง หมอที่ทำการรักษา และเจ้าของสัตว์อย่างมากๆ และเช่นเดียวกับสุนัข ปัญหาแมวขนร่วงเต็มบ้าน หรือขนร่วงจนขนบาง หรือโกร๋น เป็นปัญหาที่เจ้าของแมวส่วนใหญ่มักเจอ ซึ่งปัญหานี้นอกจากทำให้รู้สึกน่ารำคาญ จนบางรายอาจเกิดอาการจิตตกสำหรับเจ้าของแมวแล้ว ต้นเหตุที่ทำให้ขนร่วงอาจทำให้ตัวแมวป่วย ได้รับผลกระทบตั้งแต่ไม่มีอะไรเลย จนอาจถึงตายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา กลุ่มออาการขนร่วงแมวมีดังนี้
1)ความผิดปกติแต่กำเนิด ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ แมวพันธุ์สฟิงค์ (Sphinx Cat)
2)ขนร่วงเป็นแห่งๆ (focal alopecia) พบได้บ่อยมาก ตัวการที่เป็นสาเหตุได้แก่ เชื้อราหรือกลากแมว ขี้เรื้อนรูขุมขน ยาฉีดหลายๆชนิด ปฏิกิริยาข้างเคียงต่อยาทาบางชนิดเช่นสเตอรอยด์ รูขุมขนอักเสบ Pseudopelade, Alopecia Areata, Psychogenic Alopecia, Traction เป็นต้น
3) Symetrical Alopecia มี 2 กลุ่ม คือ
3.1)Symetrical Alopecia จากการเกา แทะ ทึ้งขน (self-inflicted hair loss) มักพบว่า เกิดเนื่องจากการเกาคัน จากสาเหตุต่างๆเช่น โรคภูมิแพ้ ขี้เรื้อนหลายๆชนิด การติดเห็บ-หมัด-ไร การติดเชื้อ มะเร็งบางชนิด หรือกลุ่มอาการทางจิตเวช
3.2)Symetrical Alopecia ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกา แทะ ทึ้งขน (self-inflicted hair loss) มักเกิดจากความผิดปกติของรูขุมขน หรือความผิดปกติขององค์ประกอบรอบรูขุมขน หรือ มีการรบกวนวงรอบการผลัดขน โรคในกลุ่มนี้ได้แก่ โรคที่เกิดจากฮอร์โมน การขาดสารอาหารบางชนิด การเหนี่ยวนำของระบบภูมิคุ้มกัน มะเร็งเป็นต้น
เช่นเดียวกับในสุนัขที่มีปัญหาขนบาง หรือขนร่วง ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะทำการแยกให้ออกก่อนว่าเป็นกลุ่มไหนโดยการเช็คจากประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจสภาพขน แล้วค่อยเจาะลึกไปหาสาเหตุ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มั่นใจว่าเป็นวิธีที่ได้ผล ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด และมีโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด
เรื่องของขน2 ปัญหาขนร่วงของสุนัข
เรื่องของขน2 ปัญหาขนร่วงของสุนัข
ปัญหาสุนัขขนร่วงเต็มบ้าน หรือขนร่วงจนขนบาง หรือโกร๋น เป็นปัญหาที่เจ้าของสุนัขส่วนใหญ่มักเจอ ซึ่งปัญหานี้นอกจากทำให้รู้สึกน่ารำคาญ จนบางรายอาจเกิดอาการจิตตกสำหรับเจ้าของสุนัขแล้ว ต้นเหตุที่ทำให้ขนร่วงอาจทำให้ตัวสุนัขป่วยได้รับผลกระทบ ตั้งแต่ไม่มีอะไรเลย จนอาจถึงตายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา ตัวการที่ทำให้ขนร่วงมีดังนี้
1) การผลัดขนตามวงรอบ (hair shredding cycle) ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อที่แล้ว
2)ขนหลุดร่วงจากการเกา แทะ ทึ้งขน (self-inflicted hair loss) พบได้บ่อย เกิดเนื่องจากการเกาคัน จากสาเหตุต่างๆเช่น โรคภูมิแพ้ ขี้เรื้อนหลายๆชนิด การติดเห็บ-หมัด-ไร การติดเชื้อ มะเร็งบางชนิด หรือกลุ่มอาการทางจิตเวช
3)ขนร่วงแท้จริง (true alopecia) พบได้ค่อนข้างน้อยกว่าแบบที่แล้ว แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
3.1)ความผิดปกติของรูขุมขน หรือความผิดปกติขององค์ประกอบรอบรูขุมขน อาทิเช่น การติดเชื้อของรูขุมขน การขาดสารอาหารบางชนิด การเหนี่ยวนำของระบบภูมิคุ้มกัน การบาดเจ็บจากการกระทบกระเทือน มะเร็งของรูขุมขน ขี้เรื้อนรูขุมขน ยาหรือวัคซีนเป็นต้น
3.2)มีการรบกวนวงรอบการผลัดขน ได้แก่โรคที่เกิดจากฮอร์โมน
3.3)ความผิดปกติแต่กำเนิด
3.4) คนทำให้เกิด เช่น post-clipping alopecia
ในสุนัขที่มีปัญหาขนบาง หรือขนร่วง ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะทำการแยกให้ออกก่อนว่าเป็นกลุ่มไหนโดยการเช็คจากประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจสภาพขน แล้วค่อยเจาะลึกไปหาสาเหตุ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มั่นใจว่าเป็นวิธีที่ได้ผล ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด และมีโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด
ปัญหาสุนัขขนร่วงเต็มบ้าน หรือขนร่วงจนขนบาง หรือโกร๋น เป็นปัญหาที่เจ้าของสุนัขส่วนใหญ่มักเจอ ซึ่งปัญหานี้นอกจากทำให้รู้สึกน่ารำคาญ จนบางรายอาจเกิดอาการจิตตกสำหรับเจ้าของสุนัขแล้ว ต้นเหตุที่ทำให้ขนร่วงอาจทำให้ตัวสุนัขป่วยได้รับผลกระทบ ตั้งแต่ไม่มีอะไรเลย จนอาจถึงตายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา ตัวการที่ทำให้ขนร่วงมีดังนี้
1) การผลัดขนตามวงรอบ (hair shredding cycle) ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อที่แล้ว
2)ขนหลุดร่วงจากการเกา แทะ ทึ้งขน (self-inflicted hair loss) พบได้บ่อย เกิดเนื่องจากการเกาคัน จากสาเหตุต่างๆเช่น โรคภูมิแพ้ ขี้เรื้อนหลายๆชนิด การติดเห็บ-หมัด-ไร การติดเชื้อ มะเร็งบางชนิด หรือกลุ่มอาการทางจิตเวช
3)ขนร่วงแท้จริง (true alopecia) พบได้ค่อนข้างน้อยกว่าแบบที่แล้ว แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
3.1)ความผิดปกติของรูขุมขน หรือความผิดปกติขององค์ประกอบรอบรูขุมขน อาทิเช่น การติดเชื้อของรูขุมขน การขาดสารอาหารบางชนิด การเหนี่ยวนำของระบบภูมิคุ้มกัน การบาดเจ็บจากการกระทบกระเทือน มะเร็งของรูขุมขน ขี้เรื้อนรูขุมขน ยาหรือวัคซีนเป็นต้น
3.2)มีการรบกวนวงรอบการผลัดขน ได้แก่โรคที่เกิดจากฮอร์โมน
3.3)ความผิดปกติแต่กำเนิด
3.4) คนทำให้เกิด เช่น post-clipping alopecia
ในสุนัขที่มีปัญหาขนบาง หรือขนร่วง ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะทำการแยกให้ออกก่อนว่าเป็นกลุ่มไหนโดยการเช็คจากประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจสภาพขน แล้วค่อยเจาะลึกไปหาสาเหตุ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มั่นใจว่าเป็นวิธีที่ได้ผล ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด และมีโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด
Labels:
ขนร่วง,
เรื่องของขน,
โรคผิวหนัง,
โรคภูมิแพ้,
สุนัข,
หมา
Friday, May 13, 2011
เรื่องของขน1 ความเข้าใจทั่วไป
เรื่องของขน1 ความเข้าใจทั่วไป
ส่วนนี้อาจะไม่เกี่ยวกับโรคผิวหนังเท่าไร แต่อยากแนะนำว่าควรอ่านบทความนี้ก่อนเพื่อที่จะได้เข้าใจในบทความต่อไปได้ง่ายๆ
ขนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ hair shaft (ส่วนที่โผล่จากผิวหนัง) และ root (ส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนัง) และตำแหน่งที่ขนโผล่ขึ้นมาเราเรียกว่า รูขุมขน หรือ hair follicles ซึ่งรูขุมขนจะวางตัวดป็นมุม 30-60 องศากับพื้นผิวของผิวหนัง และทุกรูขุมขนจะลู่ไปทางหาง เพื่อทำให้ไล่น้ำที่เปียกตัวออกไปง่ายขึ้น ใน 1 ปี สุนัขจะสร้างขนประมาณ 60-180 กรัม ส่วนแมวจะอยู่ที่ 30-40 กรัม
ขนจะมีการผลัดเปลี่ยนเป็นวงรอบเรียกว่า Hair Cycle ซึ่งโดยขนจะมีจุดเริ่มต้นของการงอกที่ Hair Bulb ขนจะเจริญขึ้นโดยการดันเซลล์ขนเก่าขึ้นทำให้ขนนั้นยาวขึ้นในอัตรา 0.1 มิลลิเมตรต่อวัน ซึ่งระยะที่ขนมีการเจริญเติบโตนี้เรียกว่า anagen ขนจะยาวจนสุดเท่าที่ไปไหวแล้ว แล้ว Hair Bulb จะแยกตัวโดยขนเก่าจะอยู่ด้านบน เราเรียกช่วงนี้ว่า catagen จากนั้นจะเข้าสู่ระยะพักหรือ telogen
แล้วหลังจากนี้จะวนกับไปที่ anagen โดยขนที่งอกจาก Hair Bulb อันล่าง หรือขนใหม่จะดันขนเก่าขึ้นไปเรื่อยๆจนหลุดออกไป การหลุดขอนเก่าอาจจากการหลุดไปเอง หรือจากการแปรงขน หรือเกา ถูตัวก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อความมยาวของขนได้แก่
1) สายพันธุ์ หรือพันธุกรรม เช่น พูเดิ้ล ขนจนยาวไปเรื่อยๆเป็นเวลา 5 ปีแล้วค่อยหลุด
2)ช่วงแสง เรามักพบว่าสุนัขมักผลัดขนช่วงรอยต่อฤดูร้อนไปหนาว หรือหนาวมาร้อน อย่างก็ตามสัตว์ได้รับแสงต่อเป็นเวลานานๆเช่นพวกที่อยู่ในตัวบ้านแล้วได้รับแสงไฟบ้านในตอนกลางคืนพบว่า มักผัดขนทั้งปี
3)อาหาร
4)โรคต่างๆ
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ตรงโคนรากขนจะยึดกับกล้ามเนื้อที่ชื่อว่า arrector pili ซึ่งถ้ากล้ามเนื้อนี้หดตัวจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ขนลุก" ซึ่งมักเกิดขนหลุดตามมา ถ้าเทียบกับในคนจะเหมือนกับเวลาเจอผี แล้วผมตั้งจากนั้นจะหัวโกร๋นตามมา เพราะว่าเวลาเกิดความตื่นเต้น ตกใจหรือต้องการข่มขวัญ หรือรู้สึกหนาว ร่างกายจะหลั่งอดีนารีนออกมา ซึ่งตัวอดีนารีนจะทำให้ arrector pili หดตัว ผลที่ตามมาคือสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นคำตอบของคำถาม ทำไมสุนัขเวลาขึ้นรถ หรือไปคลินิกที่ไม่ชอบถึงได้ขนร่วงมาก
ขนหนวดของสัตว์ หรือ vibrissae เป็นขนพิเศษทำหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับการสัมผัส มีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงมาก ถ้าตัดที่ขนนี้สัตว์จะแสดงอาการเจ็บปวดมาก เหมือนเวลาตัดเล็บพลาด
ส่วนนี้อาจะไม่เกี่ยวกับโรคผิวหนังเท่าไร แต่อยากแนะนำว่าควรอ่านบทความนี้ก่อนเพื่อที่จะได้เข้าใจในบทความต่อไปได้ง่ายๆ
ขนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ hair shaft (ส่วนที่โผล่จากผิวหนัง) และ root (ส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนัง) และตำแหน่งที่ขนโผล่ขึ้นมาเราเรียกว่า รูขุมขน หรือ hair follicles ซึ่งรูขุมขนจะวางตัวดป็นมุม 30-60 องศากับพื้นผิวของผิวหนัง และทุกรูขุมขนจะลู่ไปทางหาง เพื่อทำให้ไล่น้ำที่เปียกตัวออกไปง่ายขึ้น ใน 1 ปี สุนัขจะสร้างขนประมาณ 60-180 กรัม ส่วนแมวจะอยู่ที่ 30-40 กรัม
ขนจะมีการผลัดเปลี่ยนเป็นวงรอบเรียกว่า Hair Cycle ซึ่งโดยขนจะมีจุดเริ่มต้นของการงอกที่ Hair Bulb ขนจะเจริญขึ้นโดยการดันเซลล์ขนเก่าขึ้นทำให้ขนนั้นยาวขึ้นในอัตรา 0.1 มิลลิเมตรต่อวัน ซึ่งระยะที่ขนมีการเจริญเติบโตนี้เรียกว่า anagen ขนจะยาวจนสุดเท่าที่ไปไหวแล้ว แล้ว Hair Bulb จะแยกตัวโดยขนเก่าจะอยู่ด้านบน เราเรียกช่วงนี้ว่า catagen จากนั้นจะเข้าสู่ระยะพักหรือ telogen
แล้วหลังจากนี้จะวนกับไปที่ anagen โดยขนที่งอกจาก Hair Bulb อันล่าง หรือขนใหม่จะดันขนเก่าขึ้นไปเรื่อยๆจนหลุดออกไป การหลุดขอนเก่าอาจจากการหลุดไปเอง หรือจากการแปรงขน หรือเกา ถูตัวก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อความมยาวของขนได้แก่
1) สายพันธุ์ หรือพันธุกรรม เช่น พูเดิ้ล ขนจนยาวไปเรื่อยๆเป็นเวลา 5 ปีแล้วค่อยหลุด
2)ช่วงแสง เรามักพบว่าสุนัขมักผลัดขนช่วงรอยต่อฤดูร้อนไปหนาว หรือหนาวมาร้อน อย่างก็ตามสัตว์ได้รับแสงต่อเป็นเวลานานๆเช่นพวกที่อยู่ในตัวบ้านแล้วได้รับแสงไฟบ้านในตอนกลางคืนพบว่า มักผัดขนทั้งปี
3)อาหาร
4)โรคต่างๆ
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ตรงโคนรากขนจะยึดกับกล้ามเนื้อที่ชื่อว่า arrector pili ซึ่งถ้ากล้ามเนื้อนี้หดตัวจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ขนลุก" ซึ่งมักเกิดขนหลุดตามมา ถ้าเทียบกับในคนจะเหมือนกับเวลาเจอผี แล้วผมตั้งจากนั้นจะหัวโกร๋นตามมา เพราะว่าเวลาเกิดความตื่นเต้น ตกใจหรือต้องการข่มขวัญ หรือรู้สึกหนาว ร่างกายจะหลั่งอดีนารีนออกมา ซึ่งตัวอดีนารีนจะทำให้ arrector pili หดตัว ผลที่ตามมาคือสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นคำตอบของคำถาม ทำไมสุนัขเวลาขึ้นรถ หรือไปคลินิกที่ไม่ชอบถึงได้ขนร่วงมาก
ขนหนวดของสัตว์ หรือ vibrissae เป็นขนพิเศษทำหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับการสัมผัส มีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงมาก ถ้าตัดที่ขนนี้สัตว์จะแสดงอาการเจ็บปวดมาก เหมือนเวลาตัดเล็บพลาด
Wednesday, May 11, 2011
หูอักเสบ หูน้ำหนวก หรือหูเน่า
หูอักเสบ หูน้ำหนวก หรือหูเน่า
หูอักเสบเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะในสุนัข ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งในความเห็นของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)การรักษาที่มุ่งเน้นไปที่การรักษาแต่ที่หูเพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจองค์รวมของปัญหา มักทำให้ปัญหาหูอักเสบไม่หายขาด ซ้ำร้ายในบางรายอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษาเลย ในกรณีร้ายแรงอาจเกิดสภาวะ calcified ear canal ซึงหมายความว่ารูหูเสียหายอย่างสมบูรณ์อย่างหมดทางแก้ไข สำหรับปัจจัยที่โน้มนำให้เกิดปัญหาหูอักเสบที่พบบ่อยได้แก่
1. กลุ่มโรคภูมิแพ้: มักพบได้บ่อยที่สุดในการเนี่ยวนำให้เกิดหูอักเสบ โดยเฉพาะการแพ้อาหาร หรือการแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ซึ่งในความเห็นของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) เห็นว่าต้องทำการตรวจ และรักษากลุ่มโรคภูมิแพ้ควบคู่ไปด้วย จาการสังเกตุของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าถ้าไม่ควบคุมโรคภูมิแพ้ให้ดี หูอักเสบมักกลับมาเป็นใหม่หลังรักษาหูอักเสบจนหายดีแล้วในไม่เวลาไม่เกิน 2 ปี หรือในหลายๆรายพบว่ารักษาหูอักเสบเท่าไรก็ไม่หายสักทีจนถอดใจเลิกรักษาไปเลย
2. ความไม่สมดุลของฮอร์โมน: ปัญหาความไม่สมดุลของฮอร์โมนมักทำให้เกิดการกดภูมิคุ้มกัน ซึ่งมักทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนที่ผิวหนัง และหู แล้วเกิดปัญหาผิวหนังและหูอักเสบตามมา
3. การติดเชื้อในหูชั้นกลาง: ในกรณีที่หูชั้นนอกอักเสบแล้วลุกลามเข้าไปในชั้นกลาง ถ้าไม่รักษาที่หุชั้นกลางควบคู่ไปด้วย มักพบว่าหูอักเสบมักกลับมาเป็นใหม่หลังรักษาหูอักเสบจนหายดีแล้วในเวลาไม่นาน หรือในหลายๆรายพบว่ารักษาหูอักเสบเท่าไรก็ไม่หายสักทีจนถอดใจเลิกรักษาไปเลย อย่างไรก็ตามกรณีนี้สามารถป้องกันได้ โดยการรีบพาสัตว์ที่มีปัญหาหูอักเสบไม่รับการตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ ก่อนที่การอักเสบติดเชื้อ จะลามเข้าสู่ชั้นกลางซึ่งรักษาได้ยากกว่ามาก
4. ความผิดปกติทางโครงสร้างของหูและใบหู รวมทั้งความหนาแน่นของขนในรูหูที่มากกว่าปกติ: ในสุนัขหลายๆตัวที่รูหูแคบ ใบหูใหญ่ หรือ มีขนในรูหูแน่นจนแทบเต็มรูหู มักพบว่าจะเกิดหูอักเสบได้ง่ายกว่าสุนัขทั่วไป
5. เนื้องอก มะเร็ง หรือก้อนpolyps: มักทำให้เกิดการอุดตัน หรือตีบแคบของรูหู รวมทั้งปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันต่อเนื้องอกมักทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในรูหูได้
6. สิ่งแปลกปลอมในรูหู มักทำให้เกิดการอุดตัน หรือตีบแคบของรูหู รวมทั้งทำให้เกิดการระคายเคือง ซึ่งมำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในรูหูตามมา
หูอักเสบเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะในสุนัข ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งในความเห็นของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)การรักษาที่มุ่งเน้นไปที่การรักษาแต่ที่หูเพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจองค์รวมของปัญหา มักทำให้ปัญหาหูอักเสบไม่หายขาด ซ้ำร้ายในบางรายอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษาเลย ในกรณีร้ายแรงอาจเกิดสภาวะ calcified ear canal ซึงหมายความว่ารูหูเสียหายอย่างสมบูรณ์อย่างหมดทางแก้ไข สำหรับปัจจัยที่โน้มนำให้เกิดปัญหาหูอักเสบที่พบบ่อยได้แก่
1. กลุ่มโรคภูมิแพ้: มักพบได้บ่อยที่สุดในการเนี่ยวนำให้เกิดหูอักเสบ โดยเฉพาะการแพ้อาหาร หรือการแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ซึ่งในความเห็นของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) เห็นว่าต้องทำการตรวจ และรักษากลุ่มโรคภูมิแพ้ควบคู่ไปด้วย จาการสังเกตุของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าถ้าไม่ควบคุมโรคภูมิแพ้ให้ดี หูอักเสบมักกลับมาเป็นใหม่หลังรักษาหูอักเสบจนหายดีแล้วในไม่เวลาไม่เกิน 2 ปี หรือในหลายๆรายพบว่ารักษาหูอักเสบเท่าไรก็ไม่หายสักทีจนถอดใจเลิกรักษาไปเลย
2. ความไม่สมดุลของฮอร์โมน: ปัญหาความไม่สมดุลของฮอร์โมนมักทำให้เกิดการกดภูมิคุ้มกัน ซึ่งมักทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนที่ผิวหนัง และหู แล้วเกิดปัญหาผิวหนังและหูอักเสบตามมา
3. การติดเชื้อในหูชั้นกลาง: ในกรณีที่หูชั้นนอกอักเสบแล้วลุกลามเข้าไปในชั้นกลาง ถ้าไม่รักษาที่หุชั้นกลางควบคู่ไปด้วย มักพบว่าหูอักเสบมักกลับมาเป็นใหม่หลังรักษาหูอักเสบจนหายดีแล้วในเวลาไม่นาน หรือในหลายๆรายพบว่ารักษาหูอักเสบเท่าไรก็ไม่หายสักทีจนถอดใจเลิกรักษาไปเลย อย่างไรก็ตามกรณีนี้สามารถป้องกันได้ โดยการรีบพาสัตว์ที่มีปัญหาหูอักเสบไม่รับการตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ ก่อนที่การอักเสบติดเชื้อ จะลามเข้าสู่ชั้นกลางซึ่งรักษาได้ยากกว่ามาก
4. ความผิดปกติทางโครงสร้างของหูและใบหู รวมทั้งความหนาแน่นของขนในรูหูที่มากกว่าปกติ: ในสุนัขหลายๆตัวที่รูหูแคบ ใบหูใหญ่ หรือ มีขนในรูหูแน่นจนแทบเต็มรูหู มักพบว่าจะเกิดหูอักเสบได้ง่ายกว่าสุนัขทั่วไป
5. เนื้องอก มะเร็ง หรือก้อนpolyps: มักทำให้เกิดการอุดตัน หรือตีบแคบของรูหู รวมทั้งปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันต่อเนื้องอกมักทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในรูหูได้
6. สิ่งแปลกปลอมในรูหู มักทำให้เกิดการอุดตัน หรือตีบแคบของรูหู รวมทั้งทำให้เกิดการระคายเคือง ซึ่งมำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในรูหูตามมา
Monday, April 18, 2011
โรคผิวหนัง ภูมิแพ้ การดูแลและป้องกัน การสังเกต และ ความเข้าใจในการรักษา
โรคผิวหนัง ภูมิแพ้ การดูแลและป้องกัน การสังเกต และ ความเข้าใจในการรักษา
โดย น.สพ. รังสรรค์ สกุลพลอย
โรคผิวหนัง คือ ความผิดปกติอะไรก็ได้ที่เกิดกับผิวหนัง เช่น อาการเกาคัน เม็ดตุ่ม ก้อนต่างๆ แผล หรือการที่มีสิ่งแปลกปลอมอะไรก็ได้มาอยู่บนหรือในผิวหนัง
อะไรที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง
*การติดเชื้อ – แบคทีเรีย รา ยีสต์ หรือไวรัส
*ปรสิต – เห็บ หมัด เหา ไร ไรขี้เรื้อน หนอนแมลง หรือหนอนพยาธิบางชนิด
*ภูมิแพ้ และความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน – แพ้สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ในอาหาร น้ำลายหมัด พิษของแมลง แพ้สัมผัส และ โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
*ความผิดปกติของระบบฮอร์โมน เช่นภาวะขาดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
*มะเร็ง และเนื้องอก
*ปัจจัยทางกายภาพ และเคมี - ไฟไหม้ กรด ด่าง น้ำมันปิโตรเลี่ยม ยาบางชนิด
*คน – หมอ เจ้าของสัตว์ และกูรูทั้งหลาย – ที่ชอบลองการรักษาโดยที่ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าได้ผล ไม่มีความรู้เพียงพอ หรือรักษาผิดวิธี เช่นยาไม่ครบคอร์ส หรือขนาดไม่เพียงพอ ใช้ยาไม่ตรงโรค หรือใช้ยาที่อาจเป็นพิษในสัตว์ได้
*สิ่งแปลกปลอม – เสี้ยน หนาม
*ความผิดปกติทางจิตเวช
*ยังไม่ทราบสาเหตุ
ความรุนแรงของการเกิดโรคผิวหนังขึ้นกับ
*ชนิด และปริมาณของตัวก่อโรค
*ความทนต่อโรคของตัวสัตว์ป่วย
*พันธุกรรมของตัวสัตว์ป่วย
*การดูแลรักษา (หมอ + เจ้าของสัตว์ + ตัวสัตว์)
*บุญเก่า กรรมเก่า
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงมีปัญหาโรคผิวหนัง
ทำได้โดยดูจาก
*อาการคัน เกา เลีย แทะตามตัว เท้า หู หลัง ท้อง
*ชอบไถตัว + ก้น
*สังคตัง
— *ขนร่วง มีรังแค หรือ กลิ่นตัวแรง
*ตุ่ม ก้อน จุด หรือแผลต่างๆ
*เห็บ หมัด เหา ไร หรือคนในบ้านทุกคน
การดูแล ป้องกัน และการรักษาโรคผิวหนัง
— การรักษาโรคผิวหนัง
*ใช้เวลา มีค่าใช้สูงพอสมควร
*แต่ละโรคก็มีวิธีรักษาได้มากกว่า 1 วิธี และค่าใช้จ่ายก็ขึ้นกับต้นทุนของแต่ละวิธี
*ค่าใช้จ่ายขึ้นกับวิธีการรักษา แต่วิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงไม่จำเป็นต้องได้ผลการรรักษาที่ดีกว่าวิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายที่ราคาต่ำกว่า
*ต้องทำคู่กับการปรับการเลี้ยงดูที่ถูกหลัก
*ไม่ยาวิเศษที่รักษาได้ทุกโรค ยกเว้นการวินิจฉัยที่แม่นยำ ร่วมกับการรักษาที่ถูกวิธี และมีการดูแลที่เหมาะสม
*ต้องการความร่วมมือระหว่างหมอ กับเจ้าของสัตว์ค่อนข้างมาก
—
— การดูแลสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคผิวหนัง
*ปฏิบัติตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด
*สัตว์เลี้ยงไม่ใช่สัตว์ทดลอง – อย่าทำตนเป็นกูรูลองยาหรือวิธีการแปลกๆโดยไม่ได้มีศึกษามาอย่างดี
*ให้อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และสมดุล แก่สัตว์ป่วย
— *มีการอาบน้ำ และใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพของตัวสัตว์
— *ให้ตามคำแนะนำของหมอ
— *ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษา – คุยกับหมอเจ้าของไข้โดยตรง ถ้าไม่ได้คำตอบที่น่าพอใจ หรือเชื่อถือได้ - เปลี่ยนหมอ
—
—
—
—
— การป้องกันโรคผิวหนัง แก่สัตว์เลี้ยง
*ไม่มีวิธีที่ป้องกันได้ 100%
*แต่ลดโอกาสการเป็นโรคผิวหนังได้โดย
*การเลี้ยงดูที่ถูกหลัก
*มีการอาบน้ำ และใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพของตัวสัตว์
*ให้อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และสมดุล
*มีการฉีดวัคซีนตามโปรแกรมที่เหมาะสม มีการถ่ายพยาธิ ควบคุมและกำจัดเห็บ หมัด อย่างสม่ำเสมอ
*อย่าลองของแปลก
โรคผิวหนังที่เกิดจากโรคภูมิแพ้
*คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากภาวะไวเกินของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในรูปแบบที่ I หรือ IV หรือทั้งสองรูปแบบร่วมกัน
*เป็นโรคของบุญเก่า กรรมเก่า
— *มี 5 รูปแบบ
— +การแพ้น้ำลายของหมัดหรือของแมลงบางชนิด
— +การแพ้เหล็กใน หรือพิษของแมลงหรือแมง
— +ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากอาหาร
+โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือการแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ
— +การแพ้สัมผัส
— +หมอบางคนอาจแยก การแพ้สารคัดหลั่งจากยีสต์ หรือ แบคทีเรียออกเป็นอีกกลุ่ม
— *มักมีโรคผิวหนังโรคอื่นๆเกิดร่วมด้วยเสมอ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงมีปัญหาโรคภูมิแพ้
ทำได้โดยดูจาก
*อาการคัน เกา เลีย แทะตามตัว เท้า หู หลัง ท้อง
*ชอบไถตัว + ก้น
*สังคตัง
*หูอักเสบที่มีการกลับมาเป็นใหม่ใน 2 ปี
*หาหมอ
*มีรังแค หรือ กลิ่นตัวแรง
การดูแล ป้องกัน และการรักษาโรคภูมิแพ้
*ทำเหมือน การดูแลโรคผิวหนังทั่วไป แต่เพิ่มความเข้มงวดเรื่องการควบคุม และกำจัดเห็บ หมัด - อย่าการ์ดตก
*ในกรณีที่แพ้อาหาร ให้ระวังเรื่องให้อาหาร อย่าคิดว่านิดหน่อยไม่น่าเป็นอะไร - เวลาโรคกลับรักษายากกว่าตอนเริ่มต้นมาก
โดย น.สพ. รังสรรค์ สกุลพลอย
โรคผิวหนัง คือ ความผิดปกติอะไรก็ได้ที่เกิดกับผิวหนัง เช่น อาการเกาคัน เม็ดตุ่ม ก้อนต่างๆ แผล หรือการที่มีสิ่งแปลกปลอมอะไรก็ได้มาอยู่บนหรือในผิวหนัง
อะไรที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง
*การติดเชื้อ – แบคทีเรีย รา ยีสต์ หรือไวรัส
*ปรสิต – เห็บ หมัด เหา ไร ไรขี้เรื้อน หนอนแมลง หรือหนอนพยาธิบางชนิด
*ภูมิแพ้ และความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน – แพ้สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ในอาหาร น้ำลายหมัด พิษของแมลง แพ้สัมผัส และ โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
*ความผิดปกติของระบบฮอร์โมน เช่นภาวะขาดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
*มะเร็ง และเนื้องอก
*ปัจจัยทางกายภาพ และเคมี - ไฟไหม้ กรด ด่าง น้ำมันปิโตรเลี่ยม ยาบางชนิด
*คน – หมอ เจ้าของสัตว์ และกูรูทั้งหลาย – ที่ชอบลองการรักษาโดยที่ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าได้ผล ไม่มีความรู้เพียงพอ หรือรักษาผิดวิธี เช่นยาไม่ครบคอร์ส หรือขนาดไม่เพียงพอ ใช้ยาไม่ตรงโรค หรือใช้ยาที่อาจเป็นพิษในสัตว์ได้
*สิ่งแปลกปลอม – เสี้ยน หนาม
*ความผิดปกติทางจิตเวช
*ยังไม่ทราบสาเหตุ
ความรุนแรงของการเกิดโรคผิวหนังขึ้นกับ
*ชนิด และปริมาณของตัวก่อโรค
*ความทนต่อโรคของตัวสัตว์ป่วย
*พันธุกรรมของตัวสัตว์ป่วย
*การดูแลรักษา (หมอ + เจ้าของสัตว์ + ตัวสัตว์)
*บุญเก่า กรรมเก่า
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงมีปัญหาโรคผิวหนัง
ทำได้โดยดูจาก
*อาการคัน เกา เลีย แทะตามตัว เท้า หู หลัง ท้อง
*ชอบไถตัว + ก้น
*สังคตัง
— *ขนร่วง มีรังแค หรือ กลิ่นตัวแรง
*ตุ่ม ก้อน จุด หรือแผลต่างๆ
*เห็บ หมัด เหา ไร หรือคนในบ้านทุกคน
การดูแล ป้องกัน และการรักษาโรคผิวหนัง
— การรักษาโรคผิวหนัง
*ใช้เวลา มีค่าใช้สูงพอสมควร
*แต่ละโรคก็มีวิธีรักษาได้มากกว่า 1 วิธี และค่าใช้จ่ายก็ขึ้นกับต้นทุนของแต่ละวิธี
*ค่าใช้จ่ายขึ้นกับวิธีการรักษา แต่วิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงไม่จำเป็นต้องได้ผลการรรักษาที่ดีกว่าวิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายที่ราคาต่ำกว่า
*ต้องทำคู่กับการปรับการเลี้ยงดูที่ถูกหลัก
*ไม่ยาวิเศษที่รักษาได้ทุกโรค ยกเว้นการวินิจฉัยที่แม่นยำ ร่วมกับการรักษาที่ถูกวิธี และมีการดูแลที่เหมาะสม
*ต้องการความร่วมมือระหว่างหมอ กับเจ้าของสัตว์ค่อนข้างมาก
—
— การดูแลสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคผิวหนัง
*ปฏิบัติตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด
*สัตว์เลี้ยงไม่ใช่สัตว์ทดลอง – อย่าทำตนเป็นกูรูลองยาหรือวิธีการแปลกๆโดยไม่ได้มีศึกษามาอย่างดี
*ให้อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และสมดุล แก่สัตว์ป่วย
— *มีการอาบน้ำ และใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพของตัวสัตว์
— *ให้ตามคำแนะนำของหมอ
— *ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษา – คุยกับหมอเจ้าของไข้โดยตรง ถ้าไม่ได้คำตอบที่น่าพอใจ หรือเชื่อถือได้ - เปลี่ยนหมอ
—
—
—
—
— การป้องกันโรคผิวหนัง แก่สัตว์เลี้ยง
*ไม่มีวิธีที่ป้องกันได้ 100%
*แต่ลดโอกาสการเป็นโรคผิวหนังได้โดย
*การเลี้ยงดูที่ถูกหลัก
*มีการอาบน้ำ และใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพของตัวสัตว์
*ให้อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และสมดุล
*มีการฉีดวัคซีนตามโปรแกรมที่เหมาะสม มีการถ่ายพยาธิ ควบคุมและกำจัดเห็บ หมัด อย่างสม่ำเสมอ
*อย่าลองของแปลก
โรคผิวหนังที่เกิดจากโรคภูมิแพ้
*คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากภาวะไวเกินของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในรูปแบบที่ I หรือ IV หรือทั้งสองรูปแบบร่วมกัน
*เป็นโรคของบุญเก่า กรรมเก่า
— *มี 5 รูปแบบ
— +การแพ้น้ำลายของหมัดหรือของแมลงบางชนิด
— +การแพ้เหล็กใน หรือพิษของแมลงหรือแมง
— +ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากอาหาร
+โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือการแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ
— +การแพ้สัมผัส
— +หมอบางคนอาจแยก การแพ้สารคัดหลั่งจากยีสต์ หรือ แบคทีเรียออกเป็นอีกกลุ่ม
— *มักมีโรคผิวหนังโรคอื่นๆเกิดร่วมด้วยเสมอ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงมีปัญหาโรคภูมิแพ้
ทำได้โดยดูจาก
*อาการคัน เกา เลีย แทะตามตัว เท้า หู หลัง ท้อง
*ชอบไถตัว + ก้น
*สังคตัง
*หูอักเสบที่มีการกลับมาเป็นใหม่ใน 2 ปี
*หาหมอ
*มีรังแค หรือ กลิ่นตัวแรง
การดูแล ป้องกัน และการรักษาโรคภูมิแพ้
*ทำเหมือน การดูแลโรคผิวหนังทั่วไป แต่เพิ่มความเข้มงวดเรื่องการควบคุม และกำจัดเห็บ หมัด - อย่าการ์ดตก
*ในกรณีที่แพ้อาหาร ให้ระวังเรื่องให้อาหาร อย่าคิดว่านิดหน่อยไม่น่าเป็นอะไร - เวลาโรคกลับรักษายากกว่าตอนเริ่มต้นมาก
Labels:
แมว,
โรคผิวหนัง,
โรคภูมิแพ้,
สัตว์เลี้ยง,
สุนัข,
หมา,
อาการของโรคผิวหนัง และหูอักเสบ
Subscribe to:
Posts (Atom)