แนะนำคลินิก

ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง เป็นส่วนหนึ่งของคลินิกบ้านรักสัตว์ ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการบำบัดรักษาโรคผิวหนังสัตว์ ตั้งแต่ระดับเบื้องต้น จนถึงระดับการตรวจรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน รวมทั้ง ยังให้บริการรับส่งต่อเพื่อการตรวจรักษาต่อเนื่องในรายที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังที่มีความยุ่งยากซับซ้อนจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่นอีกด้วย

ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง ดำเนินการตรวจ และรักษาโดย “น.สพ. รังสรรค์ สกุลพลอย สพ.บ. Cert Vet Dermatology”

การ บริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะให้บริการด้านโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง แบบครบวงจร ตั้งแต่โรคผิวหนังเบื้องต้น เช่นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือปรสิต จนถึงโรคที่ต้องการ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคมะเร็งหรือเนื้องอกของผิวหนัง โรคผิวหนังที่เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนหรือระบบภูมิค้มกัน รวมถึงโรคติดเชื้อของผิวหนัง หูอักเสบ โรคของเท้าที่เป็นๆหายๆ หรือไม่ยอมหายขาด

ขั้นตอนการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง จะกระทำในแนวทางเดียวกับที่กระทำกันในประเทศออสเตรเลีย โดยจะเน้นไปที่การเจาะลึกไปถึงสาเหตุของโรคทั้ง สาเหตุหลัก และสาเหตุที่ซ่อนอยู่ควบคู่ไปกับการรักษา เพื่อให้เกิดประสิทธิการรักษาที่สูงที่สุด มีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยที่สุด รวมทั้งประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด




การบริการของเรา

การบริการของทางศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยงประกอบด้วย

· การตรวจทางเซลล์วิทยา (Cytology)
· การตรวจเชื้อรา โดยวิธี KOH preparation, Wood’s lamp examination, และ Fungal Culture
· การทดสอบการแพ้น้ำลายหมัด (Flea bite hypersensitivity testing)
· การทดสอบการเกิดโรคผิวหนังเนื่อง จากอาหาร (Adverse food reaction testing)
· การทดสอบการเกิดปฏิกิริยากับสาร ภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergen Testing)
· การตัดชิ้นเนื้อของผิวหนังที่มี ปัญหา เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา (Skin Biopsy for Dermatohistopathology)
· การทดสอบระดับฮอร์โมน เพื่อการวินิจฉัยโรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน (Hormonal Assay for Skin disease due to Endocrinopathy)
· การรักษาโรคภูมิแพ้ โดยการ Immunotherapy
· การตรวจโรคหู โดยการทำ Otoscopic examination
· การรักษาโรคหูอักเสบ โดยการทำ Ear Flushing technique



ที่ตั้งคลินิก

66/36 หมู่บ้านนิศาชล ซ. บางแวก79 ถ. บางแวก (จรัลฯ13)
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160

โทร. 064-253-5695

มือถือ 064-253-5695 (เปิดเครื่องรับสาย 8.00 น. - 20.00น.)

E-mail: allergyvet@yahoo.com

LINE : allergyskinvet

Facebook: facebook.com/allergyskinvet และ http://www.facebook.com/allergydermvet

พิกัด GPS : 13.741167,100.422598 (บนแผนที่ของ Google)

แผนที่ของคลิินิก: ให้ ก็อปปี้ "13.741167,100.422598" แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก

จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่

สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'

การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ

ติดต่อกับผมได้ที่โทร 064-253-5695

LINE : allergyskinvet และที่

Facebook: http://www.facebook.com/allergyskinvet

และ http://www.facebook.com/allergydermvet ครับ

เวลาทำการ

อาทิตย์ 13.00-20.30น.

จันทร์-ศุกร์ 11.00-14.00น. และ 17.00-20.30 น. (ช่วงโรงเรียนเปิดเทอม หมอต้องออกไปรับลูก)


เสาร์ เฉพาะนัดล่วงหน้าเท่านั้น (ถ้าไม่มีใครนัด หมอขอปิดทำการ เพื่อพาลูกไปเที่ยว)


เนื่องจาก ปัจจุบันเจ้าของสัตว์หลายๆรายจะอยู่ไกลจากคลินิกมาก ประกอบกับช่วงนี้ตัวหมอเองมีความจำเป็นบางอย่าง ที่อาจจำเป็นต้องปิดทำการเพื่อออกไปทำธุระ

จึงใคร่ขอรบกวนให้ช่วยโทรนัดล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่มาแล้วเสียเที่ยว

ทางคลินิกต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้




ติดต่อกับผมได้ที่โทร 064-253-5695

LINE : allergyskinvet และที่

Facebook: http://www.facebook.com/allergyskinvet

และ http://www.facebook.com/allergydermvet ครับ

ราคาค่าบริการสำหรับการรักษาโรคผิวหนังของทางศูนย์โรคภูมิแพ้และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง

ราคาค่าบริการสำหรับโรคผิวหนังทั่วไป และโรคภูมิแพ้
+ค่าตรวจ + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่าตรวจเพิ่มเติมที่อาจจำเป็น จะแจ้งราคาให้ทราบเมื่อจำเป็นต้องทำการตรวจ
+ค่ายารักษา ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว


ค่าใช้จ่ายสำหรับโรคขี้เรื้อนรูขุมขน (สุนัขน้ำหนักตัวไม่เกิน 16 กิโลกรัม)

+ค่าตรวจทั่วไป + ค่าตรวจโรคผิวหนัง 200 บาท
+ค่ายาที่ใช้รักษา 1,200 บาทต่อ 1 เดือน
+ค่ายาอื่นๆที่อาจต้องใช้ ขึ้นกับชนิดของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ และตัวสัตว์ป่วยแต่ละตัว

สำหรับท่านที่ไม่ชอบพกเงินสด 😀😀 ตอนนี้ทางคลินิกได้เพิ่มช่องทางการชำระเงินโดยใช้ การโอนเงินผ่าน Promtpay, การใช้ QR Code (ไม่ค่าโอนถ้าใช้บัญชี Promptpay) และรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต(คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตร 3%) ได้แล้วครับ 😁😁

เส้นทางมาที่คลินิก



คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 66/36 หมู่บ้านนิศาชล ซ. บางแวก79 ถ. บางแวก (จรัลฯ13)
แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กทม 10160

การเดินทางมาที่คลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะสามารถมาได้หลายทาง โดยถ้ามาจาก ถ.กาญจนาภิเษก ให้เลี้ยวเข้า ถ.จรัลฯ 13(บางแวก) มุ่งหน้าไปทาง ถ.จรัลสนิทวงศ์ วิ่งตามทางมาเรื่อยๆ จะเห็นซุ้มประตูวัดมะพร้าวเตี้ยอยู่ด้านซ้าย ให้วิ่งตามทางมาเรื่อยๆจะเห็นหมู่บ้านศุภาลัยอยู่ด้านขวา จะเห็นตึกแถวของหมู่บ้านนิศาชลอยู่ติดกับหมู่บ้านศุภาลัย ให้เลี้ยวขวาเข้าซอยบางแวก79 (ซอยหมู่บ้านนิศาชล) จะเห็นเซเว่นฯ อยู่ปากปากซอย (ทางเข้าหมู่บ้าน) แล้วเตรียมชิดซ้ายหาที่จอดรถ จะเห็นป้าย “คลินิกบ้านรักสัตว์” อยู่ด้านซ้าย สามารถจอดรถได้ที่หน้าคลินิก



ถ้ามาจาก ถ.ราชพฤกษ์ ถ.พุทธมณฑลสาย1 ถ.จรัลสนิทวงศ์ หรือ ถ.เพชรเกษม48 ให้เลี้ยวเข้า ถ.จรัลฯ 13 (บางแวก) มุ่งหน้าไปทาง ถ.กาญจนาภิเษก วิ่งตามทางมาเรื่อยๆจนข้ามสะพานข้ามคลองราชมนตรี ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยบางแวก79 (ซอยหมู่บ้านนิศาชล) จะเห็นเซเว่นฯ อยู่ปากปากซอย (ทางเข้าหมู่บ้าน) แล้วเตรียมชิดซ้ายหาที่จอดรถ จะเห็นป้าย “คลินิกบ้านรักสัตว์” อยู่ด้านซ้าย สามารถจอดรถได้ที่หน้าคลินิก


พิกัด GPS : 13.741167,100.422598 (บนแผนที่ของ Google)

แผนที่ของคลินิก: ให้ ก็อปปี้ 13.741167,100.422598 แล้วไป paste ลงที่ช่อง ค้นหา maps ของ http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl คุณพบแผนที่ของคลินิก

จากนั้นคุณสามารถค้นหาเส้นทางมาที่คลินิกได้จาก link ที่อยู่ด้านซ้ายของแผนที่

สำหรับท่านที่ใช้ GPS ของ Garmin ให้ใช้พิกัด N:13 ํ 44.469' E:100 ํ 25.361'



การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ

การเตรียมตัวพาสัตว์เลี้ยงเพื่อรับการตรวจโรคผิวหนังกับทางคลินิกบ้านรักสัตว์

เพื่อที่จะเป็นการประหยัดเวลา และลดการใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องมีแก่เจ้าของสัตว์ป่วย

* คนที่พาสุนัขมารับการตรวจ และรักษา ควรเป็นเจ้าของสัตว์ป่วย หรือผู้ที่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการการยอมรับการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เนื่องจากโรคผิวหนังมัก ใช้ระยะเวลาในการรักษาที่นาน มักต้องการการตรวจหลายครั้ง และต้องการการสื่อสารที่ดี เพื่อการอธิบายถึงปัญหาต่างๆของตัวโรค และแผนการรักษาที่ชัดเจน และไม่คลุมเคลือ

* กรุณาอย่าให้คนอื่น หรือคนรับใช้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เป็นคนพามาตรวจ และรับการรักษาแทน เพื่อป้องกันความผิดพลาดเนื่องจาก การสื่อสาร

* งดอาบน้ำสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย

* งดทำความสะอาดหูสัตว์เลี้ยงของคุณก่อนมารับการตรวจ และรักษาอย่างน้อย 5 วันก่อนการนัดหมาย

*กรุณาอย่าใช้ยาทาที่เป็นสีต่างๆ ซึ่งล้างออกยาก เช่น ยาม่วง ยาเหลือง ยาแดง เนื่องยากลุ่มนี้จะบังแผล แผลรอยโรคต่างๆ และรบกวนการย้อมสีตัวอย่าง

* ถ้ามียาที่ต้องให้กิน หรือฉีดที่ต้องใช้อยู่ ณ เวลาที่ต้องการพามาตรวจ (ซึ่งได้รับมาจากคลินิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อื่น) กรุณาอย่างดยา และแจ้งให้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ทราบทุกครั้ง

*สำหรับในกรณีที่พาแมวมา กรุณาใส่กรง หรือตระกร้าที่ปิดล๊อคได้มา เพื่อความปลอดภัยของแมว และตัวเจ้าของแมวเอง

* ควรโทรนัดล่วงหน้า


*ควรให้เวลากับทางคลินิก 1-2 ชั่วโมงเพื่อ การตรวจ รักษา และให้คำแนะนำได้เต็มที่

* เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ท่านเจ้าของสัตว์ป่วย กรุณากรอกแบบสอบถามโดยการคลิกที่ Label ทางด้านขวา หรือดาวน์โหลดได้จาก

https://docs.google.com/document/d/1u2LAH4cKOLi6Pvrdp5Bzyaq49q4OWS9-smhix7oKoNc/edit

โดยให้ Save เป็นไฟล์ของ Word แล้วกรอกแบบสอบถาม จากนั้นสามารถส่งได้โดยการปริ๊นท์ออกมาแล้วนำมาพร้อมกับสัตว์เลี้ยง หรือส่งมาทาง email หรืออัปโหลดขึ้น google docs แล้วแจ้งลิงค์มาทาง

http://www.facebook.com/Allergyskinvet หรือ http://www.facebook.com/allergydermvet ก็ได้

การตรวจรักษาจะรับเฉพาะในรายที่โทรนัดเท่านั้นครับ ถ้าสนใจโทรนัดได้ที่ 064-253-5695 ครับ

Monday, October 18, 2010

หมัด การควบคุม และกำจัดหมัด (FLEAS AND FLEA CONTROL)

หมัด การควบคุม และกำจัดหมัด (FLEAS AND FLEA CONTROL)

หมัด หรือบางคนเรียกว่าหมัดแมวเป็นตัวปรสิตภายนอกที่สร้างปัญหาโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุด ที่คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าประมาณร้อยละ 90 ของโรคผิวหนังในสุนัขและแมว ที่มาใช้บริการกับทางคลินิก มักมีปัญหาโรคผิวหนังอักเสบจากการแพ้น้ำลายหมัดร่วมอยู่ด้วย นอกจากนี้หมัดยังเป็นตัวพาหะนำโรคต่างๆเช่นการติดพยาธิตัวตืด โรคฮีโมบาร์โทเนโลซิสเป็นต้น การควบคุมหมัดเป็นความท้าทายของสัตวแพทย์และตัวเจ้าของสัตว์ เพราะว่าตัวหมัดที่โตเต็มวัยเท่านั้นที่สร้างปัญหา แต่ทว่าในสภาพแวดล้อมรอบตัวสัตว์จะอุดมไปด้วยไข่ และตัวอ่อนระยะต่างๆของหมัดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไข่ และตัวอ่อนระยะต่างๆของหมัดเหล่านี้ จะเป็นตัวเพิ่มประชากรตัวหมัดที่โตเต็มวัยบนตัวสัตว์ และในสภาพแวดล้อมรอบตัวสัตว์ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้การควบคุมหมัดที่ดีในทางทฤษฎีคือ ต้องได้ผลครอบคลุมตัวหมัดทุกระยะ ทั้งบนตัวสัตว์ทุกตัว และในสภาพแวดล้อม ก่อนที่เราจะเข้าสู่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม เราควรที่จะต้องรู้จักวงชีวิตของหมัดกันก่อน

วงชีวิตของหมัด (Ctenocephalides felis)

ตัวหมัดจะวางไข่บนขนของตัวสัตว์ที่มันอาศัยอยู่ หลังจากนั้นไข่หมัดจะร่วงหล่นจากตัวสัตว์ที่มันอาศัยอยู่ ไข่หมัดจะมีความทนต่อยาฆ่าแมลงทุกชนิด แต่จะไวต่อยาควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง ตัวอ่อนของหมัด (Larvae) จะออกจากไข่ และเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมรอบตัวสัตว์เลี้ยง และกินมูล (เลือด) ที่ตัวหมัดถ่ายแล้วร่วงหล่นลงมาจากขนบนตัวสัตว์ ตัวอ่อนของหมัดจะไวต่อยาฆ่าแมลงทั่วๆไป สารในกลุ่มบอเรต และยาควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง ตัวอ่อนของหมัดจะ
สร้างรังคล้ายรังไหมขึ้นมาหุ้มตัวมันเองแล้วพัฒนาเป็นตัวดักแด้ (Pupae) ต่อไป ซึ่งกระบวนการนี้ มักเกิดภายในเส้นใยของพรม ใยผ้า หรือใต้ใบหญ้า ในที่ที่ไม่โดนแสงแดด โดยตัวดักแด้ที่เกิดขึ้นมานี้ จะมีความทนต่อการแช่แข็ง การทำให้แห้ง และยาฆ่าแมลงหลายๆชนิด ตัวดักแด้จะสามารถคงสภาพดักแด้ได้หลายๆเดือนจนกว่าจะมีการกระตุ้นให้ลอกคราบเป็นตัวหมัดขั้นแรก ปัจจัยที่ช่วยทำให้เกิดการลอกคราบของตัวดักแด้ได้แก่ การสั่นสะเทือน ความร้อน และการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยปกติแล้วการลอกคราบของตัวดักแด้จะเกิดขึ้นเมื่อมีเหยื่ออยู่ใกล้ๆ และตัวหมัดขั้นแรกจะต้องพบเหยื่อในเวลาไม่กี่วินาที ตัวหมัดขั้นแรกที่เพิ่งออกมาจากไข่ ถ้าอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่กี่วันโดยไม่มีเหยื่อ ตัวหมัดที่เพิ่งเกิดใหม่จะเริ่มกินเลือดภายใน 1 ชั่วโมงหลังพบเหยื่อ (สุนัข และแมว) หลังจากที่หมัดดูดเลือดจากเหยื่อแล้ว ตัวหมัดจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นานหลังจากที่ลงจากตัวเหยื่อ ส่วนใหญ่แล้วอัตราการตายของตัวหมัดที่อยู่บนตัวเหยื่อที่ไม่ใช่ลูกสัตว์จะค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่จะอยู่บนตัวเหยื่อได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมงบนตัวเหยื่อที่มีอาการคันและสามารถแทะเลียตัวเองได้ แต่โชคไม่ดีที่กว่าที่ที่ตัวหมัดจะตาย ก็วางไข่ไปจำนวนมากแล้ว วงจรชีวิตของหมัดจะตกประมาณ 16 วัน

วิธีการควบคุมหมัดที่ควรทำ (FLEA CONTROL RECOMMENDATIONS)

ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)มีความเห็นว่า เราต้องการให้สัตว์ที่มีปัญหาการแพ้น้ำลายหมัด ต้องปลอดจากหมัด 100% เพื่อให้ปลอดจากอาการแพ้น้ำลายหมัดอย่าง 100% ในกรณีที่มีการถูกหมัดกัดแม้เพียงเล็กน้อย (ถูกกัดแค่ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์) ก็มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดอาการการแพ้น้ำลายหมัดได้แล้ว ช่วงระยะหลังๆในหลายๆประเทศเริ่มมีการทำการควบคุมหมัดในสภาพแวดล้อมของสัตว์เลี้ยงโดยการใช้สารยับยั้งตัวอ่อนของหมัดควบคู่ไปกับการควบคุมหมัดบนตัวสัตว์ วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะเรียกได้ว่าได้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน แต่ทว่ายังคงต้องการทำซ้ำหลายๆครั้งเพื่อเพิ่ม และคงประสิทธิภาพอันเป็นการที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงและแรงงานอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสารยับยั้งตัวอ่อนของหมัดยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งทำให้การควบคุมหมัดที่มีประสิทธิภาพสำหรับสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยทำได้ยากลำบากยิ่งขึ้น การใช้สารกำจัดตัวโตเต็มวัยของหมัดที่อยู่บนตัวสัตว์เพียงอย่างเดียวพบว่ามีผลแค่บรรเทาอาการเท่านั้น และยาที่ใช้ในการกำจัดหมัดที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ในการฆ่าที่ช้าทำให้ หมัดสามารถมีช่วงเวลาที่จะฉีดน้ำลายแก่สัตว์เลี้ยงได้อย่างเต็มที่ แล้วยังเหลือเวลามากพอที่จะวางไข่เพื่อแพร่พันธุ์ต่อไปก่อนที่จะตายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ยาที่ใช้ในการกำจัดหมัดที่สามารถลดการรับน้ำลายหมัดก็มีจำหน่ายในประเทศไทยเช่นกัน แต่ก็ข้อจำกัดการใช้บางอย่าง และหาซื้อได้ค่อนข้างยาก สำหรับตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมหมัด ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ไม่สามารถแนะนำโดยไม่ผ่านการตรวจและรักษาจากทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)ได้ เพราะมีข้อจำกัดในเรื่องจรรยาบรรณ และกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา
ในความเห็นของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) การกำจัดหมัด เพื่อการรักษาการแพ้น้ำลายหมัดที่ทำได้ในประเทศไทย คือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถลดการรับน้ำลายหมัดกับสัตว์เลี้ยงทุกตัวในบ้าน ร่วมกับการกำจัดหมัดที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของสัตว์เลี้ยงอย่างเต็มที่

รังแค รังควาน หรือภาวะซีบอเรีย (SEBORRHEA - KERATINIZATION DISORDERS)

รังแค รังควาน ผิวหนังมันเยิ้ม หรือภาวะซีบอเรีย (SEBORRHEA - KERATINIZATION DISORDERS)

ภาวะซีบอเรีย เป็นอาการหนึ่งของโรคผิวหนัง ซึ่งมีการแสดงออกได้หลายแบบ อาจเป็นแบบผิวหนังแห้ง มีรังแค หรือ ผิวหนังมันถึงเยิ้ม ร่วมกับมีไขมันสีเหลืองติดตามผิวหนังร่วมกับมีกลิ่นเหม็นหืน หรืออาจเป็นทั้งสองแบบร่วมกัน ในบางครั้งอาจพบลักษณะสะเก็ดเป็นวงๆ โดยอจมีปื้นกลมสีแดง หรือสีอื่นๆอยู่ตรงกลางวงสะเก็ดร่วมด้วย หลายๆรายพบว่าอาการจะรุนแรงกว่าปกติที่ตำแหน่งรอยย่น หรือร่องอับของผิวหนัง เช่นที่เท้า ใต้ลำคอ และลำตัว และมักมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ร่วมด้วย ซึ่งถ้ามีการติดเชื้อแทรกซ้อนมักจะทำให้อาการแย่ลง รวมทั้งกล่นจะแรงขึ้น หลายรายจะเกิดในรูหูทำให้เกิดหูอักเสบตามมา

ในความเห็นของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ภาวะซีบอเรีย ส่วนใหญ่มักจะเกิดปัญหาโรคผิวหนังต่างๆเช่น โรคผิวหนังที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน กลุ่มโรคภูมิแพ้ การติดเชื้อรา ยีสต์ หรือแบคทีเรีย ภาวะทุโภชนาการ เป็นต้น ในขณะที่บางรายก็ไม่มีโรคผิวหนังอื่นร่วมหรือหาสาเหตุไม่พบ ซึ่งเราเรียกภาวะนี้ว่า primary หรือ IDIOPATHIC SEBORRHEA.

การรักษาภาวะซีบอเรียของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะทำร่วมกับการจัดการโรคผิวหนังที่เกิดร่วมด้วย สำหรับในรายสรุปแล้วเป็นกลุ่มprimary หรือ IDIOPATHIC SEBORRHEA ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะเน้นไปที่การคุมอาการเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยการใช้ยาบางชนิด หรือแชมพูที่ผ่านการทดสอบว่าเหมาะกับสัตว์ป่วยตัวนั้นๆ แต่ละตัวเป็นรายๆไป

Tuesday, October 12, 2010

ยาน่ารู้4 เอนโรฟลอกซาซิน (Enrofloxacin)

ยาน่ารู้4 เอนโรฟลอกซาซิน (Enrofloxacin)

บทความเกี่ยวกับยาต่างๆ ผู้เขียนเขียนขึ้นมาเพื่อให้ความรู้แก่เจ้าของสัตว์ โดยอยู่บนความเชื่อที่ว่า เจ้าของสัตว์ควร และมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูลของรักษาจากสัตวแพทย์ที่ได้กระทำกับสัตว์สัตว์เลี้ยงของท่านอย่างเต็มที่เท่าที่จำเป็นที่อย่างที่ควรจะได้รับตามสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าหมดยุคของการปกปิดข้อมูลแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และไม่สนับสนุนให้ผู้ไปหาซื้อยามาลองใช้กับสัตว์ป่วยของตนเองโดยไม่ผ่านการตรวจ และให้คำแนะนำในการใช้ยาต่างๆจากสัตวแพทย์ เพราะคุณ หรือสัตว์ได้รับผลเสียบางอย่างที่คาดไม่ถึงได้ รวมถึงจะขอเตือนว่าอย่าเอาข้อสิ่งที่ได้อ่านไปแสดงความอวดรู้ต่อสัตวแพทย์ที่คุณใช้บริการโดยเด็ดขาด เพราะว่าสัตวแพทย์ที่คุณใช้บริการก็เป็นแค่ปุถุชนคนหนึ่งซึ่งอาจมีทิฐิ และอารมณ์บางอย่างซึ่งอาจเกิดผลเสียบางอย่างกับคุณ หรือสัตว์เลี้ยงของคุณได้ ถึงแม้ว่า ผู้เขียน เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าสัตวแพทย์ทุกคนมีความเป็นมืออาชีพที่สูงพอก็ตาม

ชื่อการค้า: Baytril

รูปแบบของยา: เม็ดขนาด 22.7 mg, 68 mg, 136 mg และยาฉีด

เอนโรฟลอกซาซินเป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones) ซึ่งยาตัวอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนี้ได้แก่ ออร์บิฟลอกซาซิน ซิโปรฟลอกซาซิน มาร์โบฟลอกซาซิน เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้ จะออกฤทธิ์ต่อตัวแบคทีเรียโดยการยับยั้ง DNA gyrase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการ DNA transcription ของแบคทีเรีย ซึ่งผลของการยับยั้บ DNA gyrase นี้จะทำให้ไม่สามารถอ่านคำสั่งที่อยู่บน DNA ได้ ซึ่งผลที่ตามมาคือเซลล์ของแบคทีเรียตาย แต่ยาในกลุ่มนี้ไม่สามารถออกฤทธิ์ DNA gyrase ฃองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น สุนัข แมว หรือมนุษย์ได้เพราะโครงสร้างทางเคมีของตัว DNA gyrase ต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ในทางสัตวแพทย์จะใช้ยาตัวนี้ในกรณีต่อไปนี้
*การติดเชื้อ Pseudomonas
*การติดเชื้อ Staphylococci รวมทั้งการติดเชื้อตัวนี้ที่ผิวหนัง
อย่างไรก็ตามยาตระกูลฟลูออโรควิโนโลนจะไม่ได้ผลกับการติดเชื้อแอนาโรบิค เช่น ฝี หรือ การติดเชื้อในช่องปาก

ผลข้างเคียงจาการใช้ยาตัวนี้ได้แก่
*มีอาการอาเจียนหรือท้องเสียในรายที่ใช้ยาตัวนี้สูงกว่าขนาดที่แนะนำ 10 เท่า แต่ยังไม่พบอาการเหล่านี้เมื่อใช้ในขนาดที่แนะนำ
*ทำให้กระดูกอ่อนตามข้อต่อต่างๆเกิดความเสียหายจากผลของยา ซึ่งพบได้ในสุนัขอายูไม่เกิน 8 เดือน แต่ไม่พบปัญหานี้ในแมว
*มีรายงานว่าเอนโรฟลอกซาซินอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อจอประสาทตา (Retina) ในแมวเมื่อได้รับยาในขนาดสูงได้


การใช้ยาเอนโรฟลอกซาซินร่วมยาตัวอื่น
*ยาซูคราเฟต (Sulcrafate) ซึ่งเป็นยารักษาโรคกระเพาะตัวหนึ่ง จะสามารถจับกับยาเอนโรฟลอกซาซิน ทำให้ยาไม่ถูกดูดซึม ดังนั้นในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา 2 ตัวนี้ร่วมกัน ควรให้ยาห่างกันอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง
* ยาเอนโรฟลอกซาซินอาจทำให้ระดับยาทีโอฟิลิน (ยาขยายหลอดลม) ที่ใช้ร่วมกัน ในกระแสเลือดสูงขึ้นได้ ควรถามสัตวแพทย์ทุกครั้งที่ได้ยา เพื่อที่สัตวแพทย์จะได้ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เมื่อจำเป็นต้องใช้ยา 2 ตัวนี้ร่วมกัน
*ในรายที่ได้รับยาไซโคสปอริน เช่นในรายที่ใช้ยาตัวนี้ในการรักษาโรคภูมิแพ้ ยาออร์บิฟลอกซาซินจะทำให้ยาไซโคสปอรินเป็นพิษต่อไตได้รุนแรงขึ้น ดังนั้นควรถามสัตวแพทย์ทุกครั้งที่ได้ยา เพื่อที่สัตวแพทย์จะได้ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เมื่อจำเป็นต้องใช้ยา 2 ตัวนี้ร่วมกัน
*ยาเอนโรฟลอกซาซินจะมีการออกฤทธิ์แบบเสริมฤทธิ์กันในการต้านการติดเชื้อแบคทีเรีย เมื่อใช้ร่วมกับยาในกลุ่ม เพนนิซิลิน หรือเซบฟาโรสปอริน
*เกลือแร่ต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเช่น ธาตุเหล้ก สังกะสี จะสามารถจับกับยาเอนโรฟลอกซาซิน ทำให้ยาไม่ถูกดูดซึม ดังนั้นในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา 2 ตัวนี้ร่วมกัน ควรให้ยาห่างกันอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง

ข้อควรรู้
* ณ ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ยาตัวนี้ในรูปแบบยาเม็ดยังมีราคาที่ค่อนข้างจะสูง เมื่อเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพของประเทศไทย เจ้าของสัตว์ที่ไม่พร้อมที่เรื่องค่าใช้จ่าย ควรแจ้งคุณหมอล่วงหน้า เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างคุณหมอ และเจ้าของสัตว์ผู้ใช้บริการ
*ยาเม็ดเอนโรฟลอกซาซิน จะมีการเคลือบเพื่อดับกลิ่น และรสของยา ดั้งนั้นในกรณีที่มีการหัก หรือบดเม็ดยาจะทำให้สัตว์ป่วยสามารถรับรู้รสขมจัดของยาได้
*การบดยาเพื่อผสมกับอาหารหลายๆชนิด ไม่สามารถดับกลิ่น หรือรสของยาได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ Bayer ได้ทำการผลิตยาตัวนี้ในรูป flavor-tab ซึ่งมีรสชาตที่ดีขึ้น ซึ่งทำให้ให้ยาได้ง่ายขึ้น
*ในการติดเชื้อบางชนิด หรือการติดเชื้อในบางอวัยวะ อาจต้องใช้ในขนาดที่สูงกว่าที่แนะนำ ดังนั้นควรถามสัตวแพทย์ทุกครั้งที่มีข้อสงสัย
*ไม่ควรใช้ในตระกูลนี้กับสัตว์ที่มีปัญหาโรคลมชัก
* เอนโรฟลอกซาซินอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อจอประสาทตา (Retina) ในแมวเมื่อได้รับยาในขนาดสูงได้ ซึ่งแมวอาจตาบอดชั่วคราว หรือถาวรจากผลของยาได้ ณ. ขณะปัจจุบันเราพบปัญหานี้ปัญหานี้เฉพาะในรายที่ได้รับยาเอนโรฟลอกซาซิน เท่านั้น ยังไม่พบปัญหานี้ในรายที่ใช้ยาตระกูลฟลูออโรควิโนโลนตัวอื่นๆ ถึงแม้ว่าในทางทฤษฎียาตระกูลนี้จะทำให้เกิดความเสียหายต่อจอประสาทตา (Retina) ในแมวได้ก็ตาม
* เอนโรฟลอกซาซินสามารถทำให้เกิดผลึกของยาในปัสสาวะได้ แต่ยังไม่มีรายงานว่ายาเอนโรฟลอกซาซินทำให้เกิดนิ่ว
*เอนโรฟลอกซาซินเป็นพิษในคน ถ้าได้รับโดยการกิน หรือฉีด โดยเฉพาะในเด็ก ดังนั้นควรเก็บยาให้พ้นมือเด็ก แต่ถ้าเป็นการสัมผัสกับยา เช่นถือเม็ดยาเพื่อป้อนแก่สัตว์เลี้ยงจะไม่มีปัญหาใดๆ

ยาน่ารู้ 3 ออร์บิฟลอกซาซิน (Orbifloxacin)

ยาน่ารู้ 3 ออร์บิฟลอกซาซิน (Orbifloxacin)

บทความเกี่ยวกับยาต่างๆ ผู้เขียนเขียนขึ้นมาเพื่อให้ความรู้แก่เจ้าของสัตว์ โดยอยู่บนความเชื่อที่ว่า เจ้าของสัตว์ควร และมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูลของรักษาจากสัตวแพทย์ที่ได้กระทำกับสัตว์สัตว์เลี้ยงของท่านอย่างเต็มที่เท่าที่จำเป็นที่อย่างที่ควรจะได้รับตามสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าหมดยุคของการปกปิดข้อมูลแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และไม่สนับสนุนให้ผู้ไปหาซื้อยามาลองใช้กับสัตว์ป่วยของตนเองโดยไม่ผ่านการตรวจ และให้คำแนะนำในการใช้ยาต่างๆจากสัตวแพทย์ เพราะคุณ หรือสัตว์ได้รับผลเสียบางอย่างที่คาดไม่ถึงได้ รวมถึงจะขอเตือนว่าอย่าเอาข้อสิ่งที่ได้อ่านไปแสดงความอวดรู้ต่อสัตวแพทย์ที่คุณใช้บริการโดยเด็ดขาด เพราะว่าสัตวแพทย์ที่คุณใช้บริการก็เป็นแค่ปุถุชนคนหนึ่งซึ่งอาจมีทิฐิ และอารมณ์บางอย่างซึ่งอาจเกิดผลเสียบางอย่างกับคุณ หรือสัตว์เลี้ยงของคุณได้ ถึงแม้ว่า ผู้เขียน เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าสัตวแพทย์ทุกคนมีความเป็นมืออาชีพที่สูงพอก็ตาม

ชื่อการค้า: Orbax
รูปแบบของยา: เม็ดขนาด 5.7 mg, 22.7 mg และ 68 mg

ออร์บิฟลอกซาซิน เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones) ซึ่งยาตัวอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนี้ได้แก่ เอนโรฟลอกซาซิน ซิโปรฟลอกซาซิน มาร์โบฟลอกซาซิน เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้ จะออกฤทธิ์ต่อตัวแบคทีเรียโดยการยับยั้ง DNA gyrase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการ DNA transcription ของแบคทีเรีย ซึ่งผลของการยับยั้บ DNA gyrase นี้จะทำให้ไม่สามารถอ่านคำสั่งที่อยู่บน DNA ได้ ซึ่งผลที่ตามมาคือเซลล์ของแบคทีเรียตาย แต่ยาในกลุ่มนี้ไม่สามารถออกฤทธิ์ DNA gyrase ฃองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น สุนัข แมว หรือมนุษย์ได้เพราะโครงสร้างทางเคมีของตัว DNA gyrase ต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ยาออร์บิฟลอกซาซินเป็นยาฟลูออโรควิโนโลนที่มีการดูดซึมจากทางเดินอาหารที่ค่อนข้างเร็ว หรือกล่าวอีกอย่างคือ 100% ของยาจะถูกดูดซึมภายใน 46 นาที

ในทางสัตวแพทย์จะใช้ยาตัวนี้ในกรณีต่อไปนี้
*การติดเชื้อ Pseudomonas
*การติดเชื้อ Staphylococci รวมทั้งการติดเชื้อตัวนี้ที่ผิวหนัง
อย่างไรก็ตามยาตระกูลฟลูออโรควิโนโลนจะไม่ได้ผลกับการติดเชื้อแอนาโรบิค เช่น ฝี หรือ การติดเชื้อในช่องปาก

ผลข้างเคียงจาการใช้ยาตัวนี้ได้แก่
*มีอาการอาเจียนหรือท้องเสียในรายที่ใช้ยาตัวนี้สูงกว่าขนาดที่แนะนำ 10 เท่า แต่ยังไม่พบอาการเหล่านี้เมื่อใช้ในขนาดที่แนะนำ
*ทำให้กระดูกอ่อนตามข้อต่อต่างๆเกิดความเสียหายจากผลของยา ซึ่งพบได้ในสุนัขอายูไม่เกิน 8 เดือน แต่ไม่พบปัญหานี้ในแมว

การใช้ยาออร์บิฟลอกซาซินร่วมยาตัวอื่น
*ยาซูคราเฟต (Sulcrafate) ซึ่งเป็นยารักษาโรคกระเพาะตัวหนึ่ง จะสามารถจับกับยาออร์บิฟลอกซาซิน ทำให้ยาไม่ถูกดูดซึม ดังนั้นในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา 2 ตัวนี้ร่วมกัน ควรให้ยาห่างกันอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง
* ยาออร์บิฟลอกซาซินอาจทำให้ระดับยาทีโอฟิลิน (ยาขยายหลอดลม) ที่ใช้ร่วมกัน ในกระแสเลือดสูงขึ้นได้ ควรถามสัตวแพทย์ทุกครั้งที่ได้ยา เพื่อที่สัตวแพทย์จะได้ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เมื่อจำเป็นต้องใช้ยา 2 ตัวนี้ร่วมกัน
*ในรายที่ได้รับยาไซโคสปอริน เช่นในรายที่ใช้ยาตัวนี้ในการรักษาโรคภูมิแพ้ ยาออร์บิฟลอกซาซินจะทำให้ยาไซโคสปอรินเป็นพิษต่อไตได้รุนแรงขึ้น ดังนั้นควรถามสัตวแพทย์ทุกครั้งที่ได้ยา เพื่อที่สัตวแพทย์จะได้ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เมื่อจำเป็นต้องใช้ยา 2 ตัวนี้ร่วมกัน
*ยาออร์บิฟลอกซาซินจะมีการออกฤทธิ์แบบเสริมฤทธิ์กันในการต้านการติดเชื้อแบคทีเรีย เมื่อใช้ร่วมกับยาในกลุ่ม เพนนิซิลิน หรือเซบฟาโรสปอริน
*เกลือแร่ต่างๆที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเช่น ธาตุเหล้ก สังกะสี จะสามารถจับกับยาออร์บิฟลอกซาซิน ทำให้ยาไม่ถูกดูดซึม ดังนั้นในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา 2 ตัวนี้ร่วมกัน ควรให้ยาห่างกันอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง

ข้อควรรู้

*ยาเม็ดออร์บิฟลอกซาซิน จะมีการเคลือบเพื่อดับกลิ่น และรสของยา ดั้งนั้นในกรณีที่มีการหัก หรือบดเม็ดยาจะทำให้สัตว์ป่วยสามารถรับรู้รสขมจัดของยาได้
*การบดยาเพื่อผสมกับอาหารหลายๆชนิด ไม่สามารถดับกลิ่น หรือรสของยาได้
*ในการติดเชื้อบางชนิด หรือการติดเชื้อในบางอวัยวะ อาจต้องใช้ในขนาดที่สูงกว่าที่แนะนำ ดังนั้นควรถามสัตวแพทย์ทุกครั้งที่มีข้อสงสัย
*ไม่ควรใช้ในตระกูลนี้กับสัตว์ที่มีปัญหาโรคลมชัก
* ณ ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ยาตัวนี้ยังมีราคาที่ค่อนข้างจะสูง เมื่อเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพของประเทศไทย เจ้าของสัตว์ที่ไม่พร้อมที่เรื่องค่าใช้จ่าย ควรแจ้งคุณหมอล่วงหน้า เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างคุณหมอ และเจ้าของสัตว์ผู้ใช้บริการ

Wednesday, October 6, 2010

อาการคันในสัตว์เลี้ยง

อาการคันในสัตว์เลี้ยง

อาการคันในสัตว์เลี้ยงเป็นปัญหาที่ผู้เลี้ยงสัตว์ต้องได้เจอทุกคน เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทำให้สัตวแพทย์และเจ้าของสัตว์มีปัญหาไม่เข้าใจกันอยู่บ่อยๆ จัดได้ว่าเป็นตัวที่ทำให้สัตวแพทย์และเจ้าของสัตว์ต้องฝันร้ายอยู่บ่อยๆ อาการคันจัดได้ว่าเป็นอาการหนึ่งของโรคผิวหนัง ซึ่งโรคผิวหนังทีทำให้เกิดอาการคันในสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวมักมีหลายโรคร่วมกัน และมักเหนี่ยวนำให้ปัญหารุนแรงกว่าเป็นแค่โรคเดียว นอกจากนี้อาการคันที่เกิดจากโรคบางโรคจะตอบสนองต่อยาลดอาการคันข้างดี แต่ส่วนใหญ่จะไม่ตอบสนอง หรือมีอาการคันกลับมาหลังจากที่หยุดยาลดคันไม่นาน

โรคที่ทำให้เกิดอาการคันได้ การติดปรสิตของผิวหนัง การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือยีสต์ของผิวหนัง กลุ่มโรคภูมิแพ้ มะเร็งของผิวหนังบางชนิด หรือความผิดปกติทางจิตเวชเป็นต้น มะเร็งของผิวหนังหรือความผิดปกติทางจิตเวชพบได้น้อยมาก ในขณะที่การติดปรสิตของผิวหนัง การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือยีสต์ของผิวหนัง กลุ่มโรคภูมิแพ้ มักเป็นตัวหลักในการสร้างปัญหา และมักเกิดร่วมกัน ทำให้กระบวนการตรวจ วินิจฉัย และรักษามีความยุ่งยาก ซับซ้อน สำหรับตัวผู้เขียนถือว่าเป็นปัญหาที่ท้าทายความสามารถอย่างหนึ่ง และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องตัดสินใจปิดคลินิกระยะเวลาหนึ่งเพื่อไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลียเมื่อ ค.ศ. 2007

ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำเจ้าของสัตว์ที่กำลังมีปัญหาเรื่องคันว่า ควรพาสัตว์เลี้ยงของท่านไปเข้ารับการตรวจ และรักษาจากสัตวแทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อนำคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ามาสู่สัตว์เลี้ยงของท่าน และตัวท่านเอง

Tuesday, October 5, 2010

อาการคัน และกลุ่มโรคภูมิแพ้ในสัตว์เลี้ยง

อาการคัน และกลุ่มโรคภูมิแพ้ในสัตว์เลี้ยง

การที่สัตว์เลี้ยงของคุณมีปัญหาเรื่องอาการคัน มักนำมาซึ่งปัญหาที่ลำบากใจทั้งสัตว์ และตัวคุณเจ้าของสัตว์เสมอ ในหลายๆราย ปัญหานี้ยังเป็นตัวทดสอบถึงความผูกพันระหว่างตัวคุณ และสัตว์เลี้ยงของคุณ รวมถึงยังทดสอบถึงความเชื่อมั่นของคุณต่อสัตวแพทย์ที่ดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณอีกด้วย อาการคันจะให้สัตว์เลี้ยงของคุณเกา และแทะตัวเองตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดการถลอก และมีบาดแผลเกิดขึ้นตามมา สาระที่มีอยู่ในเอกสารที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะเป็นการให้ความรู้ และทำความเข้าใจถึงปัญหา และสาเหตุต่างของอาการคัน รวมถึงโรคภูมิแพ้แต่ละชนิดในสัตว์เลี้ยงของคุณเจ้าของสัตว์ทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้

สาเหตุของอาการคันที่พบได้บ่อย
สาเหตุของอาการคันเรื้อรังที่พบได้บ่อย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การติดเชื้อของผิวหนัง ปรสิตของผิวหนัง และกลุ่มสุดท้าย “กลุ่มโรคภูมิแพ้” การติดเชื้อของผิวหนังมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ สำหรับปรสิตของผิวหนังตัวหลักๆได้แก่ หมัด และไรตระกูลหิด ที่คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มักพบว่าสัตว์ป่วยที่มีอาการคันรุนแรง และเรื้อรังหลายๆรายมีสาเหตุมาจากหมัด และไรตระกูลหิด และทางเราพบว่าเกือบทุกรายที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้จะมีอาการแย่ลงเมื่อเริ่มมีปัญหาการติดหมัด! ส่วนกลุ่มโรคภูมิแพ้ได้แก่ การแพ้น้ำลายของหมัด การแพ้สารภูมิแพ้ในอากาศ การแพ้สารภูมิแพ้ในอาหาร และการแพ้สัมผัส

กลุ่มโรคภูมิแพ้ คืออะไร

กลุ่มโรคภูมิแพ้ คือภาวะภูมิไวเกินซึ่งเป็นการตอบสนองต่อสารที่เรียกว่าสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งอุบัติการณ์ของกลุ่มโรคภูมิแพ้พบได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในคน และสัตว์ ในคนจะแสดงอาการของโรคภูมิแพ้โดยการจาม น้ำมูกน้ำตาใหล หรือ หอบหืด ส่วนในสุนัขเกือบทั้งหมดจะแสดงอาการทางผิวหนังได้แก่ผิวหนังแดง คัน มีการติดเชื้อของผิวหนังและหูที่ไม่ยอมหายขาด และขนร่วง

กลุ่มโรคภูมิแพ้มีอะไรบ้าง

โรคในกลุ่มโรคภูมิแพ้ตัวหลักๆได้แก่ การแพ้น้ำลายของหมัด การแพ้สารภูมิแพ้ในอากาศ การแพ้สารภูมิแพ้ในอาหาร และการแพ้สัมผัส ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงการแพ้สัมผัสเพราะพบได้น้อยมาก จะขอกล่าวถึง 3 ตัวที่เหลือ ซึ่งพบได้ค่อนข้างบ่อย

1.การแพ้น้ำลายของหมัด เป็นโรคผิวหนังของสุนัข และแมวที่พบได้บ่อยที่สุด ที่คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่า 70% ของสุนัข และแมวที่มีปัญหาโรคผิวหนัง จะมีปัญหาการแพ้น้ำลายหมัดร่วมอยู่ด้วย โรคนี้เกิดจากการแพ้น้ำลายหมัด ดังนั้นน้ำลายจากหมัดเพียงแค่ 1ตัว ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดปัญหาการแพ้ได้แล้ว และปฏิกริยาการแพ้ต่อน้ำลายหมัดจะเกิดหลังจากสัตว์ได้รับน้ำลาย 2 ชั่วโมง ถึง 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเวลาที่มากพอที่จะหมัดจะหนีไปก่อนที่จะแสดงอาการคัน ทำให้ไม่พบตัวหมัดในสัตว์ตัวที่มีปัญหาได้ จึงมักเกิดคำถามในใจของเจ้าของสัตว์ว่า “ทำไมหมอว่าหมา (แมว) ของผม/ฉัน มีปัญหาการแพ้น้ำลายหมัด ในเมื่อผม/ฉัน ไม่เคยพบหมัดบนตัวหมา (แมว) ของผม/ฉันเลย” ที่สำคัญอีกประการคือ ภูมิอากาศในประเทศไทยเป็นแบบร้อนชื้น ซึ่งเหมาะแก่การแพร่กระจาย และดำรงชีวิตของหมัด จึงสามารถพบปัญหาหมัดในประเทศไทยได้ตลอดปี เนื่องจากการแพ้น้ำลายของหมัดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย จึงจำเป็นต้องควบคุมหมัดอย่างเต็มที่ก่อนที่จะทำการตรวจหาโรคภูมิแพ้ตัวอื่น และเนื่องจากทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าเกือบทุกรายที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้จะมีอาการแย่ลงเมื่อเริ่มมีปัญหาการติดหมัด จึงจำเป็นอีกเช่นกันที่ต้องควบคุมหมัดอย่างเต็มที่ ในทุกๆรายที่มีปัญหาภูมิแพ้ (รายละเอียดกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง “การแพ้น้ำลายหมัด”)

2.การแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร สัตว์บางตัวจะมีการแพ้องค์ประกอบบางอย่างในอาหาร โดยทั่วไปมักแพ้องค์ประกอบพวกโปรตีน หรือคาร์โบไฮเดรทเช่น เนื้อวัว หมู ไก่ ข้าวโพด แป้งสาลี หรือถั่วเหลือง แต่บางตัว เราพบว่าสามารถแพ้พวกสารปรุงแต่งต่างๆเช่น สารถนอมอาหาร สารแต่งสีและกลิ่น เป็นต้น การวินิจฉัยการแพ้สารภูมิแพ้ในอาหารนั้น ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะใช้วิธีทดสอบโดยการให้สัตว์ที่มีปัญหากินอาหารสูตรพิเศษสำหรับการทดสอบเพียงอย่างเดียวเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วประเมินอาการคัน ถ้าอาการคันลดลงจนต่ำกว่าที่คาดการณ์ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะทดลองให้กลับไปกินอาหารเดิม แล้วประเมินอาการคันอีกครั้ง ถ้าสรุปได้ว่า มีปัญหาการแพ้สารภูมิแพ้ในอาหาร ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะมีการทดสอบหาว่าองค์ประกอบ หรือสารตัวใดในอาหารที่เป็นปัญหา เพื่อที่จะได้หาวิธีแก้ปัญหาต่อไป (รายละเอียดกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง “การแพ้สารภูมิแพ้ในอาหาร”)

3.การแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ โรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ หรือบางคนเรียกว่าโรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้อากาศ (Canine atopic dermatitis, allergic dermatitis, canine atopy) เป็นอาการของโรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวเนื่องกับลักษณะทางกรรมพันธุ์ โดยจะแสดงปฏิกิริยาภูมิแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น หรือเกสร ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าสุนัขที่มีปัญหามักจะแสดงอาการครั้งแรกในช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปี สัตว์ที่มีปัญหาของโรคนี้จะแสดงอาการถู เลีย แทะ หรือเกา บริเวณเท้า หน้า หู รักแร้หรือโคนขาหนีบ ซึ่งทำให้ขนร่วง ผิวหนังแดง และหนาตัวขึ้นตามมา การวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศค่อนข้างยุ่งยาก และใช้เวลา ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะอาศัยข้อมูลประวัติของโรคผิวหนัง อาการที่แสดงออก ร่วมกับการประเมินอาการคันที่เหลืออยู่ หลังจากการจำกัดการได้รับน้ำลายหมัด และการจำกัดการแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้งจากตัวสัตว์ป่วย เจ้าของสัตว์และทุกคนในบ้าน รวมทั้งสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้องทุกคน การรักษาในปัจจุบัน เราจะมุ่งเน้นไปที่การจำกัดอาการของโรค และทำให้คุณภาพชีวิตของเจ้าของสัตว์ และตัวสัตว์ป่วยเองให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ (รายละเอียดกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง “โรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ”)

4.การติดเชื้อแทรกซ้อนในกลุ่มโรคภูมิแพ้ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าโรคในกลุ่มโรคภูมิแพ้ มักเป็นทำให้เกิดการเป็นๆหายๆของการติดเชื้อของผิวหนังและหู ซึ่งเชื้อที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อแทรกซ้อนได้แก่ แบคทีเรีย และยีสต์ ในรายที่มีปัญหาภูมิแพ้แล้วมีการติดเชื้อแทรกซ้อน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าอาการคันจะรุนแรงขึ้นในทุกๆราย ดังนั้นในการควบคุมอาการคัน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จำเป็นต้องรักษาการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วยเสมอ (รายละเอียดกรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง “โรคติดเชื้อของผิวหนัง”)

เราสามารถรักษาโรคในกลุ่มโรคภูมิแพ้ให้หายขาดได้หรือไม่
โชคไม่ดีที่เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาโรคภูมิแพ้ให้หายขาดได้ ไม่ว่าในคนหรือสัตว์ก็ตาม และโรคนี้เป็นตลอดชีวิต การรักษาในปัจจุบัน เราจะมุ่งเน้นไปที่การจำกัดอาการของโรค และทำให้คุณภาพชีวิตของเจ้าของสัตว์และตัวสัตว์ป่วยเองให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะมีการสร้างโปรแกรมการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่าย และวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละราย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการควบคุมโรคกลุ่มนี้

เราสามารถรักษาอาการคันโดยไม่ต้องทำการทดสอบพิเศษต่างๆเลยได้หรือไม่
คำตอบคือได้ เราสามารถสามารถใช้ยา โดยเฉพาะยาในกลุ่มสเตียรอยด์ในการควบคุมอาการคันได้ อย่างไรก็ตามการที่ไม่ได้กำจัดต้นตอของสาเหตุของอาการคันออกไปก่อน เราพบว่าอาการคันจะกลับมาหลังหยุดยา และที่สำคัญการใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานานๆ มักก่อปัญหา และผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยาได้ ด้วยเหตุผลนี้ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าควรที่จะทำการทดสอบพิเศษเพื่อหาสาเหตุของปัญหา เพื่อกำจัดออกไป หรือถ้ากำจัดออกไปไม่ได้เรายังสามารถเลือกวิธีควบคุมปัญหาที่มีความปลอดภัยสูง และมีผลข้างเคียงต่ำได้

Tuesday, September 28, 2010

ยาน่ารู้2 ดอกซี่ซัยคลิน(Doxycycline หรือVibramycin)

บทความเกี่ยวกับยาต่างๆ ผู้เขียนเขียนขึ้นมาเพื่อให้ความรู้แก่เจ้าของสัตว์ โดยอยู่บนความเชื่อที่ว่า เจ้าของสัตว์ควร และมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูลของรักษาจากสัตวแพทย์ ที่ได้กระทำกับสัตว์สัตว์เลี้ยงของท่านอย่างเต็มที่ เท่าที่จำเป็นที่อย่างที่ควรจะได้รับตามสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าหมดยุคของการปกปิดข้อมูลแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และไม่สนับสนุนให้ผู้ไปหาซื้อยามาลองใช้กับสัตว์ป่วยของตนเอง โดยไม่ผ่านการตรวจ และให้คำแนะนำในการใช้ยาต่างๆจากสัตวแพทย์ เพราะคุณ หรือสัตว์ได้รับผลเสียบางอย่างที่คาดไม่ถึงได้ รวมถึงจะขอเตือนว่าอย่าเอาสิ่งที่ได้อ่านไปแสดงความอวดรู้ต่อสัตวแพทย์ที่คุณใช้บริการโดยเด็ดขาด เพราะว่าสััตวแพทย์ที่คุณใช้บริการ ก็เป็นแค่ปุถุชนคนหนึ่งซึ่งอาจมีทิฐิ และอารมณ์บางอย่างซึ่งอาจเกิดผลเสียบางอย่างกับคุณ หรือสัตว์เลี้ยงของคุณได้ ถึงแม้ว่า ผู้เขียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าสัตวแพทย์ทุกคนมีความเป็นมืออาชีพที่สูงพอก็ตาม

ยาน่ารู้2 ดอกซี่ซัยคลิน(Doxycycline หรือVibramycin)

ชื่อการค้า: Vibramycin หรือ Vibravet หรืออีกหลายชื่อการค้า

รูปแบบของยา: ยาผงละลายน้ำ ยาหลอดป้าย หรือยาเม็ดขนาด 100mg

วิธีการออกฤทธิ์
Doxycycline จัดว่าเป็นยาในตระกูล tetracycline ซึ่งออกฤทธิ์โดยการยัยั้งการสร้างโปรตีนบางชนิดของแบคทีเรีย

ในทางสัตวแทย์ เรามักใช้ยาDoxycycline ในรายต่อไปนี้
*รักษาการติดเชื้อHaemobartonella felis
* รักษาการติดเชื้อBorrelia burgdorferi
* รักษาการติดเชื้อChlamydia psittaci
* รักษาการติดเชื้อEhrlichia species
* รักษาการติดเชื้อMycoplasma species

ผลข้างเคียง
ยาตัวนี้ระคายเคืองทางเดินอาหาร ดังนั้นอาการคลื่นไส้ และอาเจียนจะค่อนข้างพบได้บ่อยในรายที่รับยานี้ ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการให้ยาพร้อมกับอาหาร ยาตัวนี้จะทำให้เกิดฟันดำในกรณีที่ใช้ในลูกสัตว์ และอาจรบกวนการสร้างกระดูกในรายที่ยังไม่โตเต็มที่


การใช้Doxycyclineร่วมกับยาอื่น
การใช้Doxycycline ร่วมกับยาลดกรด หรือยาบำรุงเลือด จะทำให้ยาไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารทำให้การรักษาอาจไม่ได้ผล เช่นเดียวการได้ยาพร้อมกับนม หรือผลิตภัณฑ์นม ตับ หรืออาหารธาตุเหล็ก หรือแคลเซี่ยมสูงก็มีผลยับยั้งการดูดซึมยาเช่นกัน ถ้าจำเป็นต้องใช้ร้วมกันจริงๆ ควรให้ห่างกันอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง

การใช้Doxycycline ร่วมกับยา theophylline (ยาขยายหลอดลมชนิดหนึ่ง) อาจทำให้อาการคลื่นไส้ และอาเจียนพบได้บ่อยขึ้น และรุนแรงขึ้น

การใช้Doxycycline ร่วมกับยา digoxin (ยารักษโรดหัวใจชนิดหนึ่ง) อาจทำให้ฤทธิ์ของ digoxin แรงขึ้น จนอาจเกิดพิษได้

ณ ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ยา Doxycycline ในรูปแบบยาหลอดป้าย และยาน้ำราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพของประเทศไทย เจ้าของสัตว์ที่ไม่พร้อมเรื่องค่าใช้จ่าย ควรแจ้งคุณหมอล่วงหน้า เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างคุณหมอ และเจ้าของสัตว์ผู้ใช้บริการ

ยาน่ารู้1 ยาผสมอมอกซี่ซิลิน กับกรดคลาวูลานิก (Amoxicillin-clavulanic acid)

บทความเกี่ยวกับยาต่างๆ ผู้เขียนเขียนขึ้นมาเพื่อให้ความรู้แก่เจ้าของสัตว์ โดยอยู่บนความเชื่อที่ว่า เจ้าของสัตว์ควร และมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูลของรักษาจากสัตวแพทย์ ที่ได้กระทำกับสัตว์สัตว์เลี้ยงของท่านอย่างเต็มที่ เท่าที่จำเป็นที่อย่างที่ควรจะได้รับตามสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าหมดยุคของการปกปิดข้อมูลแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และไม่สนับสนุนให้ผู้ไปหาซื้อยามาลองใช้กับสัตว์ป่วยของตนเอง โดยไม่ผ่านการตรวจ และให้คำแนะนำในการใช้ยาต่างๆจากสัตวแพทย์ เพราะคุณ หรือสัตว์ได้รับผลเสียบางอย่างที่คาดไม่ถึงได้ รวมถึงจะขอเตือนว่าอย่าเอาข้อสิ่งที่ได้อ่านไปแสดงความอวดรู้ต่อสัตวแพทย์ที่คุณใช้บริการโดยเด็ดขาด เพราะว่าสัตวแพทย์ที่คุณใช้บริการก็เป็นแค่ปุถุชนคนหนึ่งซึ่งอาจมีทิฐิ และอารมณ์บางอย่างซึ่งอาจเกิดผลเสียบางอย่างกับคุณ หรือสัตว์เลี้ยงของคุณได้ ถึงแม้ว่า ผู้เขียน เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าสัตวแพทย์ทุกคนมีความเป็นมืออาชีพที่สูงพอก็ตาม


ยาน่ารู้1 ยาผสมอมอกซี่ซิลิน กับกรดคลาวูลานิก (Amoxicillin-clavulanic acid)

ชื่อการค้า: Clavamox, Augmentin และอีกหลายชื่อการค้า
รูปแบบของยา: ยาผงละลายน้ำ และยาเม็ดขนาด 62.5 mg, 125 mg, 250 mg, 375 mg, 500 mg, 625 mg, 1000 mg

Amoxicillin เป็นยาปฏิชีวนะในตระกูล เพนนิซิลิน (Penicillin) ที่เป็นที่เรารู้จักกันดี มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ดี มีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงจากการใช้ยาน้อยมาก Amoxicillin เป็นยาปฏิชีวนะซึ่งปรับปรุงพัฒนาให้มีการออกฤทธิ์ที่ดีกว่า และครอบคลุมการรักษาการติดเชื้อได้กว้างกว่า Penicillin อีกทั้งตัวยา Amoxicillin สามรถถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ดีกว่า และมีความทนกรดมากว่า Penicillin อย่างไรก็ตาม Amoxicillin ไม่สามารถทนเอนไซม์จากเชื้อStaphilicocci ได้ นักเภสัชวิทยาพบว่า ถ้าเราสามารถยับยั้งเอนไซม์จากเชื้อStaphilicocciได้ ตัวยาAmoxicillin ก็จะสามารถยับยั้งการติดเชื้อStaphilicocciได้ จึงได้มีการนำ clavulanic acid มาผสมกับยาAmoxicillin เพื่อรักษาการติดเชื้อStaphilicocci

ในทางสัตวแทย์ เรามักใช้ยาผสมอมอกซี่ซิลิน กับกรดคลาวูลานิกในรายต่อไปนี้

*แผลติดเชื้อจาการถูกกัด
*การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนต้น
*การติดเชื้อในช่องปาก และฟัน
*การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
*การติดเชื้อStaphilicocci ที่ผิวหนัง

การใช้Amoxicillin-clavulanic acid ร่วมกับยาอื่น

ทั้งสัตวแพทย์ และแพทย์ส่วนใหญ่เชื่อว่าAmoxicillin-clavulanic acid จะมีการเสริมฤทธิ์ของยากับยาในกลุ่ม fluoroquinolone (ciprofloxacin, enrofloxacin, orbifloxacin, etc.) และฤทธิ์ของAmoxicillin-clavulanic acidจะลดลงเมื่อใช้ยาตัวนี้ร่วมกับยาตระกูล Tetracycline (doxycycline, oxytetracycline, etc)

ผลข้างเคียง

อาจทำให้การอาการแพ้ถึงช็อคตายได้ในรายที่แพ้ยาตระกูลPenicillin (พบได้น้อยมากๆ) นอกจากนี้ในบางรายอาจมีปัญหาคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการให้พร้อมกับอาหาร

ข้อควรระวัง

*Amoxicillin-clavulanic acidในรูปแบบยาผงละลายน้ำ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นหลังจากผสมน้ำแล้ว ซึ่งจะอยู่ได้ 10 วัน ถึงแม้ว่ายาตัวนี้สามารถอยู่นอกตู้เย็นได้ประมาณหนึ่งวันโดยยาไม่เสื่อมสภาพ
*Amoxicillin-clavulanic acid สามารถให้ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
*ยาตัวนี้สามารถผ่านรกไปยังลูกอ่อนในสัตว์ หรือคนตั้งท้อง และยังไม่มีรายงานเรื่องความปลอดภัยในสัตว์ หรือคนที่ตั้งท้อง (ถ้ามีรายงานแล้ว ช่วยรบกวนแจ้งผู้เขียนด้วย เพื่อจะได้ทำการแก้ไข ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ)
* ณ ขณะที่เขียนเรื่องนี้ ยาตัวนี้ยังมีราคาที่ค่อนข้างจะสูง เมื่อเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพของประเทศไทย เจ้าของสัตว์ที่ไม่พร้อมที่เรื่องค่าใช้จ่าย ควรแจ้งคุณหมอล่วงหน้า เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างคุณหมอ และเจ้าของสัตว์ผู้ใช้บริการ

Monday, September 27, 2010

ผิวหนังอักเสบของแมวเหมียว หรือ แมว คันๆๆๆ( Feline dermatitis VS Felline pruritus)

ผิวหนังอักเสบของแมวเหมียว หรือ แมว คันๆๆๆ( Feline dermatitis VS Felline pruritus)
อาการคัน จากผิวหนังอักเสบในแมวเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในแมวที่มีปัญหาโรคผิวหนัง ซึ่งเกือบทุกโรคจะแสดงรูปแบบภายนอกที่เห็นด้วยตาเปล่าคล้ายๆ จนเกือบจะเหมือนกัน แต่การดำเนินโรคต่างกันสิ้นเชิง การแสดงรูปแบบภายนอก จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า หนึ่งอย่างดังนี้ ขนร่วง ที่เกิดจากการเลีย หรือเกา (Self-induced alopecia), มีสะเก็ดเม็ดเล็กๆขนาดประมาณครึ่งมิลลิเมตรกระจายอยู่ตามลำตัว (Miliary dermatitis), การเกิด eosinophilic granuloma complex เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบในแมวได้แก่

1. กลากแมว (Dermatophyte หรือ ringworm) เป็นการติดเชื้อที่ผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุดในแมว สามารถติดสู่คนได้
2. กลุ่มโรคภูมิแพ้ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดว่าทำให้เกิดอาการคันในแมว โรคในกลุ่มนี้ได้แก่
+ การแพ้น้ำลายหมัด หรือชิ้นส่วนของตัวหมัด (Flea allergy)
+ การแพ้องค์ประกอบของแมลงต่างๆ (Insect hypersensitivity) เช่น ยุง ผีเสื้อราตรี ผึ้ง แมลงสาป เป็นต้น
+ ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากอาหาร และการแพ้อาหาร (Adverse food reactions หรือ Food allergy)
+ การแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ (Atopy)
+ การแพ้สัมผัส (Contact hypersensitivity)
3. กลุ่มโรคขี้เรื้อน
+ ขี้เรื้อนรูขุมขน (Demodicosis)
+ หิดแมว
+ การติดไรCheyletiella mites หรือรังแคเดินได้
4. การติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial pyoderma)
5. กลุ่มโรค Pemphigus
6. ปฏิกิริยาจากยา (Drug reactions)
7. อาการคันจากผลข้างเคียงของมะเร็งบางชนิด (Paraneoplastic pruritus)
8. อาการขนร่วง จากสาเหตุทางจิตเวช (Psychogenic alopecia)
9. การติดเชื้อไวรัสบางชนิด

อาการที่บอกให้รู้ว่าแมวของคุณมีอาการคัน

อาการที่บอกให้รู้ว่าแมวของคุณมีอาการคัน

แมวเป็นสัตว์ที่เก็บอาการเก่ง ทำให้เจ้าของแมวหลายๆคน (รวมทั้งสัตวแพทย์หลายท่านด้วย)ไม่รู้เลยว่าแมวของตน หรือแมวที่ตนดูแลอยู่มีอาการคัน จนกระทั่งอาการมากจนเก็บอาการไม่อยู่ ถึงได้รู้ว่ามีปัญหา ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง เจ้าของแมวหลายๆคนไม่เชื่อว่าแมวมีอาการคันจนกระทั่งเกิดรอยโรคที่รักษาได้ค่อนข้างยากแล้วถึงจะเชื่อ รวมทั้งตัวสัตวแพทย์หลายๆคนที่มาขอคำแนะนำ ยังไม่ค่อยอยากจะเชื่อว่าแมวที่ตนเองดูแลรักษาอยู่จะมีอาการคัน อาการต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่พบได้บ่อยว่าเป็นบอกว่าแมวของท่านกำลังคัน

1. ขนร่วง ที่เกิดจากการเลีย หรือเกา (Self-induced alopecia) โดยเฉพาะโคนขาหลังด้านใน และใต้ท้อง ---เป็นอาการที่พบได้ค่อนข้างบ่อย

2. มีสะเก็ดเม็ดเล็กๆขนาดประมาณครึ่งมิลลิเมตรกระจายอยู่ตามลำตัว (Miliary dermatitis)

3. การเกิด eosinophilic granuloma complex (eosinophilic plaque, linear granuloma, indolent ulcer, and oral granuloma) --ขออภัยที่ผู้เขียนไม่สามารถให้คำอธิบายที่เป็นภาษาไทยได้

4. การคัน-เกา แถวหัวและคอ พบได้ในรายที่เป็นมาก และอาจสับสนกับการเลียแต่งขนของแมวตามปกติ

5. การเกิดก้อนขนในทางเดินอาหาร หรือการเกิดสังตัง (ข้อสังเกตุส่วนตัวของผู้เขียนเอง)

อยากใคร่ขอรบกวนให้ ท่านเจ้าของแมวลองสังเกตุแมวของท่นดูว่ามีสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ ถ้ามี ควรพาแมวของท่านไปรับการตรวจ-รักษาจากสัตวแพทย์ทันทีที่ท่านสะดวก

Friday, September 24, 2010

อาการที่บอกให้รู้ว่าสุนัขของคุณมีปัญหาหูอักเสบ

หูของสุนัขของท่านมีอาการต่อไปนี้หรือไม่

บวม แดง (Red; swollen), ขนบนใบหูร่วง (Hair loss on pinnae), กลิ่นเหม็น (Bad odor), คัน (Itchy), สะบัดหัวบ่อยๆ (Head shaking), มีก้อนเนื้อ (Masses), ขี้หูมาก (Excessive cerumen), หัวเอียง (Head tilt), มีของเหลวขุ่นๆ ครีมๆ เหลืองๆในรูหู
(Creamy, yellow discharge in the ears), มีหนอง (pus)

ถ้ามีควรพาสุนัขของท่านไปพบสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด

อาการที่บอกให้รู้ว่าสุนัขของคุณมีอาการคัน

ท่านเจ้าของสัตว์เลี้ยง เห็นสุนัขของท่านมีพฤติกรรมต่อไปนี้หรือไม่

ชอบเอาเท้าถูหน้า (rub at the face), เลียแถวท้อง (lick the stomach area), แทะแถวหาง (bite at the tail area) เกาสีข้างลำตัว (scratch at its sides), เอาหลังไถโต๊ะ ผนัง หรือพื้น (roll on its back), เลีย หรือแทะเท้า (lick or chew the paws)

ถ้ามี ควรหาเวลาพาสุนัขของท่านไปพบสัตวแพทย์ เพื่อที่จะได้หาสาเหตุที่ทำให้คัน และจะได้รักษาได้ทัน และง่าย

อาการที่บอกให้รู้ว่าสัตว์เลี้ยงของคุณเป็นโรคผิวหนัง

จากการสังเกตุของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) อาการที่บอกให้รู้ว่าสัตว์เลี้ยงของคุณเป็นโรคผิวหนังได้แก่

แผลเปื่อย แผลถลอก (sores), รังแค (dandruff), ขนร่วง (hair loss), มีสะเก็ดแผล (scabs), ผิวหนังนังแดง (redness), ตาแฉะ (watery eyes), ลมพิษ (hives), หูอักเสบ (ear problems), ผิวหนังร้อนกว่าปกติ ('heat'), กลิ่นตัว (odor), ผิวหนังแฉะ หรือเยิ้ม (sweating), มีเม็ดตุ่มตามตัว (spot), ขนร่วง (Hair loss), ขนหยาบกระด้าง (Dull; unkempt), รังแค และสะเก็ด (Scaly), ผิวหนังแห้ง (Dry), ผิวหนังมัน (Oily), คัน (Itching), ผลัดขนมากผิดสังเกตุ (Over-shedding), สังคตัง (Mats), ก้อนเนื้องอก หรือหูดบนผิวหนัง (Tumors or warts), เห็นตัวเห็บ หมัด เหา หรือไร (Parasites), มีก้อนแปลกๆอยู่ใต้ผิวหนัง (Abnormal lumps under the skin), ตุ่มหนอง (Pustules), มีสะเก็ดที่หัว และคอ (Crusts on neck and head)

จะเห็นได้ว่ามีหลายอาการที่นึกไม่ถึงว่า จะเป็นอาการที่ฟ้องกำลังมีปัญหาที่ผิวหนัง ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอให้ลองสังเกตุที่ตัวสัตว์เลี้ยงของท่านดู ถ้ามีอาการข้างต้น ควรหาเวลาที่สะดวกเพื่อที่จะได้พาสัตว์เลี้ยงของท่านไปพบสัตวแพทย์ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามจนแก้ไขได้ยาก

Friday, September 17, 2010

แบบสอบถามเกี่ยวกับประวัติเกี่ยวกับโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง และแบบสอบถามเกี่ยวกับประวัติเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไปของสัตว์เลี้ยง

แบบสอบถามเกี่ยวกับประวัติเกี่ยวกับโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง และแบบสอบถามเกี่ยวกับประวัติเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไปของสัตว์เลี้ยง (สร้างสรรค์ และออกแบบโดย น.สพ.รังสรรค์ สกุลพลอย)

เพื่อความสะดวก รวดเร็ว สำหรับข้อมูลที่จำเป็นต่อการวินิจฉัย (ซึ่งหลายๆรายแทบเกือบจะวินิจฉัยโรคได้ทันทีจากข้อมูลที่ครบถ้วน และแม่นยำจากคำตอบในแบบสอบถาม) และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับสัตว์เลี้ยง รวมถึงให้เหมาะสมกับข้อจำกัดในด้านๆต่างๆของเจ้าของสัตว์ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ใคร่ขอรบกวนให้ทางเจ้าของสัตว์ป่วยช่วยกรอกแบบสอบถามที่อยู่ข้างล่างนี้

เพื่อความสะดวก รวดเร็ว เจ้าของสัตว์สามารถใช้คำสั่ง copy แบบสอบถาม แล้วไป paste บนโปรแกรม Word แล้วพิมพ์คำตอบแบบสอบถามบน Word ได้ หรือจะพริ้นท์ออกมาแล้วค่อยกรอกแบบสอบถามก้ได้ หรืออาจดาวน์โหลดจากลิงค์นี้

https://docs.google.com/document/d/1u2LAH4cKOLi6Pvrdp5Bzyaq49q4OWS9-smhix7oKoNc/edit

โดยให้ Save เป็นไฟล์ของ Word แล้วกรอกแบบสอบถาม จากนั้นสามารถส่งได้โดยการปริ๊นท์ออกมาแล้วนำมาพร้อมกับสัตว์เลี้ยง หรือส่งมาทาง email หรืออัปโหลดขึ้น google docs แล้วแจ้งลิงค์มาทาง

http://www.facebook.com/Allergyskinvet


ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ยินดีที่จะให้สถานพยาบาลสัตว์อื่นๆ รวมถึงคณะสัตวแพทยศาสตร์ทุกสถาบันนำแบบสอบถามนี้ไปใช้ในงานของท่านได้อย่างเสรี แต่ขอรบกวนช่วยให้เครดิตในการออกแบบ และคำขอบคุณแก่ น.สพ.รังสรรค์ สกุลพลอย ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ และออกแบบเท่านั้น และทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบในกรณีที่สถานพยาบาลสัตว์อื่นๆ รวมถึงคณะสัตวแพทยศาสตร์ทุกสถาบันนำแบบสอบถามนี้ไปใช้แล้วเกิดปัญหาทุกกรณี
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบสอบถามเกี่ยวกับประวัติเกี่ยวกับโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง (สร้างสรรค์ และออกแบบโดย น.สพ.รังสรรค์ สกุลพลอย)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รายละเอียดของสัตว์ป่วย (Patient Detail)
ชื่อสัตว์ป่วย (Name):.............................. พันธุ์ (Breed):..................................... เพศ (Sex): ..................................
วัน/เดือน/ปีเกิด/อายุ (Date of birth/Age):....................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำถามทั่วไป(General Questions)
1. ปัญหาหลักที่พบบ่อย (What is the main problem?): ............................................................................................
2. อายุที่เริ่มเห็นอาการ (At what age was this condition first noticed?): ....................................................................
3. เคยแสดงอาการโรคผิวหนังมาก่อนหรือไม่ (Has there ever been any previous dermatitis?) ( )ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่ (No)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อาการผิดปกติที่พบ (Symptoms?)
เห็นอาการ หรือสิ่งผิดปกติต่อไปนี้หรือไม่ (Have any of the following been observed?)
( )แผลเปื่อย แผลถลอก (sores) ( )รังแค (dandruff) ( )ขนร่วง (hair loss) ( )มีสะเก็ดแผล (scabs)
( )ผิวหนังแดง (redness) ( )ตาแฉะ (watery eyes) ( )ลมพิษ (hives) ( )หูอักเสบ (ear problems)
( )ผิวหนังร้อนกว่าปกติ ('heat') ( )กลิ่นตัว (odor) ( )ผิวหนังแฉะ หรือเยิ้ม (sweating)
( )หนื่อยง่าย (tiredness) ( )น้ำหนักตัวลดลงกว่าปกติ (weight loss) ( )น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นกว่าปกติ (weight gain)
( )อาเจียน (vomiting) ( )ท้องเสีย (diarrhea) ( )ซึมผิดสังเกตุ (depression)
( )มีเม็ดตุ่มตามตัว (spot) ( )กินอาหารมากกว่าปกติ (increased appetite) ( )กินน้ำมากกว่าปกติ (increased thirst)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สัตว์เลี้ยงของคุณ (Does your pet):
( )ชอบเอาเท้าถูหน้า (rub at the face) ( )เลียแถวท้อง (lick the stomach area)
( )แทะแถวหาง (bite at the tail area) ( )จาม (sneeze)
( )เกาสีข้างลำตัว (scratch at its sides) ( )เอาหลังไถโต๊ะ ผนัง หรือพื้น (roll on its back)
( )เลีย หรือแทะเท้า (lick or chew the paws) ( )มีน้ำมูก (snort)
( )หายใจฟืดฟาด (wheeze)
อื่นๆ (โปรดระบุ) (other?(Please specify)).................................................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การเปลี่ยนแปลงของอาการ(Do the symptoms vary?)
1. ถ้าเคยมีปัญหาโรคผิวหนังมาก่อน อยากทราบว่า อาการมักแย่ลงในช่วงใด (If the dermatitis has been present for some times are the symptoms worse in):
( )ฤดูร้อน (Summer?) ( )ฤดูฝน (Rainy season?) ( ) ฤดูหนาว (Winter?)
2. อาการที่แสดงออก พบได้ตลอดปีหรือไม่ (Are the symptoms present all year round?) ( )ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่ (No)
3. ถ้าใช่ มีช่วงที่ไม่แสดงอาการเลยหรือไม่ (If yes, would there be a time of no symptoms at some stage?)
( )ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่ (No)
4. คิดว่าอะไรบ้างที่ทำให้อาการแย่ลง (What (if anything) causes a worsening of symptoms: ........................................................................................................................
5. คิดว่าอะไรบ้างที่ช่วยให้อาการดีขึ้น (What helps?): ...........................................................................................................................................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลเกี่ยวกับบ้านที่อาศัย(Home details)
1. มีสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อยู่ด้วยกันหรือไม่ ถ้ามี มีอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด (Do you have any other pets - and if so how many?)
( )ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่ (No)
( )แมว(cats)................... ( )สุนัข (dogs) .................. ( )นก (birds)................................
( )อื่นๆ (โปรดระบุ) (Other? (Please specify) .......................................................
2. คิดว่าสัตว์เลี้ยงเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังหรือไม่ (Do you know of any relative of this pet that has skin problems?) ( ) ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่ (No)
3. มีคนในบ้านมีปัญหาของโรคผิวหนังบ้างหรือไม่ (Does any human in the house have skin problems?)
( )ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่ (No)
4. สัตว์ป่วยตัวนี้นอนที่ใหน (Where does this pet sleep?): ............................................................................
5. สัตว์ป่วยตัวนี้ เคยเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆมาก่อนหรือไม่ (Have there been any other illnesses?) ( )ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่ (No)
ถ้าเคยโปรดระบุ (If yes, please specify): ..............................................................................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การอาบน้ำ และกำจัดเห็บหมัด(Bathing and fleas/ticks)
1. คิดว่าการอาบน้ำ (Does bathing): ( )ทำให้อาการดีขึ้น (help) ( )แย่ลง(worsen) ( )ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง(make no difference)
2. คุณอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงของคุณ (How often do you prefer to bath your pet?): ( )บ่อยกว่าอาทิตย์ละครั้ง more often than weekly) ( )อาทิตย์ละครั้ง (weekly) ( )เดือนละครั้ง(monthly) ( ) นานๆอาบที(rarely) ( )ไม่เคยอาบ(never)
3. เห็นเห็บ-หมัดบนตัวสัตว์เลี้ยงตัวนี้ครั้งล่าสุด เมื่อใด (When was the last time a flea was seen on this pet?): ..............................................บนตัวอื่น (other pets?):............................................................................................
4. คุณใช้วิธีใดควบคุม+กำจัดเห็บ-หมัดบนสัตว์เลี้ยงตัวนี้ (What is the current flea treatment on this pet?):........................... ........................................................................................................................................................................
5. คุณใช้วิธีควบคุม+กำจัดเห็บ-หมัดในข้อที่แล้วกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่น หรือไม่ (Is flea treatment used on other pets?):............... ......................................................................................................................................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประวัติการใช้ยา(Medication)
1. สัตว์เลี้ยงตัวนี้เคยได้รับยามาบ้างหรือไม่ และพอจะรู้ว่าน่าจะเป็นยาอะไรบ้าง หรือไม่ (If previous medications have been used, do you know what they were?) ( ) ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่ (No)
ถ้ารู้ โปรดระบุ (If yes, please specify):..............................................................................................................................................................
2. ถ้าใช่ มียาอะไรบ้าง (If yes, were they): ( )แชมพู (shampoos) ( )ยาใช้ชโลมตัว (rinses) ( )ยาฉีด (injections) ( )ยากิน (tablets) ( )ยาทา (ointments)
3. ครั้งล่าสุดที่ป้อนยาเมื่อใด (Last tablet given: (date)):...........................................................................................
- ผลการตอบสนองต่อยาครั้งล่าสุด (Response): ( )ไม่ตอบสนองต่อยา (none) ( ) มีบ้าง (some) ( ) ดี(good)
4. ครั้งล่าสุดได้รับยาฉีดเมื่อใด (Last injection given: (date):..................................................................................
- ผลการตอบสนองต่อยาครั้งล่าสุด (Response): ( )ไม่ตอบสนองต่อยา (none) ( )มีบ้าง (some) ( )ดี (good)
5. สุนัขของคุณได้รับยาป้องกันพยาธิหัวใจบ้างหรือไม่ (Is your dog on heartworm preventive programs?)
( )ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่(No):
ถ้าใช่ อยากทราบว่าได้รับบ่อยแค่ใหน (If yes, how often): ( )ได้รับยาทุกวัน (daily) ( )ทุกเดือน (monthly) ( )ทุก 2-3 เดือน (bi or tri-monthly) ( )นานๆที (rarely) ( )ไม่เคย (never)
โปรดระบุยี่ห้อ หรือชนิดของยาที่ใช้ (please specify your heartworm medication)...........................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อาหาร ขนม และของกินเล่น(Diet)
1. คุณให้อะไรเป็นอาหารหลักแก่สัตว์เลี้ยงของคุณ (What do you normally feed your pet?):
( )อาหารกระป๋อง (cans) ( )อาหารเม็ด (dry) ( )อาหารเหลือจากอาหารคน (table scraps) ( )เนื้อสัตว์ (meat)
2. ถ้าให้เนื้อสัตว์ อยากทราบว่าเป็นเนื้อจากสัตว์ชนิดใด (If meat - which types?):...............................................................
3. คุณให้อาหารชนิดอื่นนอกเหนือจากอาหารหลัก เช่นข้าว ขนมปัง ขนมต่างๆ ผลไม้ เป็นต้น บ้างหรือไม่ (Any other foods? (e.g., vitamins, toast, biscuits)) ( )ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่ (No):
ถ้าใช่ โปรดระบุ (If yes, please specify).................................................................................................................
4. คุณเคยให้อาหารชนิดพิเศษ เพื่อจุดประสงค์บางอย่างเช่น อาหารลดน้ำหนัก อาหารสำหรับสัตว์ป่วยเช่น โรคตับเป็นต้น บ้างหรือไม่ (Have you ever fed a special diet?) ( )ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่ (No):
ถ้าใช่ โปรดระบุ (If yes, please specify)...........................................................................................................
5. คุณคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุของปัญหา (What do you think could be the cause of the problem?):....................................
.........................................................................................................................................................................

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบบสอบถามเกี่ยวกับประวัติเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไปของสัตว์เลี้ยง (สร้างสรรค์ และออกแบบโดย น.สพ.รังสรรค์ สกุลพลอย)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อสัตว์ป่วย(Name): ....................................................... พันธุ์(Breed): ..................................................... เพศ(Sex): ( )ผู้ (male) ( )เมีย(female)
ทำหมันแล้ว(Neutered): ( )ใช่ (Yes) ( )ไม่ใช่ (No)
วัน/เดือน/ปีเกิด/อายุ(Date of birth/Age): ....................................................................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลักษณะทั่วไป (General evaluation)
( )ตื่นตัว สนใจสภาพแวดล้อม (Alert) ( )กระฉับกระเฉง (Active) ( )กินอาหารได้ดี (Healthy appetite) ( )ซุกซน ขี้เล่น (Playful) ( )เดินขากเผลก ขาเจ็บ (Lameness)
( )ดุร้ายผิดสังเกต (Abnormal aggressiveness) ( )ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม (Disinterested)
( )หงอยซึม ไม่กระฉับกระเฉง (Lethargic) ( )กินอาหารได้มาก หรือน้อยกว่าที่ควร (Poor appetite) ( )น้ำหนักตัวเพิ่ม หรือลด (Weight loss/gain) ( )การทรงตัวผิดปกติ (Abnormal posture)
แสดงอาการมา (how long): ...........................................................

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลักษณะของผิวหนัง และขน (Skin and Hair coat)
( )ดูปกติ (Appears normal) ( )ขนร่วง (Hair loss) ( )ขนหยาบกระด้าง (Dull; unkempt)
( )รังแค และสะเก็ด (Scaly) ( )ผิวหนังแห้ง (Dry) ( )ผลัดขน (Shedding)
( )ผิวหนังมัน (Oily) ( )คัน (Itching) ( )สังคตัง (Mats)
( )ก้อนเนื้องอก หรือหูดบนผิวหนัง (Tumors or warts) ( )เห็บ หมัด เหา หรือไร (Parasites)
( )มีก้อนแปลกๆอยู่ใต้ผิวหนัง (Abnormal lumps under the skin) ( )ตุ่มหนอง (Pustules)
( )มีสะเก็ดที่หัว และคอ (Crusts on neck and head)
แสดงอาการมา (how long): ..........................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตา(Eyes)
( )ปกติ (Appear normal) ( )มีของเหลวใสๆไหลออกจากตา(Clear discharge)
( )มีของเหลวขุ่นๆ เมือกๆไหลออกจากตา (Mucus discharge)
( )ตาแดง (Redness) ( )มีความผิดปกติของหนังตาบน หรือล่าง (Eyelid abnormalities)
( )ตาขุ่นหรือมัว เป็นฝ้า (Haziness /cloudiness) ( )ม่านตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน (Unequal pupil size)
( )ตาเหล่ ส่อน (Squinting) ( )สีของตาเปลี่ยน (Discoloration)
( )หนังตาที่สาม แถวหัวตายื่นออกมา (Protruding third eyelids)
แสดงอาการมา (how long): ...............................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หู(Ears)
( )ปกติ (Appear normal) ( )บวม แดง (Red; swollen) ( )ขนบนใบหูร่วง (Hair loss on pinnae) ( )กลิ่นเหม็น (Bad odor) ( )คัน (Itchy) ( )สะบัดหัวบ่อยๆ (Head shaking)
( )มีก้อนเนื้อ (Masses) ( )ขนในรูหูมาก (Excessive hair) ( )หัวเอียง (Head tilt)
( )มีของเหลวขุ่นๆ ครีมๆ เหลืองๆในรูหู (Creamy, yellow discharge in the ears)
แสดงอาการมา (how long): .....................................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จมูก และคอ(Nose and throat)
( )ปกติ (Appear normal) ( )มีน้ำมูก (Nasal discharge) ( )มีแผลเปื่อยบนจมูก (Ulceration on nose) ( )มีเศษสะเก็ดติดเต็มจมูก (Crusty nose)
( )ต่อมน้ำเหลืองใต้กรามทั้งสองข้างบวมโต (Enlarged lymph nodes (Feel on either side of the neck just under the jaw))
แสดงอาการมา (how long): .......................................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปาก ฟัน และเหงือก(Mouth, teeth, and gum)
( )ปกติ (Appear normal) ( )ฟันโยก แตก หัก หรือสีเปลี่ยน (Broken, discolored, or loose teeth) ( )ยังเหลือฟันน้ำนมอยู่ (Retained deciduous teeth) ( )หินปูน (Tartar accumulation)
( )ก้อนเนื้อในปาก (Growths or masses) ( )กลิ่นเหม็น (Foul odor)
( )ฟันหลุด ร่วง (Tooth loss) ( )เหงือกอักเสบ (Inflamed gums)
( )น้ำลายไหลมากผิดสังเกต (Excess salivation) ( )เหงือกซีด (Pale gums)
( )โคนลิ้นอักเสบ (Base of tongue inflamed) ( )มีแผลในช่องปาก (Ulcers)
( )มีสิ่งแปลกปลอมในปาก (Foreign body noted)
แสดงอาการมา (how long):........................................................................
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ความผิดปกติอื่นๆ(Miscellaneous)
( )ผนังท้องไม่มีแรง กดแล้วไม่มีการเกร็งต้านแรงกด หรือกดแล้วเจ็บผิดสังเกตุ(Abdominal tenderness) ( )ไอ (Coughing)
( )หายใจลำบาก (Breathing difficulties) ( )มีความผิดปกติของอุจจาระ (Abnormal stools) ( )มีความผิดปกติของปัสสาวะ (Abnormal urination) ( )ขับปัสสาวะลำบาก (Straining to urinate)
( )กินน้ำมากกว่าปกติ (ปกติจะกินน้ำ 44-66 ซีซีต่อน้ำหนักตัว1กิโลกรัมต่อวัน) (Increased water consumption)
( )กินน้ำน้อยกว่าปกติ (ปกติจะกินน้ำ 44-66 ซีซีต่อน้ำหนักตัว1กิโลกรัมต่อวัน) (Decreased water consumption)
( )มีของเหลวไหลจากช่องคลอด (Genital discharge) ( )ไถก้นไปกับพื้นบ่อยๆ (Scooting)
( )ก้อนเนื้อที่เต้านม (Mammary lumps) ( )ขาบวม (Swollen limb)
แสดงอาการมา (how long): ......................................................................................
ความผิดปกติอื่นๆ(Other abnormality) โปรดระบุ(Please specify): ...................................................................
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Thursday, August 26, 2010

โรคผิวหนังประจำพันธุ์ที่สำคัญของสุนัขและแมว

สุนัข และแมวของใครชอบโรคใหนเป็นพิเศษ ลองดูพอเป็นน้ำจิ้มก็พอนะครับ อย่าคิดมาก แค่เป็นการสำรวจทางระบาดวิทยาของพวกฝรั่งเขาเท่านั้น

Afghan Hound --> Hypothyroidism

Akita --> Hypothyroidism, Pemphigus, Post-clipping alopecia, Sebaceous adenitis, Uveo-dermatological syndrome (Vogt-Koyanagi-Harada (VKH))

Alaskan Malamute --> Eosinophilic granuloma แถวปาก, Post-clipping alopecia, Wooly syndrome, Zinc-responsive dermatopathy

Basset Hound --> Hair follicle tumors, Malassezia dermatitis

Boxer --> Atopy, Demodicosis, Mast cell tumor, Flank alopecia, Nodular dermatofibrosis, Pattern baldness, Urticaria

Bullmastiff --> Callus & interdigital pyoderma, Otitis externa, Recurrent staphylococcal pyoderma

Bull Terrier -->Demodicosis (severe, chronic), Lethal acrodermatitis, Solar dermatitis and furunculosis (white), Tail chasing and mutilation (colored)

Chihuahua-->Pattern baldness, Pinnal vasculopathy

Chinese Shar-Pei-->Atopy, Cutaneous mucinosis, Demodicosis, Fold dermatitis, Food allergy, Histiocytomas (multiple), Hypothyroidism, Idiopathic seborrhea, IgAd deficiency, Otitis externa, Pemphigus, Shar pei fever, Staphylococcal folliculitis

Chow Chow-->Alopecia X, Atopy, Demodicosis, Food allergy, Hypothyroidism, Pemphigus, Post-clipping alopecia

Cocker Spaniel--> Hypothyroidism, Lip fold dermatitis, Otitis, Primary seborrhea oleosa, Sebaceous nodular hyperplasia, Vitamin-A responsive seborrhea

Collie-->Discoid lupus erythematosus (DLE), Dermatomyositis, Systemic lupus erythematosus (SLE), Ulcerative dermatosis of collies and shelties

Dachshund--> Acanthosis nigricans, Color dilution alopecia, Ear margin seborrhea, Interdigital dermatitis, Juvenile cellulitis, Malassezia dermatitis, Pemphigus foliaceus, Pattern baldness, Pituitary-dependent hyperadrenocorticism (PDH), Pinnal vasculopathy, Recurrent staphylococcal pyoderma, Sterile nodular panniculitis

Dalmatian--> Actinic dermatitis, Atopy, Black spot necrosis, Food allergy, Recurrent staphylococcal pyoderma, Squamous cell carcinoma

Doberman--> Acral lick dermatitis, Canine acne, Color dilution alopecia, Flank sucking, Hypothyroidism, Ichthyosis, Sulfonamide hypersensitivity, Vitiligo

English Bulldog--> Atopy, Demodicosis, Flank alopecia, Fold and interdigital dermatitis

French Bulldog--> Flank alopecia

German Shepherd Dog--> Calcinosis circumscripta, Familial cutaneous vasculopathy, Focal metatarsal fistulate, Food allergy, German shepherd pyoderma, Lupoid onychodystrophy, Nodular dermatofibrosis, Perianal fistula

Golden Retriever--> Acral lick dermatitis, Atopy, Histiocytosis, Hot spots, Hypothyroidism, Ichthyosis, Juvenile cellulitis, Nodular dermatofibrosis

Great Dane--> Acral lick dermatitis, Calcinosis circumscripta, Callus, chin & interdigital pyoderma

Greyhound--> Actinic dermatitis, Actinic hemangioma, Alabama rot, Androgen-withdrawal alopecia, Color dilution alopecia, Pattern baldness

Himalayan--> Dermatophytosis, Granulomatous dermatophytosis, Ehlers-Danlos syndrome

Irish Setter--> Acral lick dermatitis, Atopy, Hypothyroidism, Ichthyosis, Recurrent staphylococcal pyoderma

Italian Greyhound--> Actinic dermatitis, Actinic hemangiomas, Color dilution alopecia, Pattern baldness

Jack Russell Terrier--> Atopy, Familial vasculitis, Ichthyosis

Labrador Retriever--> Acral lick dermatitis, Food allergy, Interdigital furunculosis, Juvenile cellulitis, Lipomas, Malassezia dermatitis, Mast cell tumor

Lhasa Apso--> Atopy, Malassezia dermatitis, Sebaceous adenitis

Miniature Pinscher--> Pattern baldness

Persian--> Dermatophytosis, Granulomatous dermatophytosis, Dirty face syndrome, Seborrhea (greasy cat syndrome)

Pit Bull - White--> Actinic dermatitis with furunculosis, Squamous cell carcinoma, Demodicosis, Interdigital furunculosis, Lick granuloma

Pomeranian--> Alopecia X, Malassezia dermatitis

Rottweiler--> Callus and interdigital pyoderma, Ichthyosis, Lupoid onychodystrophy, Vitiligo

Schnauzer (All Sizes)--> Atopy, Aurotrichia (Mini), Flank alopecia, Schnauzer comedone syndrome

Scottish Terrier--> Atopy, Nasal vasculopathy

Shetland Sheepdog--> Dermatomyositis, Ulcerative dermatosis of collies and shelties

Shih Tzu--> Atopy, Malassezia dermatitis, Traction alopecia

Siamese--> Pinnal alopecia, Psychogenic alopecia, Histiocytic mast cell tumor, Vitiligo

Siberian Husky--> Alopecia X, Eosinophilic granuloma (oral), Post-clipping alopecia, Zinc-responsive dermatopathy, Wooly syndrome

West Highland White Terrier--> Atopy, Ichthyosis, Malassezia dermatitis, Primary seborrhea (epidermal dysplasia)

Yorkshire Terrier--> Atopy, Color dilution alopecia, Dermatophytosis, Melanoderma and alopecia, Traction alopecia, Short hair syndrome

กลิ่นตุๆของเจ้าตูบ

กลิ่นตุๆของเจ้าตูบ เกิดจากหลายๆสาเหตุทั้งจากโดยธรรมชาติ (ปกติ) และจากความผิดปกติต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปกลิ่นตัธรรมชาติมักจะไม่รุนแรง แต่กลิ่นตัวที่เกิดจากความผิดปกติของตัวสุนัขมักจะรุนแรง

กลิ่นตัวตามธรรมชาติ

โดยทั่วไปสุนัขปกติจะมีการหลั่งสารบางอย่างเพื่อแสดงตัวตน ซึ่งเทียบได้กับบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง แต่กลิ่นของสารเหล่านี้บางครั้งก็สร้างความไม่ประทับใจให้คนหลายๆคน กลิ่นของสารเหล่านี้จะพบมากแถวรอบๆรูทวารหนัก รูหู และฝ่าเท้า เพราะผิวหนังบริเวณนี้มีต่อมที่สร้างสารเหล่านี้อยู่ค่อนข้างมาก

ต่อมต่างๆที่สร้างกลิ่นของผิวหนังสุนัข หรือต่อมเหงื่อของสุนัข หรือ apocrine glands จะไม่มีการสร้างเหงื่อเพื่อทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายเหมือนในคน แต่จะทำหน้าที่สร้างและหลั่งสารฟีโรโมน เพื่อใช้ในการสื่อสารกับสุนัขตัวอื่น อย่างไรก็ตาม สุนัขก็มีต่อมเหงื่อจริงๆเหมือนกันซึ่งเราเรียกว่า eccrine glands โดยจะพบได้ที่ฝ่าเท้าและจมูก ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนังส่วนนี้ ที่ฝ่าเท้า จุลชีพที่อาศัยอยู่ที่ชั้นผิวจะสร้างกลิ่นคล้ายชีสต์ ซึ่งจะได้กลิ่นชัดเจนกว่าในสุนัขที่ฝ่าเท้าชุ่มชื้นมากกว่าพวกฝ่าเท้าแห้ง

นอกจากนี้ สุนัขยังมีต่อมต่างๆมากมายในผิวหนังของรูหูชั้นนอก ได้แก่ ต่อมขี้หู (ceruminous glands) และต่อมไขมัน(sebaceous glands) ซึ่งสร้างขี้หูและแวกซ์ พวกจุลชีพที่อาศัยอยู่ที่นี่ สร้างกลิ่นหืนแบบอ่อนๆในสภาวะปกติ

สุนัข ก็เป็นเฉกเช่นสัตว์กินเนื้อทั่วไป จะมีต่อมข้างก้นอยู่ 2 ต่อมข้างๆทวารหนัก ซึ่งต่อมนี้จะปล่อยอ่อนๆ ถึงเหม็นอย่างรุนแรง ปกติต่อมนี้จะปล่อยกลิ่นติดออกมากับอุจจาระ แต่จะปล่อยกิ่นที่รุนแรงในปริมาณมากๆเวลาตกใจ หรือกลัวมากๆ ทนักสัตววิทยาเชื่อว่าสุนัขปล่อยกลิ่นนี้เพื่อเตือนสุนัขตัวอื่นๆ หรือแสดงตัวตนเวลาออกนอกพื้นที่ของตนเอง โดยให้ตัวอื่นมาดมก้น

แหล่งกำเนิดกลิ่นตัวอีกแหล่งมาจากตัวพฤติกรรมของสุนัขเอง สุนัขบางตัวชอบเอาตัวกลิ้ง หรือถูไปบนกลิ่นบางอย่างที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของตัวสุนัข เช่น เศษอุจจาระของเหยื่อ โดยเฉพาะอุจจาระกระต่าย เราเชื่อว่าพฤติกรรมนี้น่าจะเป็นพฤติกรรมรวมฝูงที่ได้รับถ่ายทอดมาจากสุนัขป่าซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมัน

กลิ่นตัวที่เกิดจากความผิดปกติของตัวสุนัข หรือกลิ่นผิดธรรมชาติ

ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) มักได้ยินคำบ่นของกลิ่นชนิดนี้จากเจ้าของสัตว์เลี้ยง (ทั้งที่รูตัว และไม่รู้ตัวว่า สุนัขของตนมีความผิดปกติบางอย่างอยู่ โดยเฉพาะโรคผิวหนัง) ที่มาใช้บริการว่าสุนัขของตนกิ่นตัวแรง อาบน้ำเท่าไรก็ไม่หาย หรืออาบน้ำไปแป๊บเดียวก็เหม็นอีกแล้ว แหล่งที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวที่เกิดจากความผิดปกติของตัวสุนัข หรือกลิ่นผิดธรรมชาติ ได้แก่

* การดูแลขนที่ไม่ถูกวิธี หรือการดูแลขนที่ไม่ดี พบได้บ่อยในสุนัขขนยาว หนา หยิก หรือแน่น ขนที่ไม่ค่อยได้แปรงและทำความสะอาด หรือได้รับการดูแลที่ผิดวิธี จะเป็นตัวที่เก็บฝุ่น หรือสิ่งสกปรกซึ่งทำให้การสะสมกลิ่นตามมา ซึ่งถ้าทิ้งไว้นานๆ จะทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย และยีสต์ซึ่งทำให้กลิ่นรุนแรงขึ้น การป้องกันการเกิดกลิ่นชนิดนี้ทำได้โดยการดูแลขนที่ถูกวิธี ซึ่งสัตวแพทย์ และช่างตัดขนสุนัขระดับโปรสามารถให้ความรู้เกี่ยวการดูแลขนที่ถูกวิธีได้ ส่วนการแก้ไขสามารถทำได้โดยการพาสุนัขของท่านไปอาบน้ำ และไถขนทิ้งทั้งตัว แล้วพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจดูว่ามีปัญหาโรคผิวหนังหรือมีความผิดปกติอื่นๆหรือไม่ ถ้ามีก็ให้ทำการรักษา ถ้าไม่มี หรือแน่ใจ100% ว่าไม่มีปัญหา ให้ลองใช้วิธีการดับกลิ่นที่เขียนอยู่ในเวปนี้ (ถ้าไม่มั่นใจ 100% ก็ไม่ควรเสี่ยง)

* โรคผิวหนัง เป็นตัวสำคัญตัวหลักที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว โรคผิวหนังทุกโรคมักทำให้เกิดกลิ่นตัว โดยเฉพาะโรคผิวหนังที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ ซึ่งมันจะทำให้ผิวหนังมีความชื้นมากกว่าปกติ หรือภาษาของหมอสาขาโรคผิวหนังเรียกว่าภาวะhyperhidrosis ซึ่งนอกจากมันทำให้เกิดกลิ่นแล้ว hyperhidrosisยังทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์ตามมา ซึ่งทำให้กลิ่นตัวรุนแรงขึ้นอีก เพราะว่าโดยทั่วไปการติดเชื้อ แบคทีเรีย หรือยีสต์ที่ผิวหนัง ก็ทำให้เกิดกลิ่นตัวที่รุนแรงอยู่แล้ว สุนัขที่มีปัญหาเรื่องรังแค ผิวหนังมัน ถึงมันเยิ้ม ตกสะเก็ด หรือรอยย่นในพวกพันธ์หน้าย่น เช่นปั๊ก หรือบุลดอก มักจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์ได้ง่าย ซึ่งกลิ่นก็จะเกิดตามมาได้ง่ายเช่นกัน กำจัดกลิ่นจะทำได็ก้ต่อเมื่อได้ทำการรักษาโรคผิวหนังจนหายดีแล้วเท่านั้น

* โรคหูอักเสบ ทั้งจากโรคภูมิแพ้ และหูน้ำหนวก ก็เป็นตัวสำคัญตัวหลักอีกตัวที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว กลิ่นของหูอักเสบจะคล้ายกับกลิ่นของโรคผิวหนัง แต่กลิ่นของหูหำหนวกในหลายๆรายที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ทำการรักษา จะมีกลิ่นเหม็นเน่า กำจัดกลิ่นจะทำได็ก้ต่อเมื่อได้ทำการรักษาโรคหูอักเสบจนหายดีแล้วเท่านั้น

* ต่อมข้างก้นอักเสบ ก็เป็นตัวการทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์เช่นกัน โดยจะมีกลิ่นเหม็นเหมือนขนมปังขึ้นรา แต่กลิ่นแรงจนเตะจมูก

* โรคของปากและฟัน จะทำให้มีน้ำลายมากกว่าปกติ ซึ่งจะให้มีกลิ่นลมหายใจที่รุนแรง การเกิดหินปูนในช่องปากจะทำให้มีการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดกลิ่นปากอีกเช่นกัน นอกจากนี้ การที่น้ำลายไหลเยิ้มของจากปาก ยังอาจทำให้เกิดการติดเชื้อของผิวหนังรอบๆช่องปาก ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นที่รุนแรงขึ้น

* ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะบางตัว คลอเฮกซิดีน หรือยาที่มีองค์ประกอบของกำมถัน อาจมีไม่ชวนดมสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง และมักจะติดกลิ่นของยาไปกับสัตว์เลี้ยงเมื่อใช้ยา เช่นกันกับอาหารประเภทปลา หรือน้ำมันปลาก็อาจทำให้กลิ่นปลาติดไปกับตัวสัตว์เลี้ยง ซึ่งอาจทำให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงบางคนเช่นตัวผู้เขียนเองรู้สึกไม่ค่อยดีได้เช่นกัน

* การเรอ หรือผายลมเนื่องจากมีก๊าซในทางเดินอาหารที่มากเกินไป เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า กลิ่นเหล่านี้ไม่ชวนดม ต้นตอของก๊าซในทางเดินอาหารนั้นมาจากอาหารบางชนิดเช่นธัญพืชที่ผสมอยู่ในอาหารสำเร็จรูป หรือโรคในทางเดินอาหารบางโรคเช่น การแพ้อาหาร เป็นต้น

ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน Muller & Kirk's Small Animal Dermatology 6th Edition เขียนโดยปรมาจารย์ด้านโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง 3 ท่านคือ Danny W. Scott, William H. Miller, Jr และ Craig E Griffin

Monday, August 2, 2010

น้ำมันเครื่อง กับโรคผิวหนังของสุนัข

จากการสังเกตุของคลินิกบ้านรักสัตว์ สุนัขที่เป็นโรคผิวหนัง แล้วมีการใช้น้ำมันเครื่องโชลมเพื่อการรักษาโรคผิวหนัง ก่อนหน้าที่จะมาที่คลินิกบ้านรักสัตว์ จะพบว่าผิวหนังของสุนัขเมื่อได้สัมผัสกับน้ำมันเครื่อง จะเกิดปื้นแดงที่บริเวณที่สัมผัส (ในกรณีไม่รุนแรง) ถึงอาจถูกทำลาย (ในกรณีที่รุนแรง) นอกจากนี้ ในตำราพิษวิทยาส่วนใหญ่จะเขียนไว้ว่า สารไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในน้ำมันเครื่อง สามารถซึมผ่านผิวหนัง เข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรุนแรง จนอาจช็อค หรือตายได้ นอกจากนี้ ในกรณีที่สุนัขเลียน้ำมันเครื่องเข้าไปในปาก อาจให้เกิดการสำลักอาเจียนเข้าปอด ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบ หรือเสียหายของเนื้อปอดได้ รวมถึงน้ำมันเครื่องที่เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าทางใด จะทำให้ตับ และไตเสียหายได้

ดังนั้น อย่าแนะนำให้ใช้หรือใช้น้ำมันเครื่องรักษาโรคผิวหนังสุนัข ยกเว้นว่าคุณสามารถรับผิดชอบกับผลที่ตามมาทั้งหมดได้

ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ไม่เชื่อว่ายาวิเศษที่รักษาได้ทุกโรคจะมีจริงในโลก ยาวิเศษที่รักษาได้ทุกโรคตำหรับของทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)คือ การตรวจวินิฉัยที่แม่นยำ ร่วมกับแผนการรักษาที่รัดกุมเท่านั้น

Tuesday, July 27, 2010

การดูแลสุนัขหลังการผ่าตัด

การดูแลสุนัขหลังการผ่าตัด


หลังจากที่สุนัขของคุณรับการผ่าตัดใดๆก็ตาม คุณควรรับคำแนะนำจากสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลสุนัขหลังการผ่าตัด และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อหลีกเลี่ยงผลไม่พึงประสงค์หลังการผ่าตัด ซึ่งคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุนัขหลังการผ่าตัดโดยทั่วไปมีดังนี้
1)ห้ามให้อาหารหรือน้ำแก่สุนัขภายใน 30 นาทีหลังจากที่เดินกลับถึงบ้าน เพราะอาจทำให้สุนัขมีอาการคลื่นไส้ และอาเจียน
2)ในกรณีที่สุนัขกลับถึงบ้านในสภาพหลับ หรือสลบ ห้ามให้อาหารหรือน้ำแก่สุนัขไม่ว่าโดยวิธีการใดๆจนกว่าสุนัขจะฟื้นจากยาสลบอย่างเต็มที่ เพราะอาจทำให้สุนัขมีอาการคลื่นไส้ และอาเจียน ซึ่งอาจสาลักจนอุดทางเดินหายใจได้
3)จำกัดบริเวณ หรือขังกรงจนกว่าจะตัดไหม( ประมาณ 8-10 วันหลังการผ่าตัด )
4)อย่าให้สุนัขออกกำลัง วิ่ง หรือตื่นเต้น
5)อย่าให้สุนัขอยู่ในที่เย็นจัด ร้อนจัด หรือลมแรง
6)คอยตรวจดูแผลผ่าตัด และใส่ยาอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ให้แผลอยู่ในสภาพแห้งและสะอาด
7)งดอาบน้ำจนกว่าจะตัดไหม( ประมาณ 8-10 วันหลังการผ่าตัด )
8)พาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตัดไหมในอีก 8-10 วันหลังการผ่าตัด (ถ้าไม่มีคำแนะนำอื่นๆจากสัตวแพทย์)
9)ป้อนยา และดูแลแผลตามที่สัตวแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
10) ถ้ามีปัญหาใดๆ ให้ติดต่อสัตวแพทย์เจ้าของไข้ทันที

ลาทีกับกลิ่นเหม็นๆของน้องหมาตัวตุๆ

ลาทีกับกลิ่นเหม็นๆของน้องหมาตัวตุๆ

กลิ่นไม่พึงประสงค์ของสุนัขอาจเกิดจากหลายสาเหตุ และพบได้ในหลายที่ เช่น หู จมูก ปาก หรือผิวหนัง เจ้าของควรตรวจดูก่อนว่าต้นตอของกลิ่นมาจากที่ใด
+ ถ้ากลิ่นมาจากจมูก หู หรือปาก ให้พาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพื่อทำการรักษา
+ สำหรับกลิ่นที่มาจากผิวหนัง ให้พาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพื่อทำการรักษาโรคผิวหนัง ถ้าสัตวแพทย์ตรวจแล้วว่าผิวหนังปกติดี (ถามคุณหมอที่ตรวจด้วยว่า ชัวร์หรือปล่าว แล้วหมอตอบว่าชัวร์ด้วย) ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ขอแนะนำ ให้ทดลองใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3 เปอร์เซ็นต์ (หาซื้อได้ที่ร้านขายาทั่วไป) จำนวน960 ซีซี ผสมกับ ผงโซดาทำขนมปังหรือผงฟู (หาซื้อได้ที่ซุปเปอร์มาร์เกต หรือร้านขายอุปกรณืทำขนมปังทั่วไป)1/4 ถ้วยตวง และสบู่เหลวสำหรับเด็กอ่อน 5 ซีซี ชโลมให้ทั่วตัวสุนัขทันที แล้วล้างออกให้หมด

ข้อควรระวัง

ให้ผสมส่วนผสมในภาชนะปากกว้างเช่น ขัน หรือชามเท่านั้น ห้ามใส่ส่วนผสมในภาชนะปิด เพราะมันจะระเบิดอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหนักได้ เพราะการผสมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ กับผงฟู จะทำให้เกิดออกซิเจนปริมาณมากอย่างรวดเร็ว จนทำให้ภาชนะที่บรรจุระเบิดได้ อย่างไรก็ตาม ออกซิเจนที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวทำลายกลิ่นตัวได้ดีมากๆ ถึงดีที่สุด

ให้ใช้กับสุนัขปกติที่ไม่มีปัญหาโรคผิวหนังเท่านั้น ถ้าใช้ดับกลิ่นจากโรคผิวหนัง อาจทำให้โรคผิวหนังที่เป็นอยู่ เป็นหนักขึ้นได้ (จากประสบการณ์การทดลองใช้ของผู้เขียนเอง)

ผสมผงฟูกับสบู่เหลวก่อน แล้วค่อยผสมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

ขอขอบคุณคนคิดค้นสูตรนี้คือ Paul Krebaum ผู้ซึ่งทำให้สุนัขหลายๆตัวได้กลับเข้าอยู่ในตัวบ้าน หลังจากถูกไล่ไปอยู่ข้างนอกเพราะมีกลิ่นตุๆ

Monday, July 26, 2010

โรคหิดสุนัข (Sarcoptic Mange ,Scabies)

โรคหิดสุนัข (Sarcoptic Mange ,Scabies)

โรคหิดสุนัข หรือบางคนว่าโรคขี้เรื้อนแห้ง หรือโรคขี้เรื้อนซาร์คอปติค เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดไรที่เรียกว่า Sarcoptes scabiei หรือไรหิดซึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องดูโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์เท่านั้น สุนัขที่ติดไรชนิดนี้จะมีอาการเกา และคันอย่างรุนแรงเนื่องจากการเกิดผิวหนังอักเสบซึ่งเป็นผลจากการที่ไรตัวเมียจะขุดโพรงที่หนังกำพร้าชั้นนอกเพื่อวางไข่ และปล่อยสารบางอย่างมาทำปฏิกิริยากับตัวผิวหนัง โดยทั่วไปไรตัวโตเต็มวัยจะมีอายุขัย 3-4 สัปดาห์เมื่ออาสัยบนผิวหนัง และตัวเมียจะวางไข่ในโพรงที่ขุดประมาณ 3-4 ใบต่อโพรง ซึ่งไข่ที่ออกมาจะฟักตัวในอีก 3-10 วัน

อาการเกาและคันอย่างรุนแรง คือลักษระเด่นของสุนัขที่เป็นโรคนี้ โรคนี้จัดได้ว่าเป็นโรคที่เกาคันอย่างรุนแรงที่สุดโรคหนึ่งของสุนัข โดยอาการคันมักพบได้ในบริเวณที่ปลอดขนบนตัวสุนัข ขอบของใบหู ศอก และใต้ท้องคือบริเวณที่ตัวไรชอบอาศัยอยู่ อาการคัน และบริเวณที่ชอบแสดงอาการคันของสุนัขที่เป็นโรคนี้ มักทำให้สัตวแพทย์หลายๆท่านหลงทางโดยจะไปสับสนกับโรคภูมิแพ้ได้

โรคนี้เป็นโรคติดต่อได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ตัวอื่นๆที่เป็นโรคนี้ ดังนั้นถ้ามีสัตว์ป่วยด้วยโรคนี้เพียงแค่ตัวเดียว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ขอแนะนำว่าควรที่ต้องให้การรักษาทุกตัวในบ้านด้วย และของใช้ควรจะต้องทำความสะอาด หรือเปลี่ยนด้วย

การวินิจฉัย ทางคลินิกบ้านรักสัตว์จะใช้วิธีการขูดผิวหนัง ร่วมกับการให้ยาทดสอบ ส่วนการรักษาทางคลินิกบ้านรักสัตว์จะใช้ยาอาบ ยาฉีด ยากิน หรือยาหยดหลังขึ้นกับสุนัขแต่ละตัว และความพร้อม และความสะดวกของตัวเจ้าของสัตว์แต่ละคน ซึ่งทางคลินิกจะพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับแต่ละกรณีไป

การรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ

การรักษาผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของสัตวแพทย์ด้านโรคผิวหนังค่อนข้างมาก เพราะสัตว์ป่วยแต่ละตัวจะตอบต่อการรักษา และทนต่อผลข้างข้างการรักษาไม่เหมือนกัน สัตวแพทย์ผู้ทำการรักษาจำเป็นต้อง ปรับการรักษาให้เหมาะสมกับสัตว์ป่วยแต่ละตัวเป็นรายๆไป ซึ่งข้อสำคัญที่ควรรู้อีกข้อสำหรับโรคภูมิแพ้ก็คือ ในเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาโรคภูมิแพ้ให้หายขาดได้ ไม่ว่าในคนหรือสัตว์ก็ตาม และโรคนี้เป็นตลอดชีวิต การรักษาในปัจจุบัน เราจะมุ่งเน้นไปที่การจำกัดอาการของโรค และทำให้คุณภาพชีวิตของเจ้าของสัตว์ และตัวสัตว์ป่วยเองให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะมีการสร้างโปรแกรมการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่าย และวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละราย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการควบคุมโรคนี้

เราสามารถแบ่งการรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศออกได้เป็น 3 แบบ ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งในการรักษา หรือเลือกใช้มากกว่าหนึ่งแบบก็ได้ขึ้นกับความเหมาะสม

การรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศออกทั้ง 3 แบบ มีดังนี้

1. การใช้ยา: เป็นวิธีที่ใช้เพื่อเฉพาะหน้าบรรเทาความทรมานจากอาการคัน และใช้ในการควบคุมอาการคัน ในกรณีที่ไม่สามารถใช้วิธีการรักษาแบบอื่นได้ ซึ่งยาที่ใช้มีดังนี้

(a) ยากลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน เราพบว่าสัตว์ที่มีปัญหาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศประมาณ 20% จะตอบสนองต่อการใช้ยาในกลุ่มนี้ ยาในกลุ่มนี้หลายๆตัวมีความปลอดภัยสูง แต่สัตว์ป่วยแต่ละตัวจะตอบสนองต่อยาแต่ละตัวไม่เหมือนกัน สัตวแพทย์ผู้ทำการรักษาจะเลือกใช้ตัวใดตัวหนึ่ง หรือเลือกใช้มากกว่าหนึ่งตัวก็ได้ขึ้นกับการตอบสนองต่อการรักษาของสัตว์ป่วยแต่ละตัว ข้อจำกัดของการใช้กลุ่มนี้คือ ยังมีสัตว์ที่มีปัญหาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศอีก 80% ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาในกลุ่มนี้

(b) ยากลุ่มสเตียรอยด์ชนิดกิน ยาในกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงสูง จึงควรใช้ในสัตว์ป่วยที่โตเต็มที่แล้ว และใช้เพื่อควบคุมอาการเฉพาะหน้าในระยะสั้นๆ หรือเป็นวิธีสุดท้ายจริงๆเท่านั้น ซึ่งโดยทางทฤษฎี การใช้ยากลุ่มนี้เพื่อควบคุมอาการคันในระยะยาวๆ ควรทำภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์ด้านโรคผิวหนังเท่านั้น

(c) ยากลุ่มสเตียรอยด์ชนิดทา ยาในกลุ่มนี้จะปลอดภัยกว่าชนิดกิน แต่เหมาะสำหรับสัตว์ที่ปัญหาเป็นบริเวณเล็กๆเท่านั้น ไม่เหมาะกับบริเวณกว้าง หรือเป็นทั่วตัว

(d) ยาไซโคลสปอริน เป็นยากดภูมิกันที่ใช้ในคนที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ เราพบว่าสัตว์ที่มีปัญหาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศประมาณ 60% ให้ผลการตอบสนองค่อนข้างดีด้วยการใช้ยาตัวนี้ ยาตัวนี้ค่อนข้างปลอดภัยในการใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลาสั้นๆ ส่วนการใช้ยาตัวนี้เป็นระยะเวลานาน หรือตลอดชีวิต ยังไม่มีรายงานที่น่าเชื่อถือได้ในเรื่องความปลอดภัย และผลข้างเคียง ผลข้างเคียงจากการใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลาสั้นๆได้แก่ อาเจียน และท้องเสีย แต่ข้อจำกัดที่สำคัญจริงๆของการเลือกใช้ยาตัวนี้คือ ราคาของยาที่ค่อนข้างสูงมากๆ

(e) ยาทาโครลิมัส และพิเมโครลิมัส เป็นยากดภูมิกันชนิดทา เหมาะสำหรับสัตว์ที่ปัญหาเป็นบริเวณเล็กๆเท่านั้น ไม่เหมาะกับบริเวณกว้าง หรือเป็นทั่วตัว เช่นเดียวกับยาไซโครสปอริน ข้อจำกัดที่สำคัญของการเลือกใช้ยาตัวนี้คือ ราคาของยาที่ค่อนข้างสูงมาก ( ตก 900-1000 บาทต่อยา 1 หลอดขนาด 5 กรัม)

2. การหลีกเลี่ยงสารภูมิแพ้ เป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุดในทางทฤษฎี แต่ทำได้ลำบาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สามารถทำได้อาจช่วยได้มากในกรณีที่ผลตรวจออกมาว่าแพ้ไรฝุ่น หรือละอองเกสร โดยถ้าแพ้ละอองเกสร เราสามารถหลีกเลี่ยงการได้รับละอองเกสรโดย ให้อยู่ในห้องปรับอากาศที่มีการติดตั้งไส้กรองอากาศที่สามารถกรองละอองเกสรได้ หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกในช่วงเช้าตรู่ ตอนเย็นใกล้ค่ำ เวลาน้ำค้างลง หรือขณะตัวเปียก และควรเช็ดตัวสัตว์ด้วยผ้าเปียกหมาดๆทุกครั้งหลังกลับมาจากข้างนอกเพื่อเช็ดเอาสารก่อภูมิแพ้ออก และอาบน้ำบ่อยๆ ส่วนในกรณีที่แพ้ไรฝุ่น ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง “การหลีกเลี่ยงจากการสัมผัสไรฝุ่น”

3. การใช้วัคซีนเพื่อการลดอาการภูมิแพ้ (Immunotherapy) วิธีนี้เป็นวิธีที่สัตวแพทย์ด้านโรคผิวหนังทั่วโลกเชื่อว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดอาการภูมิแพ้ เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูง และให้ผลการรักษาที่น่าพอใจ โดยสุนัข 60-80% จะดีขึ้นหลังการได้รับวัคซีน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ก็มีความเชื่อว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดอาการภูมิแพ้เช่นกัน โดยสัตวแพทย์ด้านโรคผิวหนังจะผลิตวัคซีนที่เฉพาะเจาะจงกับสัตว์ป่วยแต่ละตัว โดยอาศัยผลการทดสอบหาสารภูมิแพ้ของสัตว์ป่วยตัวนั้นๆ โดยทั่วไปการรักษาโดยวิธีนี้จะทำตลอดชีวิต ข้อเสียเปรียบของวิธีนี้คือ ใช้เวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนจึงจะเริ่มเห็นผล และถ้าหลังจาก 9-12 เดือนแล้วยังไม่มีการตอบสนอง อาจต้องตรวจหาสารภูมิแพ้ของสัตว์ป่วยใหม่ และเริ่มกระบวนการรักษาใหม่

สำหรับการดูแลสัตว์ป่วยที่ควรทำคู่ไปกับการรักษามีดังนี้

1. การเสริมกรดไขมัน (Fatty Acid Supplements) เราพบว่ากรดไขมันในน้ำมันบางชนิด จะสามารถช่วยเสริมประสิทธิภาพการลดอาการภูมิแพ้ในสัตว์ป่วยหลายๆตัว เมื่อใช้ร่วมกับการรักษาที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับยากลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน น้ำมันเหล่าได้แก่ น้ำมันดอกคำฝอยหรือน้ำมันดอกทานตะวันสูตรหีบเย็น น้ำมันปลา (Fish Oil) เป็นต้น

2. การอาบน้ำ จะช่วยชะล้างสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ผิวหนังสัตว์ป่วยออกไป แต่ทว่าผิวหนังของสัตว์ที่มีปัญหารักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศจะค่อนข้างเปราะบางและแห้ง จึงจำเป็นต้องใช้แชมพูพิเศษและวิธีการอาบน้ำเหมาะสมเท่านั้น สำหรับรายละเอียดของการเลือกแชมพู และวิธีการอาบน้ำสำหรับสัตว์ที่มีปัญหารักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)

3. การควบคุมและกำจัดหมัด ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าในสัตว์ที่มีปัญหารักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศหลายๆราย มักจะมีการแพ้น้ำลายหมัดร่วมด้วย หรือไม่ก็ตัวน้ำลายหมัดเป็นตัวเสริมฤทธิ์ให้อาการโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศให้รุนแรงขึ้น ดังนั้นการควบคุมและกำจัดหมัดจึงเป็นการช่วยลด หรือจำกัดความรุนแรงของโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศได้ สำหรับรายละเอียดของการควบคุม และกำจัดหมัด กรุณาติดตามอ่านได้ในเรื่อง “การควบคุม และกำจัดหมัด”

โรครูขุมขนอักเสบ และถูกทำลายจากเชื้อแบคทีเรีย

โรครูขุมขนอักเสบ และถูกทำลายจากเชื้อแบคทีเรียเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Staphylococcus intermedius ซึ่งโดยปกติแล้ว แบคทีเรียชนิดนี้จะไม่ทำให้เกิดโรคของผิวหนัง ยกเว้นในรายที่มีปัญหาโรคผิวหนังโรคอื่นๆมาก่อน แบคทีเรียชนิดนี้จึงก่อให้เกิดโรคได้โดยการซ้ำเติม ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าโรคที่สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียได้แก่ กลุ่มโรคภูมิแพ้ (การแพ้น้ำลายของหมัด การแพ้สารภูมิแพ้ในอากาศ การแพ้สารภูมิแพ้ในอาหาร และการแพ้สัมผัส) ปรสิตของผิวหนัง (ไรขี้เรื้อนรูขุมขน และไรตระกูลหิด) ซีบอเรีย และความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ โรคเหล่านี้มักเป็นตัวการทำให้เกิดการกลับมาของการติดเชื้อแบคทีเรียใหม่ เป็นๆหายๆ หรือไม่ยอมหายขาด

เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มักมีโรคอื่นนำมาก่อน การตรวจหา และการรักษาโรคโน้มนำไปพร้อมกับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)จะใช้ยาปฏิชีวนะ สเปรย์ ยาอาบ และแชมพูชนิดพิเศษในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย

การติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนัง ถ้าติดเชื้อในชั้นลึกๆ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)จำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นระยะนานๆ (อย่างน้อย 10-12 สัปดาห์ หรือ อย่างน้อย 2 สัปดาห์หลังจากอาการภายนอกหายไป) สิ่งที่สำคัญคือต้องให้ยาอย่างเต็มขนาดตลอดระยะเวลาของการรักษาไม่ว่าผิวหนังจะดีขึ้นแค่ใหน การใช้ยาไม่เต็มขนาด หรือหยุดยาก่อนกำหนด มักทำให้เกิดปัญหาต่างตามมาอาทิ การดื้อยาปฏิชีวนะ หรือต้องกลับไปเริ่มกระบวนการตรวจ และรักษาใหม่ตั้งแต่ต้น ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่าย ที่สำคัญอีกประการคือ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าควรทำการรักษาโรคผิวหนังอื่นที่เหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผลการรักษาที่ดีที่สุด และประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายที่สุด

ควรพาสัตว์เลี้ยงของท่านเข้ารับการตรวจซ้ำตามที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ได้นัดหมายไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง)จะได้ปรับแผนการรักษาที่จำเป็นบางอย่างได้ สิ่งสำคัญที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ต้องขอย้ำอีกครั้งคือการตรวจหา และการทำการรักษาโรคที่เหนี่ยวนำการติดเชื้อแบคทีเรียคือ กุญแจสำคัญในการป้องไม่ให้การติดเชื้อแบคทีเรียกลับมาเป็นใหม่

โรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ (CANINE ATOPIC DERMATITIS)

โรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ หรือบางคนเรียกว่าโรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้อากาศ (Canine atopic dermatitis, allergic dermatitis, canine atopy) เป็นอาการของโรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวเนื่องกับลักษณะทางกรรมพันธุ์ โดยจะแสดงปฏิกิริยาภูมิแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น หรือเกสร ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าสุนัขที่มีปัญหามักจะแสดงอาการครั้งแรกในช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปี เนื่องจากโรคนี้เกี่ยวเนื่องกับลักษณะทางกรรมพันธุ์ ดังนั้นจึงพบโรคนี้ได้มากในสุนัขพันธุ์ โกลเด้นรีทีฟเวอร์ โอลอิงลิชชีพดอก ไอริชเซทเทอร์ ลาซาแอปโซ ดัลเมเชี่ยน บุลดอก และ พวกสายพันธุ์เทอร์เรียร์ มากเป็นพิเศษ แต่ทว่าเราพบโรคนี้ได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ผสมเช่นกัน สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ เราพบอุบัติการณ์ของโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆทั้งในคน และสัตว์

สัตว์ที่มีปัญหาของโรคนี้จะแสดงอาการถู เลีย แทะ หรือเกา บริเวณเท้า หน้า หู รักแร้หรือโคนขาหนีบ ซึ่งทำให้ขนร่วง ผิวหนังแดง และหนาตัวขึ้นตามมา ที่คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าในบางราย สัตว์ที่มีปัญหาคันมักเกิดจากหลายๆสาเหตุรวมกัน โดยที่ถ้าสัตว์ป่วยตัวนั้นมีปัญหาโรคภูมิแพ้เพียงอย่างเดียว อาจยังไม่รุนแรงพอที่จะทำให้เกิดอาการคัน โรคที่มักเกิดร่วมกับโรคภูมิแพ้ แล้วเสริมฤทธิ์กันเพื่อให้อาการคันมากขึ้นที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบอยู่บ่อยๆได้แก่ การแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ การแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร การแพ้น้ำลายหมัด ปรสิตของผิวหนัง การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือยีสต์ ซึ่งการกำจัดบางปัญหาที่มีอยู่ในสัตว์ป่วยตัวนี้ออกไป อาจทำให้สัตว์ป่วยตัวนี้หยุดคันได้ ดังนั้นในการจัดการกับโรคภูมิแพ้จึงจำเป็นต้อง จัดการกับปัญหาอื่นๆที่เกิดร่วมกันออกไปด้วย จึงจะได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศค่อนข้างยุ่งยาก และใช้เวลา โดยอาศัยข้อมูลประวัติของโรคผิวหนัง อาการที่แสดงออก ร่วมกับการประเมินอาการคันที่เหลืออยู่ หลังจากการจำกัดการได้รับน้ำลายหมัด และการจำกัดการแพ้สารก่อภูมิแพ้ในอาหารโดยสัตวแพทย์ด้านโรคผิวหนัง ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้งจากตัวสัตว์ป่วย เจ้าของสัตว์และทุกคนในบ้าน รวมทั้งสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้องทุกคน ซึ่งหลังจากสรุปได้ว่าเป็นโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะขอแนะนำให้ทำการทดสอบการเกิดปฏิกิริยากับสารภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergen Testing) เพื่อหาสารภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุ ซึ่งการทดสอบนี้ ที่คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะใช้วิธีการฉีดสารทดสอบเข้าในผิวหนัง (Intradermal Skin Test) ซึ่งผลที่ได้จากการทดสอบนี้ จะนำไปใช้ในการผลิตวัคซีนเพื่อการลดอาการภูมิแพ้ (Immunotherapy) ต่อไป

การรักษา

การรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของสัตวแพทย์ด้านโรคผิวหนังค่อนข้างมาก เพราะสัตว์ป่วยแต่ละตัวจะตอบต่อการรักษา และทนต่อผลข้างเคียงของการรักษาไม่เหมือนกัน สัตวแพทย์ผู้ทำการรักษาจำเป็นต้องปรับการรักษาให้เหมาะสมกับสัตว์ป่วยแต่ละตัวเป็นรายๆไป

ซึ่งข้อสำคัญที่ควรรู้อีกข้อสำหรับโรคภูมิแพ้ก็คือ เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาโรคภูมิแพ้ให้หายขาดได้ ไม่ว่าในคนหรือสัตว์ก็ตาม และโรคนี้เป็นตลอดชีวิต การรักษาในปัจจุบัน เราจะมุ่งเน้นไปที่การจำกัดอาการของโรค และทำให้คุณภาพชีวิตของเจ้าของสัตว์ และตัวสัตว์ป่วยเองให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะมีการสร้างโปรแกรมการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่าย และวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละราย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการควบคุมโรคนี้ ซึ่งรายละเอียดของการรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ กรุณาติดตามอ่านได้ในเรื่อง “การรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ”

โรคกลากของสุนัข และแมว (Dermatophytosis)

กลาก (Ringworm) เป็นคำที่ใช้ในการเรียกการติดเชื้อราในตระกูล Dermatophyte ของผิวหนังและขน ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในสัตว์และคน เชื้อราบางชนิดจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้บนร่างกายของคน หรือสัตว์เท่านั้น แต่หลายๆชนิดที่เหลือจะชอบอยู่บนดินเป็นหลักมากกว่า คนและสัตว์สามารถติดเชื้อราได้โดยการสัมผัสกับคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อนี้อยู่ก่อนแล้ว หรือแม้แต่วัตถุต่างๆ เช่นดินที่ปนเปื้อนเชื้อรา ถ้าคนหรือสัตว์ไปสัมผัสเข้า ก็สามารถติดได้เช่นกัน โดยทั่วไป ลูกสัตว์ เด็ก และพวกที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันจะไวต่อการติดเชื้อกว่าปกติ ยกเว้นแมวมักจะไวต่อการติดเชื้อรามากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆเป็นพิเศษ

ลักษณะรอยโรคของกลากในสุนัขและแมว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าไม่จำเป็นต้องเป็นวงกลมเหมือนอย่างที่กล่าวไว้ในตำราทางสัตวแพทย์เสมอไป เพราะว่า สุนัข แมว รวมทั้งเชื้อราไม่ได้อ่านตำราด้วย ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) พบบ่อยๆว่าสัตว์ที่เป็นโรคนี้หลายๆตัวแสดงอาการเพียงแค่มีรังแค และขนร่วงเท่านั้น ในขณะที่อีกหลายๆตัวไม่แสดงอาการขนร่วง แต่แสดงอาการแบบมีก้อนเล็กๆในชั้นผิวหนังโดยมีสะเก็ดปกคลุมอยู่ข้างบน ในขณะที่อีกหลายๆตัวเช่นกันโดยเฉพาะในแมว จะไม่แสดงความผิดปกติใดๆออกมาให้เห็นเลย เราเรียกพวกกลุ่มสุดท้ายนี้ว่า พวกพาหะ (Carrier) ซึ่งพวกนี้สามารถแพร่เชื้อไปสู่คน และสัตว์ตัวอื่นๆได้โดยที่ตัวมันเองไม่ได้แสดงอาการใดๆให้เห็นเลย

สิ่งสำคัญที่ควรรู้สำหรับโรคนี้คือ กลากของสุนัขและแมวสามารถติดไปสู่คนได้ และสามารถติดจากคนมายังสัตว์ได้เช่นกัน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าเจ้าของสัตว์ที่มีรอยโรควงกลมสีแดง คัน และมีสัตว์เลี้ยงที่บ้านเป็นกลาก ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาด้วยเช่นกัน

การวินิจัยโรคนี้ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะกระทำโดยการใช้ Wood’s Lamp ส่องตรวจร่วมกับการใช้การตรวจหาเชื้อราด้วยกล้องจุลทรรศน์ แล้วยืนยันผลการตรวจโดยการเพาะหาเชื้อราบนผิวหนังและขน เพื่อความแน่ใจต่อไป

การรักษา ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าในกรณีที่เป็นบริเวณเล็กๆ การไถขนรอบบริเวณที่เป็นร่วมการใช้ยาเฉพาะที่อาจจะเพียงพอในบางราย แต่ในหลายๆราย รวมถึงในรายที่เป็นเป็นบริเวณกว้าง หรือเป็นทั่วทั้งตัว ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าในกรณีนี้ การไถขนรอบบริเวณที่เป็นร่วมการใช้ยาเฉพาะที่มักไม่เพียงพอ ซึ่งในกรณีนี้ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะใช้ยากินร่วมการใช้ยาอาบและแชมพูยา และทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำให้ไถขนทิ้งทั้งตัว เพราะเชื้อราชอบที่จะซ่อนอยู่ในขน และยาที่ใช้กำจัดเชื้อราที่ซ่อนอยู่ในขนอย่างมีประสิทธิภาพยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากการรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อรามักใช้ระยะเวลาที่นาน และตัวยากำจัดเชื้อราก็ค่อนข้างมีผลข้างเคียงสูง ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำให้ทำการตรวจเพื่อประเมินสภาพสัตว์เป็นระยะๆ ทั้งก่อนและขณะทำการรักษา อีกประการที่สำคัญคือตัวเชื้อราค่อนข้างดื้อยาง่าย ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะมีการตรวจสภาวะการติดเชื้อเป็นระยะๆเพื่อหาจังหวะที่เหมาะสมในการหยุดยา ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าไม่ควรหยุดการรักษาเองเมื่อดูเหมือนว่าหายดีแล้ว เพราะอาจทำให้เชื้อราที่หลงเหลืออยู่ดื้อยาได้ จึงถ้ามีการกลับมาเป็นซ้ำจะทำให้กระบวนการรักษายุ่งยากขึ้น ที่สำคัญอีกอย่างคือ ขนที่ถูกไถออกมา ควรนำไปเผาทิ้งเพื่อไม่ให้เชื้อรากระจายออกไป

ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำให้แยกสัตว์ที่ติดเชื้อราออก เพื่อไม่ให้มีการสัมผัสกับสัตว์ตัวอื่นๆ และควรแยกสัตว์ป่วยไม่ให้มีการสัมผัสกับเด็ก และคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่า ผู้ที่ต้องสัมผัสกับสัตว์ป่วยควรที่จะสวมถุงมือเพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วย ควรทำความสะอาด และฆ่าเชื้อในห้อง สิ่งของที่อยู่ในห้องที่สัตว์ป่วยอยู่ และบนสิ่งของที่สัมผัสกับสัตว์ป่วยทั้งหมด การดูดฝุ่นโดยใช้เครื่องดูดฝุ่นแบบเปลี่ยนถุงเก็บฝุ่นได้ร่วมกับการฆ่าเชื้อโดยใช้น้ำยาซักผ้าขาวเช่น คลอรอกซ์ หรือไฮเตอร์ละลายน้ำ 1:30 ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) เห็นว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ในประเทศไทย ในการกำจัดเชื้อราที่อยู่ในสภาพแวดล้อม เช่นเดียวกับขน ถุงเก็บฝุ่นที่ใช้แล้วควรนำไปเผาทิ้งเพื่อไม่ให้เชื้อรากระจายออกไป สัตว์ตัวอื่นที่อยู่ในบ้านควรที่จะได้รับการตรวจหาการติดเชื้อราเป็นระยะๆด้วย

ภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาด (HYPERADRENOCORTICISM - CUSHING'S DISEASE)

ภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาด เป็นมาจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติโซลมากเกินขนาดที่ร่างกายจะรับไหว ซึ่งการที่ร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติโซลมากเกิน เกิดได้จากการผลิตที่มากกว่าปกติในร่างกายเอง หรือได้รับยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ที่มากหรือนานเกินไปอันเนื่องจากการรักษาด้วยยาหรือการใช้ยาไม่ถูกต้อง สำหรับในกลุ่มที่เกิดจากการผลิตที่มากกว่าปกติในร่างกายเอง อาจเกิดจากการที่ตัวต่อมหมวกไตผลิตมากเกินเอง หรือต่อมใต้สมองเป็นตัวกระตุ้นให้ผลิตมากเกิน

อาการของภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาด ได้แก่ การกินน้ำมากกว่าปกติ ถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติ อยากอาหารมากกว่าปกติ ท้องโตย้อย ขนร่วง ซึมและอ่อนแรง หอบ บ่อยครั้งมักมีการติดเชื้อแบบเป็นๆหายๆ สุนัขที่ไม่ได้รับการรักษามักจะเสียชีวิตภายใน 1-2 ปี แต่ในรายที่ได้รับการรักษาจะสามารถอยู่จนสิ้นอายุไขตามธรรมชาติปกติได้ การทำการรักษาที่คลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) จะทำโดยการใช้ยาควบคุมการสร้างฮอร์โมนคอร์ติโซลเป็นหลัก เพื่อให้สัตว์ดำรงชีวิตโดยปลอดจากภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาดให้มากที่สุด ส่วนในรายที่ไม่สามารถตอบสนองต่อการใช้ยาควบคุมการสร้างฮอร์โมนคอร์ติโซลได้ดี อาจแนะนำให้ใช้วิธีทางศัลยกรรมช่วยซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายๆไป

การวินิจฉัย ภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาด ทำได้ค่อนข้างยากมีความซับซ้อนโดยเฉพาะในรายที่เพิ่งเริ่มเป็น ต้องการผู้มีความรู้เฉพาะทางในการเลือกวิธีการทดสอบและแปลผล สำหรับทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) จะทำการวินิจฉัยโรคโดยการพิจารณาจากค่าเม็ดเลือด ค่าเคมีในเลือด ระดับเคมีในปัสสาวะ ระดับฮอร์โมนคอร์ติโซลในเลือดและปัสสาวะ การประเมินการทำงานของต่อมหมวกไตด้วยวิธีการทดสอบพิเศษร่วมกัน

การรักษา เนื่องจาก การรักษาภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาดค่อนข้างมีความยุ่งยาก และการใช้ยารักษาโรคนี้ต้องการผู้เชี่ยวชาญโดยตรงในการปรับการรักษาเป็นรายๆไป จึงไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้

ภาวะบกพร่องของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ (HYPOTHYROIDISM)

ภาวะบกพร่องของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ (HYPOTHYROIDISM)

ภาวะบกพร่องของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ เป็นโรคของระบบต่อมไร้ท่อที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) พบว่าพบได้บ่อยที่สุดในสุนัข (แต่ไม่ค่อยพบในแมว) เกิดจากการที่มีปริมาณฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องมาจากปริมาณการผลิตฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่ลดลง ตัวต่อมไทรอยด์จะอยู่บริเวณคอใกล้ๆกล่องเสียง ทางคลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) มักพบการเกิดโรคนี้ได้ในสุนัขกลางวัยหรือสุนัขชรา สุนัขที่ป่วยจะแสดงอาการเหนื่อยง่าย หลับยาวขึ้น เซื่องซึม ชอบหาที่อุ่นๆอยู่เวลาอากาศเย็นๆ สายพันธุ์ที่มีลำตัวบางจะดูเจ้าเนื้อมากขึ้น ผิวหนังจะดูหนาตัวขึ้น ขนดูแห้งๆไม่เงาสดใส สีขนดูหม่นลง ขนดูบางลงโดยเฉพาะในบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อยๆ ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น ถ้านำสุนัขไปตัดขนบริเวณขนที่ถูกไถอาจไม่กลับมาขึ้นใหม่ สุนัขที่ป่วยด้วยภาวะบกพร่องของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มักมีปัญหาผิวหนังติดเชื้อง่าย แผลหายยาก และมักมีปัญหาสุขภาพค่อนข้างมาก

การวินิจฉัย ภาวะบกพร่องของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) จะกระทำโดยการตรวจหาระดับฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ในกระแสเลือด ร่วมกับการวัดการทำงานของต่อมไทรอยด์ เนื่องจากการแปลผลทดสอบค่อนข้างซับซ้อน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) พบว่าหลายๆรายจำเป็นต้องมีการทดสอบซ้ำเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค

การรักษา ภาวะบกพร่องของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ทางคลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) จะกระทำโดยการให้ฮอร์โมนทดแทนฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ โดยทั่วไปแล้วสุนัขป่วยมักจะดูสดชื่นอย่างรวดเร็วหลังจากเริ่มทำการรักษา แต่ทว่ากว่าขนจะเริ่มขึ้นและขนดูเงางามขึ้นมักใช้เวลาหลายเดือน ทางคลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) พบว่าในบางราย ซึ่งพบไม่บ่อยนักที่อาจไวต่อปฏิกริยาข้างเคียงของฮอร์โมนทดแทนฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ อาทิเช่นหัวใจเต้นเร็วขึ้น กินน้ำมากขึ้น ปัสสาวะมากขึ้น มีอาการแปรปรวนทางอารมณ์ น้ำหนักตัวลด ในกรณีนี้กรุณาติดต่อกลับมาที่คลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) เพื่อทำการแก้ไข และปรับแผนการรักษา ทางคลินิกบ้านรักสัตว์(ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังของสัตว์เลี้ยง) ขอแนะนำว่าสุนัขทุกตัวที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ควรได้รับการตรวจระดับฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ในกระแสเลือดทุก 6 เดือนเพื่อจะได้ปรับแผนการรักษาให้เหมาะสม

สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือ สุนัขที่ป่วยด้วยโรคภาวะบกพร่องของฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ตลอดชีวิต

Sunday, July 25, 2010

ภาวะการติดเชื้อยีสต์ Malassesia ในสุนัข (Malassesia Dermatitis)

ภาวะการติดเชื้อยีสต์ Malassesia ในสุนัข (Malassesia Dermatitis)

ภาวะการติดเชื้อยีสต์ Malassezia ในสุนัข เป็นภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย เชื้อ Malassezia เป็นเชื้อในตระกูลยีสต์ซึ่งสามารถพบได้ในผิวหนังสุนัขปกติโดยเฉพาะแถวใต้หางและหู ภายสภาวะใต้การเปลื่ยนแปลงบางอย่างของผิวหนัง อาจทำให้จำนวนเชื้อเพิ่มขึ้นจนก่อให้เกิดโรคได้

ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนของเชื้อยีสต์ Malassezia ที่ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบได้แก่ ภาวะซีบอเรีย ความหมักหมมอับชื้น และการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมภาวะการอักเสบของผิวหนัง และโรคภูมิแพ้

ภาวะการติดเชื้อยีสต์ Malassezia ในสุนัข สามารถแสดงอาการได้ทั้งแบบเฉพาะที่หรือเป็นทั่วทั้งตัว ซึ่งสุนัขสามารถแสดงอาการตั้งแต่ระดับอ่อนๆ จนถึงระดับรุนแรงได้ ผิวหนังของสุนัขที่เป็นโรคนี้จะมีลักษณะชื้น และมีกลิ่นเหม็นหืน ผิวหนังอาจดูหนาตัวขึ้น อาจมีสีแดง หรือออกเทาๆ

การวินิจฉัยภาวะการติดเชื้อยีสต์ Malassezia ในสุนัข ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะใช้วิธีการเก็บตัวอย่างจากผิวหนังของสุนัขที่สงสัยว่าจะเป็นโรคไปย้อมสีแล้ว ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อประเมินสภาวะการติดเชี้อยีสต์ Malassezia

สำหรับการรักษาภาวะการติดเชื้อยีสต์ Malassezia ในสุนัข ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) จะใช้ทั้งยากิน และยาภายนอกรวมถึงแชมพูยาชนิดพิเศษเพื่อควบคุมปริมาณของตัวเชื้อ ซึ่งโดยทั่วไป อาการจะดีขึ้นในสองสัปดาห์ (แต่ยังไม่หาย) ทางคลินิกบ้านรักสัตว์จะทำการรักษาต่อ ร่วมกับการตรวจผิวหนังเป็นระยะๆเพื่อหาเวลาที่เหมาะสมในการหยุดยาต่อไป

ทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) เห็นว่าสิ่งสำคัญที่ป้องกันไม่ให้โรคนี้กลับมาเป็นใหม่หลังจากที่รักษาจนหายดีแล้วคือ ต้องหาให้ได้ว่าอะไรปัจจัย หรือสาเหตุที่ทำให้เชื้อยีสต์ Malassezia เพิ่มจำนวนจนถึงระดับก่อโรคได้ ซึ่งทางคลินิกบ้านรักสัตว์ (ศูนย์โรคภูมิแพ้ และโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง) พบว่าถ้าไม่หาหรือไม่รู้ว่าอะไรปัจจัย หรือสาเหตุที่ทำให้เชื้อยีสต์ Malassezia เพิ่มจำนวนจนถึงระดับก่อโรค โรคการรักษาภาวะการติดเชื้อยีสต์ Malassezia ก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ในเวลาไม่นานทั้งๆที่ได้รักษาจนหายดีแล้วก็ตาม

Monday, June 28, 2010

วิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาท้องผูก

วิธีการดูแลสัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาท้องผูก
ลักษณะของอาการท้องผูก
สัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาท้องผูก จะมีจำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระน้อยลงกว่าปกติ หรือถ่ายลำบาก อุจจาระมักมีลักษณะแข็งและแห้ง ซึ่งจะต้องทำให้มีอาการเบ่งถ่าย และจำนวนอุจจาระลดลง
สาเหตุ
อาการท้องผูกเกิดจากหลายๆสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีปัจจัยจากอาหาร และสภาวะแวดล้อม
ปัจจัยจากอาหาร
• ไฟเบอร์ในอาหาร : เป็นส่วนสำคัญต่อการถ่ายอุจจาระของสัตว์เลี้ยง รวมทั้งมนุษย์ การขาดไฟเบอร์ในอาหาร จะสามารถทำให้เกิดท้องผูกตามมาได้
• วัสดุแปลกปลอม : ขน, กระดูก, เป็นต้น ถ้าสัตว์เลี้ยงกินเข้าไป เมื่อสิ่งเหล่านี้ รวมตัวกับอุจจาระในลำไส้ จะทำให้อุจจาระแข็งตัวมากขึ้น หรือหนืดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ขับออกลำบาก ซึ่งจะทำให้เกิดอาการท้องผูกตามมา
• น้ำ : เป็นส่วนสำคัญในการทำงานของทางเดินอาหาร ทั้งระบบ ซึ่งการขาดน้ำจะทำให้ระบบการทำงานของทางเดินอาหารเสียหายเสียไป ซึ่งจะทำให้เกิดอาการท้องผูกตามมาได้
ปัจจัยจากสภาวะแวดล้อม
การเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันของสัตว์เลี้ยง เช่น การนำกระบะทรายแมวไปไว้นอกบ้าน, ทรายแมวที่สกปรก, การที่ต้องไปฝากเลี้ยงในสถานที่ต่างๆ การขาดการออกกำลังกาย จะทำให้เกิดอาการท้องผูกตามมาได้
สำหรับสาเหตุอื่นๆของอาการท้องผูก ได้แก่
* อายุที่มากขึ้น
* การแตกหักของกระดูกเชิงกราน
* มีแผลรอบๆ ทวารหนัก
* โรคของต่อมลูกหมาก
* โรคของกระดูกและไขสันหลัง
* โรคของระบบประสาทของลำไส้ใหญ่
* เนื้องอก
* โรคของระบบต่อมไร้ท่อ
* การขาดน้ำ
* ความทรุดโทรมหรืออ่อนแอของร่างกาย

จะเห็นได้ว่ามีหลายๆสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก ซึ่งบางสาเหตุอาจไม่รุนแรง แต่บางสาเหตุก็ถึงแก่ชีวิตได้
การรักษา
การรักษาอาการท้องผูก จะทำโดยการกำจัดสาเหตุเป็นอันดับแรก สัตว์แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และ ถามประวัติเกี่ยวกับ ประวัติการเจ็บป่วย อาหาร และกิจวัตรประจำวัน บางครั้งอาจมีการตรวจเลือดและ x-ray เพื่อหาสาเหตุของอาการท้องผูกด้วย
เมื่อทราบสาเหตุแล้ว สัตว์แพทย์จะพิจารณาถึงการรักษาทางยาหรือทางศัลยกรรมต่อไป
การดูแลสัตว์ป่วยที่บ้าน
อาหารที่มีไฟเบอร์สูงจะ ช่วยในการรักษาอาการท้องผูก ทั้งในสัตว์และคนได้ โดยไฟเบอร์จะช่วยให้มีน้ำออกจากผนังลำไส้มาอยู่ในอุจจาระมากขึ้น ซึ่งจะทำให้อุจจาระเพิ่มขึ้นได้ ในขณะเดียวกันไฟเบอร์ จะช่วยในการเพิ่ม เนื้ออุจจาระ เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ ซึ่งจะทำให้ เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ ซึ่งจะลดปัญหา อาการท้องผูกลงได้
- ให้อาหารที่มีไฟเบอร์ในอาหารอย่างน้อย 10 % เพื่อช่วยในการบีบตัวของลำไส้
- อย่าให้ของกินเล่นแก่สัตว์เลี้ยง และระ วังเรื่องการกินสิ่งแปลกๆ ด้วย
- ถ้าเป็นพวกขนยาว ควรจะแปรงขนทุกวัน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการเลียกินขนของตัวเองลง
- พาสุนัขไปออกกำลังหลังกินอาหารไปแล้ว 30-60 นาที เพื่อกระตุ้นการบีบตัว
- ควรทำความสะอาดทรายแมว อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
- ตั้งน้ำไว้ให้สัตว์เลี้ยงกินได้ตลอดเวลา
การดูแลสัตว์ป่วยที่บ้าน เป็นส่วนสำคัญ ของการรักษา คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตว์แพทย์ ซึ่งถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษา คุณควรถามสัตว์แพทย์ ทันที ซึ่งสัตว์แพทย์ ยินดีตอบข้อสงสัยของคุณทุกคำถาม 

Tuesday, June 1, 2010

โปรแกรมวัคซีนในสุนัข

วัคซีนรวมป้องกันโรค หัด ลำไส้อักเสบจากพาร์โวไวรัส ไข้หวัดใหญ่พาราอินฟลูเอนซ่า ตับอักเสบจากอดีโนไวรัส และฉี่หนู จะเริ่มฉีดเข็มแรกที่อายุ 6-8 สัปดาห์ แล้วฉีดกระตุ้นซ้ำทุก 2-4 สัปดาห์ จนถึงอายุ 16-20 สัปดาห์ (ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ในตอนที่ฉีด)

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จะเริ่มฉีดเข็มแรกที่อายุ 12 สัปดาห์ แล้วฉีดกระตุ้นซ้ำอีกที่ 4 สัปดาห์ถัดไป (ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ในตอนที่ฉีด)

Wednesday, May 26, 2010

การตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างง่ายๆที่บ้าน 2

การตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างง่ายๆที่บ้าน 2

“คุณสามารถทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีสุขภาพที่ดีได้โดยการเรียนรู้ถึงว่า “อะไรคือความผิดปกติของสัตว์เลี้ยง”
เมื่อเสร็จจากการตรวจร่างกายทั่วไป ก็เริ่มทำการตรวจร่างกายเฉพาะส่วนได้เลย โดยเริ่มจาก ตาซึ่งปกติควรเปิดกว้างและดูสดใส ลองดูว่าตาแดงผิดปกติหรือไม่ ตาแฉะหรือปล่าว การที่มีขี้ตาใสๆ เล็กน้อย ถือว่าปกติ ถ้าสัตว์เลี้ยงไม่ได้รับสารอะไรไปทำให้เคืองตา แต่ถ้าพบว่าขี้ตาเป็นเมือกหรือเป็นหนอง ก็แปลว่าผิดปกติ
โรคที่ทำให้ตาดูว่าผิดปกติได้แก่ รอยขุ่นหรือแผลที่กระจกตาจะทำให้เจ็บตาและกระพริบตาบ่อย ต้อกระจกจะทำให้เลนส์ตาขุ่นขาว ต้อหินมักทำให้ปวดตาและตาแดงเยื่อตาขาวอักเสบจะทำให้รอบๆ หนังตาแดงและมีขี้ตามาก ถ้าสัตว์เลี้ยงของคุณมีอายุมากการที่พบว่าเลนส์ขุ่นอาจเป็นผลจากอายุซึ่งพบได้ปกติจะไม่รบกวนการมองเห็นซึ่งสัตวแพทย์จะแยกได้ว่าเป็นต้อกระจกหรือไม่ โดยดูจากการตรวจความสามารถในการมองเห็น

หู คืออวัยวะต่อมาที่ควรดูว่ามีอาการบวมหรือเจ็บหูหรือไม่ ลองสังเกตดูว่ามีกลิ่นผิดปกติหรือเปล่า แยกให้ออกว่ากลิ่นผิดปกติกับกลิ่นปกติต่างกันอย่างไร ดูว่าหูแฉะหรือไม่ ถ้าแฉะแปลว่าน่าจะมีการติดเชื้อในหูแล้ว การติดเชื้อในหูจะทำให้สัตว์ปวดหู จะทำให้พบได้แต่เนิ่นๆ จะทำให้สัตวแพทย์สามารถลงมือรักษาได้ก่อนที่จะแสดงอาการเจ็บหู

ในปากของสัตว์เลี้ยง สิ่งที่ต้องดูคือสีของเหงือกปกติจะมีสีชมพูและถ้าคุณลองกดเหงือกเบาๆ แล้วปล่อย จะพบว่าสีเหงือกจะมีสีซีดลงแล้วกลับเป็นสีชมพูภายในเวลาไม่ถึง 1 วินาที ถ้าคุณพบสิ่งเหล่านี้แปลว่าระบบไหลเวียนเลือดของสัตว์เลี้ยงของคุณปกติดี
การที่สีของเหงือกเปลี่ยนไป แปลว่าผิดปกติแล้ว ถ้าสีเหงือกซีดแปลว่า สัตว์เลี้ยงมีปัญหาโลหิตจาง ถ้าสีออกฟ้าแปลว่ามีปัญหาที่ระบบหายใจหรือที่หัวใจ ถ้ามีสีออกเหลืองแปลว่าตับมีปัญหา จุดดำบนเหงือกอาจเป็นพวกเม็ดสี ซึ่งอาจถือว่าปกติ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือถ้าเห็นสีเหงือกผิดปกติ ควรนำสัตว์เลี้ยงไปหาสัตวแพทย์
สังเกตดูว่ามีกลิ่นปากหรือไม่ โดยทั่วไปกลิ่นปากมักมาจากปัญหาของเหงือกและฟันแต่บางครั้งกลิ่นปากอาจบอกถึงว่ามีปัญหาเกิดกับไต หรือระบบทางเดินอาหารแล้วเช่นกันลองสังเกตดูที่ฟันโดยเฉพาะพวกซี่ในๆ ของปาก ฟันปกติควรมีสีขาวและผิวเรียบ ถ้ามีสีเหลืองหรือสีน้ำตาล แปลว่าอาจมีหินปูนมาจับแล้ว ควรพาไปหาสัตวแพทย์เพื่อขูดออก
ถ้าเหงือกแดง หรือมีการระคายเคืองมักเป็นอาการที่บ่งชี้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับฟันแล้วขณะที่คุณเปิดปากสัตว์เลี้ยงลองสังเกตดูว่ามีก้อนเนื้อหรืออาการบวมในช่องปากหรือไม่ ในช่วงนี้ลองดูลิ้นด้วย

จากนี้มาดูที่จมูก ปกติไม่จำเป็นว่าต้องมีสีดำและชื้นเสมอไป ในบางตัวจมูกอาจมีสีชมพูหรือน้ำตาล และพบบ่อยที่จมูกปกติจะแห้ง สังเกตน้ำมูก ถ้าเห็นมากกว่า 1 วัน มักผิดปกติ ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษา

บริเวณที่อก ลองคลำการเต้นของหัวใจดู โดยลองคลำแถวอกฝั่งขวาแถวหลังขาหน้า อาจลองคลำชีพจรที่พบด้านในของขาหลังดูก็ได้ แต่การคลำชีพจรจะทำได้ยากกว่าการคลำการเต้นของหัวใจ โดยเฉพาะในแมว แต่คุณสามารถทำได้ถ้าคุณหมั่นฝึกทำบ่อยๆ
ถ้าคุณคลำพบการเต้นของหัวใจแล้วลองนับดูว่าเต้นกี่ครั้งต่อนาทีปกติจะประมาณ 70 ถึง 160 ครั้งต่อนาที ในสุนัข และ 110 ถึง 240 ครั้งต่อนาทีในแมว จังหวะการเต้นของหัวใจควรสม่ำเสมอ บางครั้งอาจเร็วขึ้นหรือช้าลงตามจังหวะการหายใจได้ แต่ถ้าจังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

สังเกตการหายใจว่าสม่ำเสมอหรือไม่ หายใจลำบากหรือถี่ๆ หรือเปล่า หายใจดังหรือไม่ อาการหายใจเร็ว หายใจลำบาก มีเสียงครืดคราด เป็นการบอกว่ากำลังมีปัญหา ส่วนอาการหอบถ้าพบในขณะที่อากาศร้อน กำลังตื่นเต้นหรือเครียดถือว่าปกติ
ลองสังเกตบริเวณท้อง สังเกตลักษณะรูปทรงว่าเป็นอย่างไร ถ้าท้องมีลักษณะป่องกางออกจะบ่งบอกถึงว่าน่าจะมีพยาธิในลำไส้ในสัตว์อายุน้อย หรืออาจมีน้ำคั่งในช่องท้องโรคของต่อมไร้ท่อหรือเนื้องอกในสัตว์อายุมากถ้าคลำดูแล้วพบว่ามีอาการปวดท้องควรรีบไปพบสัตวแพทย์ทันที

ส่วนขาและฝ่าเท่าทั้งสี่ ลองดูว่ามีการบวมหรือเจ็บหรือไม่เพราะว่าปัญหาของข้ออักเสบ มะเร็งของกระดูก กระดูกหัก เอ็นยึดหรือพลิกก็อาจทำให้เกิดการบวมและเจ็บได้ สังเกตท่าเดิน แยกให้ออกว่าเป็นปกติหรือผิดปกติ เพราะท่าเดินที่ผิดปกติจะเป็นอาการแรกและเป็นอาการที่ดูง่ายที่สุดที่จะบอกว่ามีปัญหาที่ขาหรือไม่ ลองสังเกตที่เล็บด้วย ควรตัดเล็บด้วยตัวคุณเองทุก 2 สัปดาห์ อย่าลืมดูให้ทั่วทุกนิ้วด้วย

ต่อมาเราจะมาตรวจที่หางและบั้นท้ายรวมทั้งแถวๆ ก้น พยายามอย่าแสดงอาการรังเกียจ เพราะว่าทวารหนักจะเป็นที่ที่พบว่ามีก้อนเนื้อที่ผิดปกติในสัตว์อายุมาก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจหาดู คุณจะไม่สามารถเห็นต่อมกลิ่นข้างก้น แต่คุณก็ควรที่จะรู้ถึงความสำคัญของมัน ต่อมนี้จะอยู่ข้างในทวารหนักจะมีหน้าที่ปล่อยสารที่มีกลิ่นเหม็นออกมาในขณะสัตว์เลี้ยงถ่ายอุจจาระหรือยู่ในภาวะเครียดซึ่งอาจเกิดการอุดตันของต่อมนี้ได้ ซึ่งสัตว์เลี้ยงจะแสดงอาการกระสับกระส่ายไถก้นไปกับพื้น ซึ่งถ้าคุณพบอาการนี้ควรพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

ถ้าคุณสังเกตดูรู้สึกว่าสัตว์เลี้ยงของคุณไม่สบาย คุณอาจลองวัดอุณภูมิก็ได้ซึ่งปรอทวัดไข้นี้คุณหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไปควรใช้แบบเหน็บทวารหนัก สัตว์ที่มีไข้มักจะซึมและกินอาหารน้อยกว่าปกติ เจ้าของอาจสังเกตดูได้ว่าประกายตาจะไม่สดใส
ก่อนวัดอุณหภูมิควรสะบัดปรอทวัดไข้ให้ตัวปรอทลงไปในกระเปาะก่อน แล้วทาเจลหล่อลื่นที่กระเปาะ แล้วสวนเข้าไปในทวารหนักให้ลึกประมาณ 1 นิ้ว แล้วจับปลายอีกด้านไว้ เหน็บไว้ประมาณ 1 นาที แล้วอ่านผล ถ้าพบว่ามีอุณหภูมิสูงกว่า 103 องศาฟาเรนไฮด์แปลว่ามีไข้ และควรพาไปหาสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที ห้ามใช้ยาในกลุ่มยาแก้ปวดลดไข้ โดยปราศจากการแนะนำให้ใช้จากสัตวแพทย์เป็นอันขาด โดยเฉพาะพาราเซตามอลจะเป็นพิษต่อตับและไตของแมวอย่างรุนแรงถึงตายได้

ถึงแม้ว่าการตรวจร่างกายทั้งหมดจากที่กล่าวมาจะดูเหมือนว่าใช้เวลามาก แต่ถ้าคุณทำจนชำนาญแล้ว คุณจะพบว่าสามารถทำครบทุกอย่างทุกขั้นตอนเสร็จใน 5 นาทีเท่านั้นในช่วงเวลานี้คุณจะสนุกกับการตรวจซึ่งจะดูเหมือนว่าคุณเล่นกับสัตว์เลี้ยง ซึ่งสัตว์เลี้ยงของคุณก็จะรู้สึกสนุกสนานไปด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ คุณยังสามารถเป็นผู้ช่วยที่ดีของสัตวแพทย์ ในการรักษาสัตว์เลี้ยงของคุณอีกด้วย ซึ่งมาจากการสังเกตสัตว์เลี้ยงอันยอดเยี่ยมของคุณนั่นเอง ถ้าคุณพบสิ่งผิดปกติหรือไม่แน่ใจในสิ่งที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงของคุณรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้แต่เนิ่นๆ

กรุณาใช้เอกสาร ตารางบันทึกการตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างง่ายๆที่บ้าน เพื่อช่วยในการบันทึกสิ่งปกติที่ตรวจพบ ซึ่งติดต่อขอเอกสารได้จากผู้เขียน